ในระยะแรกของการบาดเจ็บโดยมากมักจะให้ผู้ป่วยพักการใช้งาน อาจพิจารณาการใส่อุปกรณ์ดาม เช่น เฝือกอ่อน (ในระยะสั้นๆ) การประคบเย็นเพื่อลดและหยุดขั้นตอนการบวม การลดการลงน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระแทก ในข้อเท้า การยกเท้าสูง หลีกเลี่ยงการห้อยขาเพื่อลดการบวม เป็นต้น
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดรักษาข้อเท้าเคล็ดมักจะพิจารณาในกลุ่มที่ความรุนแรงมากหรือเอ็นข้อเท้าฉีกขาดโดยสมบูรณ์ ภาวะกระดูกแตกหักแบบเอ็นฉีกกระชาก (avulsion fracture) การที่มีการบาดเจ็บฉีกขาดในหลายๆ ส่วนของข้อเท้าร่วม และเจาะจงในกลุ่มที่อาจได้ประโยชน์จากการเย็บยึดให้ข้อเท้าให้มีความมั่นคง เช่น ในกลุ่มนักกีฬาซึ่งจะคาดหวังผลในการผ่าตัดที่ดีกว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่นักกีฬาจึงมักได้รับการรักษาโดยการไม่ผ่าตัดก็เพียงพอ
ในบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช้นักกีฬาอาชีพอาจพิจารณาการผ่าตัด ในกรณีของภาวะที่ข้อเท้ามีภาวะไม่มั่นคงจากการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้า ซึ่งแม้รักาษาโดยการอนุรักษ์นิยมแล้วไม่หาย หรือภาวะการบาดเจ็บร่วม เช่น พบการหักของกระดูกอ่อนผิวข้อ หรือการมีเศษแตกในข้อส่งผลให้เป็นเศษลอยในข้อเท้า ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดจะได้ประโยนช์มากกว่า
การผ่าตัดเย็บเส้นเอ็นแบบเปิด (open ligament repair or reconstruction ) การผ่าตัดวิธีนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลากหลายวิธี แต่เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดแบบเปิด คือ การมีแผลขนาดใหญ่ ซี่งมีโอกาสติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดเนื่องจากความสกปรกบริเวณข้อเท้า อีกทั้ง ผิวหนังบริเวณผ่าตัดมีโอกาสไม่สมานติดได้ เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้มีความตึงสูง