Targeted Therapy คือ การใช้ยารักษามะเร็งอย่างตรงจุด ที่มีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งตรงจุดที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง มีการใช้ยา Targeted Therapy มากขึ้นในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) ยกตัวอย่าง Bevacizumab ยาตัวแรกที่ยังมีบทบาทอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้าที่จะมีการใช้ยา Targeted Therapy คือ คนไข้จะได้รับยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวหรือปฏิเสธการรักษา เมื่อไม่ต้องการรับการรักษา ยาTargeted มีหลายบทบาททั้งในระยะแพร่กระจายและไม่แพร่กระจาย
ในปัจจุบัน Targeted Therapy สามารถใช้รักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้หลายชนิด อาทิ
มีทั้งรูปแบบให้ทางหลอดเลือด และชนิดรับประทาน ยารูปชนิดรับประทาน เช่น Regorafenib มีการใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองด้วยยาชนิดอื่น ยา Targeted ที่ให้ทางหลอดเลือด ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น Bevacizumab, Cetuximab, Aflibercept ให้ร่วมกับ ยาเคมีบำบัด เพื่อการตอบสนองเพิ่มขึ้นจากเดิม 50 % ของการรักษา ในกรณีที่มีการแพร่กระจายไปที่ตับ การให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับยา Targeted ทำให้เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดได้ถึง 50 % ซึ่งส่งผลเพิ่มอัตราการมีชีวิตอยู่ 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่