เชื่อว่าหลายต่อหลายคนคงเคยประสบปัญหาการเป็นตะคริวตอนกลางคืน กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เป็นตะคริวตอนนอนก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก จนทำให้สะดุ้งตื่นจากภวังค์ได้เลยทีเดียว เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมเมื่อเรานอนอยู่ดีๆ จู่ๆ ถึงเป็นตะคริวขึ้นมา? เป็นเพราะอะไร? แล้วเราสามารถรักษาหรือป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่?
ตะคริว คือ อาการที่กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งตัวค้างไว้ โดยเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดกับกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า หากเป็นตอนกลางคืนทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก เรียกว่า ตะคริวตอนกลางคืน (Nocturnal Leg Cramps) ซึ่งมักเกิดกับคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าตะคริวตอนกลางคืนเกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลักฐานพบว่าอาจมีสาเหตุมาจากอาการกล้ามเนื้อล้า การทำงานผิดปกติของเส้นประสาท หรือการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี มากกว่าเรื่องของระดับเกลือแร่และความผิดปกติอื่นๆ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้ ดังนี้
เมื่อเกิดอาการตะคริวตอนกลางคืนขึ้นบ่อยครั้ง จนเริ่มรบกวนการนอน และทำการรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการขาบวมแดงหรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมิน วินิจฉัยแยกโรค และรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ แพทย์จะซักประวัติถึงอาการและประวัติการใช้ยา ตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ รวมถึงอาจมีการเจาะเลือดเมื่อแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาอย่างอื่นร่วมด้วย
แพทย์อาจพิจารณาให้ยาบรรเทาอาการปวดหลังเกิดตะคริวตอนกลางคืน เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดรับประทาน และยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอลหรือไอบูโปรเฟน และอาจพิจารณาให้แร่ธาตุแมกนีเซียมแก่ผู้ใหญ่และหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากมีหลักฐานว่าให้ประโยชน์แก่กลุ่มคนเหล่านี้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาควินินในการรักษาเนื่องจากประโยชน์ของยามีน้อยมากเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่ได้รับ
เนื่องจากการเกิดตะคริวตอนกลางคืนนั้นยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ในขณะเดียวกัน การเกิดอาการนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงสัญญาณของโรคบางชนิดได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการตะคริวตอนกลางคืนบ่อยๆ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมโดยเร็วที่สุด
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่