มะเร็งปอดเป็นภาวะที่ทำให้เซลล์แบ่งตัวในปอดอย่างไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งนี้ทำให้เกิดการเติบโตของเนื้องอกที่ส่งผลต่อการหายใจ การวินิจฉัยและตรวจพบความผิดปกติในเบื้องต้น สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ในระยะแรกของมะเร็งปอดตรวจพบได้ค่อนข้างยาก เพราะผู้ป่วยอาจมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย
ดังที่กล่าวมาแล้วเซลล์มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์บางอย่างของเซลล์ที่มีสุชภาพดี ซึ่งตามธรรมชาติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ปกติในร่างกายคนเราจะตายในระยะหนึ่งเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเจริญเติบโตที่มากเกินไป แต่เซลล์มะเร็งเกิดการผิดปกติทำให้เซลล์เติบโตและทวีคูณเกินความจำเป็น การเติบโตของเซลล์มากเกินไปนี้นำไปสู่การพัฒนาของเนื้องอกมะเร็ง
คนที่เป็นมะเร็งปอดระยะแรกอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะเริ่มเข้าสู่ระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แต่ก็ควรสังเกตอาการตัวเองหากมีความผิดปกติของร่างกายที่เปลี่ยนไปดังนี้
ในขณะเดียวกันผู้ป่วยมะเร็งปอดบางรายอาจพบอาการรุนแรงมาก ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกหรือปวดกระดูกอย่างรุนแรง หรือไอเป็นเลือด
รังสีวินิจฉัย: Computed tomography (CT) และ positron emission tomography (PET) เพื่อเช็คหาบริเวณเนื้อเยื่อปอดที่เป็นมะเร็ง การสแกนกระดูกยังสามารถบ่งชี้การกระจายของมะเร็งปอดได้ และ แพทย์อาจใช้การสแกนเหล่านี้เพื่อติดตามความคืบหน้าของการรักษา หรือเพื่อให้แน่ใจว่ามะเร็งไม่ได้กลับมาอีกหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
การสุ่มตัวอย่างเนื้อเยื่อ: หลังจากแพทย์ได้ ระบุจุดที่สงสัยว่าอาจเป็นเนื้อมะเร็งจากการใช้รังสีวินิจฉัย การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งก็เป็นขั้นตอนต่อไป โดยวิธีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อมีหลากหลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนมะเร็ง ถ้าก้อนมะเร็งในปอดอยู่ในตำแหน่งที่เข้าไปเก็บเนื้อเยื่อตัวอย่างได้ยากอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบ Thoracoscopic เพื่อเก็บเนื้อเยื่อตัวอย่าง
การทดสอบในห้องปฎิบัติการ: ตรวจเสมหะหรือตรวจเลือด เพื่อหามะเร็งปอด แพทย์จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิจารณาประเภทของโรคมะเร็งปอดที่มีในผู้ป่วยรายนั้นๆ และวิเคราะห์การกระจายของโรคด้วยเช่นกัน
การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ในระยะแรกสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งปอดสามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก่อนที่แพทย์จะตรวจพบ หากการแพร่กระจายเกิดขึ้นจะทำให้การรักษายากขึ้น ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำผู้ที่ทำการตรวจคัดกรองหามะเร็งปอด ให้รับการตรวจ low-dose CT scan เพื่อวินิจฉัยในเบื้องต้นด้วย
การรักษาโรคมะเร็งปอดนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น รวมถึงสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคล การผ่าตัดและการฉายรังสีเป็นวิธีการรักษาทั่วไป แต่ทั้งนี้ยังมีการรักษาอื่น ๆ เช่น เคมีบำบัด และ Targeted therapy
การผ่าตัด: แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อปอดและเนื้อเยื่อมะเร็งในบริเวณโดยรอบที่อาจมีการแพร่กระจายของมะเร็ง ในกรณีที่รุนแรงศัลยแพทย์อาจเอาปอดข้างที่เป็นมะเร็งออก ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยเหลือปอดเพียงข้างเดียว ผลลัพธ์จาการผ่าตัดจะดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
เคมีบำบัด (Chemotherapy): การใช้ยาเพื่อลดขนาดหรือกำจัดเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาจะมีการออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การรักษาด้วยเคมีบำบัดมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ แต่การรักษาแบบเคมีบำบัด ก็มีผลข้างเคียงรวมถึงอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรงและทำให้น้ำหนักลดลง
การบำบัดด้วยรังสี (Radiation therapy): การใช้รังสีพลังงานสูงในการฆ่าเซลล์มะเร็ง แพทย์อาจใช้รังสีเพื่อลดขนาดของเนื้องอกก่อนที่จะผ่าตัดออก การรักษาชนิดนี้จะมีประโยชน์มากในโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเพียงที่เดียวและยังไม่กระจายไม่ยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
Targeted therapy: การใช้ยารักษาเฉพาะเซลล์มะเร็งอย่างมีเป้าหมายเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งโดยการควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การรักษามะเร็งด้วยยา Targeted Therapy ให้ได้ผลดีต้องได้รับผลการตรวจที่แม่นยำ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพราะอาการของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน การรักษาจึงต้องแตกต่างกันออกไป โดยใช้แนวทางการรักษาแบบ “Precision Medicine” หรือการแพทย์เฉพาะเจาะจง ทำให้รักษาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น ผลที่ได้จึงดีขึ้นตามไปด้วย
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่