ปัญหาเรื่องการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายอย่างมะเร็งลำไส้ หากละเลยไม่ใส่ใจก็อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
ด้วยเศรษฐกิจ อาหารการกิน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาท้องผูก (Constipation) ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนทั่วไป และมักพบในผู้สูงอายุ รวมถึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า
สำหรับภาวะท้องผูกทางการแพทย์นั้น หมายถึง ภาวะที่ขับถ่ายยาก อาจต้องใช้เวลาเบ่งถ่ายเป็นเวลานาน จำนวนการขับถ่ายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การขับถ่ายแต่ละครั้งได้ไม่มาก มีลักษณะเป็นเม็ดแข็ง รู้สึกอึดอัดแน่นท้องเหมือนถ่ายไม่สุด
ทั้งนี้ หากมีอาการท้องผูกนานกว่า 3 เดือน หรือพบว่ามีอาการท้องผูกร่วมกับอาการเตือนอื่นๆ เช่น น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา เนื่องจากถึงแม้ภาวะท้องผูกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเริ่มมีอาการท้องผูกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี
นอกจากภาวะท้องผูกแล้ว ปัญหาการขับถ่ายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หรือแม้แต่คนที่สุขภาพดีก็ตาม คือภาวะอุจจาระตกค้าง
อุจจาระตกค้าง เป็นภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมดทำให้มีการตกค้างอยู่ภายในลำไส้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอุจจาระเกาะติดแน่น เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็จะไม่สามารถขับอุจจาระเก่าออกไปได้ กลายเป็นอุจจาระที่แข็งติดแน่นสะสมไม่สามารถออกไปจากลำไส้ได้ ส่งผลให้มีอาการท้องผูกรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นท้อง รู้สึกมีลมจำนวนมาก
ภาวะอุจจาระตกค้าง สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพดีหรืออุจจาระทุกวัน โดยมีสาเหตุ ดังนี้
หากอุจจาระตกค้างจำนวนมากและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากมาย ดังนี้
หลังการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น สวนทวารหนัก เหน็บยา หรือให้ยาระบาย กรณีพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาระบายมารับประทานเองเด็ดขาด เนื่องจากการรับประทานยาระบายบางประเภทอาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ติดยา หรือลำไส้ดื้อยา และต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาระบายขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งใช้เท่าไหร่ก็ถ่ายไม่ออก ซึ่งเป็นข้อเสียของการใช้ยาระบายเองโดยที่ไม่หาสาเหตุ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการของภาวะอุจจาระตกค้างควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุด เนื่องจากการซื้อยาระบายมารับประทานเองเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ทำการรักษาได้ยากขึ้น ต้องมีการปรับยา หรือต้องใช้การรักษาร่วมกันหลายๆ วิธี
การกลั้นอุจจาระและขับถ่ายไม่ถูกวิธีอาจส่งผลให้เกิดภาวะอุจจาระตกค้าง แม้กับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอและใส่ใจสุขภาพ ดังนั้น หากพบว่าการขับถ่ายเปลี่ยนไป หรือมีอาการต่างๆ เช่น ท้องผูก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ฯลฯ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างแม่นยำ และรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่