คุณริณดา จินดาหรา คุณแม่ที่พบความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษและคลอดก่อนกำหนด โดยขณะที่เธอตั้งครรภ์ แพทย์ได้ตรวจพบเนื้องอกในมดลูกขนาด 10 ซม. นอกจากนี้เธอยังมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษสูง มีแนวโน้มที่ทารกจะคลอดออกมาตัวเล็กผิดปกติ จากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกตีบมาก ไม่เพียงแค่นั้นแพทย์ยังตรวจพบว่าเธอมีภาวะปากมดลูกสั้น ซึ่งเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย เธอจะผ่านวิกฤตนั้นมาได้อย่างไร Click เพื่อฟังประสบการณ์การตั้งครรภ์ของคุณริณดา
คุณพิมพ์ชนก พงษ์วิทยภานุ ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ซึ่งเธอเคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งแรก จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ แพทย์จึงให้การดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษ จนเมื่ออายุครรภ์ได้ 26 สัปดาห์ ตรวจพบว่าปากมดลูกของเธอเปิดประมาณ 2.5 ซม. จำเป็นต้องใช้ห่วงพยุงปากมดลูก (Cervical pessary) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับปากมดลูก และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คุณแม่ท่านนี้จะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ Click
การคลอดก่อนกำหนด คือ การที่ทารกเกิดก่อนครบ 37 สัปดาห์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการตายของทารกแรกเกิด และ ทารกยังมีความเสี่ยงต่อโรคทางระบบทางเดินหายใจ ปัญหาทางสมอง ปอด หัวใจ และพัฒนาการด้านอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ ประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน ภาวะปากมดลูกสั้น การตั้งครรภ์แฝด ความดันโลหิตสูง และโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน
แนวทางการดูแลรักษาและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วยหลัก 3P CONCEPT (Prediction, Prevention, Health Promotion) จะช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้ 50% (เมื่อเทียบกับสถิติขององค์การอนามัยโลก)
|
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่