ศูนย์ผู้มีบุตรยาก

สุขุมวิท วิง ( อาคาร2) ชั้น 1 ทุกวัน 07.00-22.00 น. 02-022-2555-6 info@samitivej.co.th

ศูนย์ผู้มีบุตรยาก

สมิติเวช สุขุมวิท

Our success rate

Leading IVF Treatment Center in Bangkok – Your Path to Parenthoodccess rate

ดูแลรักษาคนไข้ทั้งคนไทยและต่างชาติ กว่า 38 ประเทศ มี Success Rate สูงถึง 44% (คิดจากจำนวนคนไข้ที่ได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จนกระทั่งตั้งครรภ์สำเร็จ ทำการฝากครรภ์และคลอดอย่างปลอดภัยที่โรงพยาบาลสมิติเวชเท่านั้น)

Comprehensive Assisted Reproductive Technology (ART) Services

ในทุกช่วงเวลา เพราะเราคือทางเลือกสำหรับครอบครัว

ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เป็นศูนย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากที่ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) ที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการ ที่ได้มาตรฐาน และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการมีบุตรเพื่อให้ชีวิตคู่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมพยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์โดย ทำให้ได้การตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น อัตราการประสบผลสำเร็จ โดยทีมแพทย์ เฉพาะสูงขึ้น

ให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากขั้นพื้นฐานไปจนถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยสูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยาก เช่น

  • การผสมเทียม โดยฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI)
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ (Assisted Reproductive Technology-ART)
  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
  • การทำอิ๊กซี่ (ICSI)
  • การวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGD)
  • การคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน (PGS)
  • การเพาะเลี้ยง (Blastocyst (Blastocyst Culture)
  • บริการแช่แข็งตัวอ่อน ไข่ และเชื้ออสุจิ (Embryo Oocyte and Sperm freezing)
  • การทำ IVM
  • การใช้ Calcium ionophore
  • การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม (Array CGH) หรือ (NGS)
  • การตรวจดูความพร้อมของมดลูกก่อนใส่ตัวอ่อน (Uterine receptivity test)
  • การตรวจดูการแบ่งตัวของตัวอ่อน (Mitochondrial with DNA)

มาตรฐานของการดูแลภาวะผู้มีบุตรยาก

  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • เทคโนโลยีสงวนรักษาภาวะเจริญพันธุ์
  • ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์และความสัมพันธ์ของฮอร์โมน
  • การดูแลขั้นสูง ด้วย การวินิจฉัยและรักษาที่แม่นยำเฉพาะบุคคล
  • การตรวจคัดกรองยีนที่เป็นสาเหตุของภาวะผู้มีบุตรยากของคู่สมรส
  • ระบบภูมิคุ้มกันในภาวะผู้มีบุตรยากที่ทำให้การย้ายตัวอ่อนล้มเหลวและการแท้งบุตรซ้ำ

อุปกรณ์เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

  • ห้องให้คำปรึกษา
  • ห้องตรวจ : ตรวจภายใน ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
  • ห้องผ่าตัดและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย
  • ห้องเก็บรักษาตัวอ่อนที่ได้มาตรฐานเป็นห้องสะอาด มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความดัน แสงสว่าง ระดับเสียงและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดให้เหมาะสม
  • ห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้ว (Sperm + IVF Lab)
  • Hormone Lab ได้ผลที่ถูกต้องและรวดเร็ว มีการควบคุมคุณภาพที่ Internal และ External QC
  • Sperm Lab ตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
  • Embryo Lab เครื่องมือและอุปกรณ์ได้มาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องมือ และคุณภาพน้ำยาทุกชนิดอย่างสม่ำเสมอ มีระบบการเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตจนถึงระยะ Blastocyst
  • Fixed Cell เพื่อตรวจ DNA Probe ตรวจความผิดปกติของโครโมโวม 13,18, 21 และตรวจเพศ ด้วย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน ใช้ Laser ในการช่วยเจาะเปลือกตัวอ่อน การอ่านผลโดยคอมพิวเตอร์ ให้ผลอย่างถูกต้องและแม่นยำ

เทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยาก

Technology used in fertility treatments

บริการตรวจวินิจฉัย ดังนี้ ตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานด้วยอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด การฉีดสีเอกซเรย์ดูท่านำไข่ การวิเคราะห์น้ำอสุจิ การคัดเชื้อตัวอสุจิ การตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนในร่างกาย การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เช่น IVF, E.T., ICSI, GIFT (ทำกิ๊ฟ) และการผ่าตัดเนื้ออัณฑะเพื่อดูดอสุจิออกมา (Sperm Retrieval): TESE ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันคือไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำเชื้อ นอกจากนี้ยังมีบริการผ่าตัดแก้หมันหญิง (การผ่าตัดท่อนำไข่) และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่น ๆ เช่น

  • IVM หรือ In Vitro Maturation เทคโนโลยีที่ทางโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นการรักษาที่ใกล้เคียงธรรมชาติและปลอดภัยมากที่สุด ไม่ต้องเจ็บตัวหรือเสี่ยงกับผลแทรกซ้อนจากการฉีดฮอร์โมน
  • ช่วยให้การปฏิสนธิสูงขึ้นและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วยสารแคลเซียม ไอโอโนฟอร์  (Calcium Ionophore)  เป็นสารที่ใช้ในเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ ซึ่งโรงพยาบาลสมิติเวช ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษานี้ จนสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาให้กับผู้มีบุตรยากจนเป็นผลสำเร็จ
  • นวัตกรรมการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Screening : PGS) หรือ ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือการตรวจดูจำนวนโครโมโซมและความผิดปกติของเซลล์ตัวอ่อน เช่น โครโมโซมคู่สั้นๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเป็นดาวน์ซินโดรม  
  • หยุดโรคทางพันธุกรรม ด้วยการตรวจวินิจฉัยดูความผิดปกติของตัวอ่อนในระดับยีนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Diagnosis: PGD) เมื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมแล้ว จะทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคทางพันธุกรรมใส่กลับเข้าไปในมดลูก  
  • เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และลดการแท้งบุตรด้วย Uterine Receptivity Test ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนเข้ามาฝังตัวอยู่ที่โพรงมดลูก และวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวกับความพร้อมในการฝังตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกทั้ง 238 ยีน ร่วมกับการตรวจไมโทคอนเดรียน  (Mitochondrion) แหล่งพลังงานของเซลล์ในตัวอ่อน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 50%