เปรียบเทียบ 5 โรคระบาดที่เกิดจาก เชื้อไวรัส ที่ส่งผลกระทบทั่วโลก

เปรียบเทียบ 5 โรคระบาดที่เกิดจาก เชื้อไวรัส ที่ส่งผลกระทบทั่วโลก

HIGHLIGHTS:

  • เชื้อโคโรน่าไวรัสมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น SARS และ COVID-19
  • การรักษาโรคติดเชื้อ (ในบทความ) ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันจะให้การรักษาตามอาการของผู้ป่วยและรักษาแบบประคับประคอง ใช้ยาต้านเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
  • วิธีการป้องกันโรคระบาดที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งคือ การฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบันมีเพียงวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เท่านั้น ยังไม่มีวัคซีนสำหรับโรค COVID-19 โรค SARS และโรค MERS ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา

ในขณะที่การระบาดของโรค COVID – 19  ส่งผลกระทบไปทั่วโลก  แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง เราเคยรับมือกับปัญหาโรคระบาดใหญ่มาแล้วตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งแต่ละโรคมีสาเหตุ ต้นตอ ลักษณะการแพร่กระจายและความรุนแรงที่ต่างกัน

  COVID-19 SARS MERS EBOLA H1N1
ชื่อเรียก โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ซึ่งมาจากการรวมกันของคำว่า corona (โคโรน่า), virus (ไวรัส) และ disease (โรค) รวมเข้ากับปีของการเริ่มต้นการแพร่ระบาดคือปี 2019 โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe acute respiratory syndrome: SARS) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) โรคอีโบลาไวรัส ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009
เชื้อที่ทำให้เกิดโรค SARS-CoV-2 SARS-CoV MERS-CoV เชื้อไวรัสอีโบลา ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1
ประเทศที่พบครั้งแรก เกิดขึ้นในประเทศจีนในเดือนธันวาคม 2562 ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2545 ในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของประเทศจีน มีรายงานครั้งแรกในซาอุดิอาระเบียในปี 2555 อีโบลาถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2519 ใกล้กับแม่น้ำอีโบลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เดือนเม.ย.2552 มีรายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก
สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมในระยะแรกชี้ให้เห็นว่าเชื้อโรคนั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว , ตัวลิ่น (pangolin) ถูกถ่ายทอดจากชะมดไปยังคน ติดต่อจากอูฐ สู่คน ติดต่อจากค้างคาว หรือลิง สู่คน เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก
ระยะฟักตัว ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปคือภายใน 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0 ถึง 24 วัน
ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั่วไปมีระยะฟักตัว 3 วัน
ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยหนักจะมีระยะฟักตัวเท่ากับ 2 วันเท่านั้น
ระยะฟักตัวของ SARS-CoV โดยเฉลี่ย 4 – 5 วัน  (2 – 10 วัน) MERS-CoV โดยเฉลี่ย 5 วัน (2 – 14 วัน) ระยะฟักตัวหรือช่วงเวลาจากการติดเชื้อไปจนถึงอาการเริ่มตั้งแต่ 2 ถึง 21 วัน 1-4 วัน
การแพร่กระจายเชื้อ แพร่กระจายจากคนสู่คน
ระหว่างคนที่อยู่ใกล้ชิดกัน (ระยะห่างประมาณ 6 ฟุต)
ผ่านละอองระบบทางเดินหายใจ เมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม
หลักๆจะแพร่กระจายเชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet)
ถ้าใครอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตรจะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่และฝอยละอองขนาดเล็ก (เล็กกว่า 5 ไมครอน เรียกว่า aerosol) จากการไอจามรดกันโดยตรง ถ้าอยู่ห่างจากผู้ป่วย 2 เมตรขึ้นไป จะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็ก
และมีหลายงานวิจัยพบว่าเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne) ได้ด้วยส่วนการแพร่เชื้อโดยการสัมผัส เช่น การจับมือกันหรือมือจับของใช้สาธารณะร่วมกัน แล้วมาแคะจมูกหรือเช็ดตาตนเองแล้วติดเชื้อ พบได้น้อยมาก
MERS เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ ต่พบไม่บ่อยนัก มักพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่นให้การดูแลผู้ติดเชื้อโดยไม่ใส่เครื่องป้องกัน ไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านทางเลือดหรือสารคัดหลั่ง จากงานวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสสามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานถึง 82 วัน นอกจากการสัมผัสโดยตรงแล้ว การสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อก็ทำให้ติดต่อกันได้ เชื้อสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการ ไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก ขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการสัมผัสหมูหรือรับประทานเนื้อหมู
อาการ อาการมีได้ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิตได้แต่พบไม่บ่อยนัก แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ไม่มีอาการที่บ่งบอกชัดเจนในการวินิจฉัยโรคซาร์ส อาการส่วนใหญ่คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ วิงเวียนปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว ท้องเสียและ ตัวสั่น (rigors)
อาจมีอาการไอแห้งในระยะแรก หายใจถี่และท้องเสียในสัปดาห์แรกและ / หรือสัปดาห์ที่สองของการเจ็บป่วย
มีตั้งแต่ไม่มีอาการ หรืออาการระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรงจนถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงและเสียชีวิต
อาการเริ่มต้นโดยทั่วไปของโรค MERS-CoV คือมีไข้ไอและหายใจถี่ ปอดบวม นอกจากนี้ยังมีอาการระบบทางเดินอาหาร เช่นท้องเสีย
จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่จะมีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ ในระยะที่สอง จะมีอาการ ท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการในระยะที่สอง จะมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งกรณีนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง เพราะตับและ ไตวาย รวมถึงอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ไข้ขึ้นสูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย
ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะโรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้
การป้องกัน วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติวัคซีนอีโบล่า rVSV-ZEBOV (ชื่อทางการค้า“ Ervebo”) ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยและป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา สายพันธุ์ Zaire ebolavirus ได้เท่านั้น ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ทุกปี
การรักษา การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย วิธีการรักษาที่ทำได้ในขณะนี้ คือการรักษาแบบประคับประคองและใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน ยาต้านไวรัสไขหวัดใหญ่ “โอเซลตามิเวียร์” สามารถรักษาโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่นี้ได้ แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นและภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?