วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

สนุกได้กับชีวิตที่คุณรัก

ด้วยมาตรฐานการรักษาโรงเฉพาะทางระดับโลกถึง 5 สาขา
ที่ได้รับการรับรองจาก JCI สถาบันรับรองคุณภาพระดับสากลแห่งสหรัฐอเมริกา

สมิติเวชพร้อมดูแลคุณให้คุณได้กลับไปสนุกกับกิจกรรมที่คุณรักได้อีก ด้วยมาตรฐานระดับโลกนี้ผู้ป่วยและครอบครัวมั่นใจได้ถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำ ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษา ขณะพักฟื้น จนสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพในการรักษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในเรื่อง

  • การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นขั้นตอน
  • ความเชี่ยวชาญและกระบวนการรักษาที่แม่นยำวัดผลได้
  • การพัฒนาศักยภาพในการรักษา
  • การจัดการฐานข้อมูลผู้ป่วยและใช้ข้อมูลในการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วย

การดูแลสนับสนุนทั้งผู้ป่วยและครอบครัวให้มีสภาพจิตใจที่ดี ใช้ชีวิตอยู่กับโรคอย่างเข้าใจ

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้กลับบ้านแล้ว การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา และการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ภาวะการติดเชื้อที่ข้อเข่าเทียม ภาวะเส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน หรือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดเข่าที่ผ่าตัดได้ตรง สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด ตามวิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

คำแนะนำในการปฏิบัติตน

1. สำหรับอาการบวมของเข่าที่ผ่าตัดอาจใช้เวลาถึงประมาณ 6 เดือนในการกลับสู่ภาวะปกติ การวางแผ่นเย็น (cold pack) จะช่วยลดอาการบวม และอาการปวดของข้อเข่าข้างที่ผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรวางแผ่นเย็นที่เข่าข้างผ่าตัด วางนานประมาณ 10-20 นาที ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวันหรือเท่าที่ผู้ป่วยต้องการจะวาง โดยเฉพาะในช่วงเวลา 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด เวลาที่เหมาะในการวางแผ่นเย็นคือหลังจากที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย หรือหลังจากที่ผู้ป่วยไปเดินมาก ๆ ท่าที่เหมาะกับการวางแผ่นเย็นคือวางในท่าเข่าเหยียดตรง

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม1

2. การนอน หากนอนหงายให้นอนหงายเข่าเหยียดตรง แล้วใช้ม้วนผ้าขนหนูวางไว้ใต้ข้อเท้าขาข้างผ่าตัด จุดประสงค์ของการนอนแบบนี้เพื่อให้เข่าที่ผ่าตัดเหยียดได้ตรง ผู้ป่วยไม่ควรใช้หมอนใด ๆ วางใต้ข้อเข่าที่ผ่าตัดในขณะที่นอน

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม2

3. การนั่งนาน อาจจะทำให้เข่าข้างผ่าตัดเกิดอาการขาแข็ง (stiffness) หรืออาการบวมตลอดทั้งขาข้างที่ผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรนั่งนานไม่เกิน 45 นาที หากผู้ป่วยต้องการที่จะนั่งนาน เช่น ดูหนัง หรือ ดูทีวี หรือนั่งทำงานนาน ผู้ป่วยก็ควรลุกขึ้นยืนและเดินในระยะทางสั้น ๆ หรือเคลื่อนไหวเข่าข้างผ่าตัดโดยการงอและเหยียดเข่าหลาย ๆ ครั้ง

4. เนื่องจากภาวะการติดเชื้อในข้อเข่าเทียมอาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่หลังการผ่าตัดจนถึงประมาณ 1 ปี ดังนั้นหากผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ อาการมีไข้สูงนาน ๆ หรือที่แผลผ่าตัดมีอาการแดง ร้อน หรือ มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากแผลผ่าตัด หรืออาการปวดเข่าที่ผ่าตัดมาก ให้ผู้ป่วยรีบโทรศัพท์หาแพทย์ผ่าตัดทันที

5. ภายในหนึ่งปีหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หากผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดอื่นใด หรือการผ่าตัดทางด้านฟันนั้น ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ที่ผ่าตัดทราบว่าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมา เพื่อที่แพทย์จะได้ให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปที่ข้อเข่าเทียม

การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

1. Ankle Pumps: นอนหงาย ขาเหยียดตรง จากนั้นกระดกข้อเท้าขึ้นและลง ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa1

2. Heel Slides: นอนหงาย ขาเหยียดตรง จากนั้นค่อย ๆ งอเข่าขึ้นมาโดยการลากส้นเท้าเข้ามาชิดก้น (พยายามให้ส้นเท้าติดพื้นตลอดการเคลื่อนไหว) แล้วค่อยยืดขาออกกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa2

3. Knee Press: นอนหงาย ขาเหยียดตรง พยายามเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา กดด้านหลังเข่าติดเตียง เกร็งค้างไว้นาน 5 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa3

4. Straight Leg Raise: นอนหงาย ขาข้างดีงอขึ้นมาให้เท้าวางติดพื้น ขาข้างผ่าตัดเหยียดตรง จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาให้เข่าเหยียดตรง แล้วยกขานั้นขึ้นสูงเท่ากับความสูงของขาข้างดีที่ตั้งงอไว้ โดยที่เข่าต้องเหยียดตรงตลอดช่วงของการเคลื่อนไหว แล้วค่อย ๆ วางขาลงช้า ๆ กลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa4

5. Side Lying Abduction: นอนตะแคงขาเหยียดตรง (ให้ขาข้างที่ต้องการออกกำลังกายอยู่ด้านบน) จากนั้นให้กางขาขึ้น โดยขาจะต้องเหยียดตรงตลอดช่วงของการกางขา แล้วยกขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa5

6. Short Arch Quadriceps: นอนหงายใช้หมอนกลมวางใต้เข่าข้างที่ผ่าตัด จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขายกปลายเท้าขึ้นให้เข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้ววางขาลงสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa6

7. Sitting Knee Extension: นั่งบนเก้าอี้แล้วค่อย ๆ เหยียดขาข้างที่ต้องการออกกำลังกายให้เข่าเหยียดตรงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำค้างไว้ 5 วินาที แล้ววางขาลงสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa7

8. Standing Knee Bending: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วงอขาข้างที่ผ่าตัดขึ้นทิศทางเข้าหาก้น ให้งอเท่าที่จะงอไปได้ แล้ววางขาลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa8

9. Standing Hip Abduction: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วกางขาข้างผ่าตัดออกไปทางด้านข้าง โดยพยายามควบคุมให้ลำตัวและเข่าเหยียดตรงตลอดช่วงการเคลื่อนไหว แล้ววางขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa9

10. Standing Hip Extension: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วเหยียดขาข้างที่ผ่าตัดไปทางด้านหลัง โดยพยายามควบคุมให้ลำตัวและเข่าเหยียดตรงตลอดช่วงการเคลื่อนไหว แล้ววางขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa10

11. Standing Terminal Knee Extension: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วให้เข่าข้างที่ผ่าตัดงอเล็กน้อย จากนั้นค่อย ๆ เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาดึงเข่าไปทางด้านหลัง ให้เข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้ 5 วินาที (พยายามไม่ให้เข่าแอ่นมากเกินไป) จากนั้นจึงค่อย ๆ คลายให้เข่ากลับสู่ท่างอเข่าเล็กน้อย ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa11

12. Heel Raises: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ยกส้นเท้าทั้ง 2 ข้างขึ้นจากพื้น เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อย ๆ วางส้นเท้าลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa12

13. Sitting Assisted Knee Bending: โดยให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ แล้วใช้ขาข้างดีวางอยู่หน้าขาข้างที่ผ่าตัด จากนั้นใช้ขาข้างดีดันขาข้างผ่าตัดไปทางด้านหลัง ให้เข่าข้างผ่าตัดงอไปได้มากที่สุดเท่าที่จะไปได้ งอค้างไว้ 5 วินาที แล้วคลายออกนำขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa13

14. Hamstring Stretching: นั่งบนเตียงโดยให้ขาข้างดีวางอยู่บนพื้น ส่วนขาข้างผ่าตัดวางอยู่บนเตียงขาเหยียดตรง จากนั้นค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้าไปจับที่นิ้วหัวแม่เท้า หรือพยายามก้มไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ โดยต้องพยายามรักษาให้เข่าเหยียดตรงตลอดช่วงที่ก้มตัวไปข้างหน้า แล้วให้ค้างไว้นาน 10 วินาที จากนั้นเคลื่อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมa14

การลุกขึ้นนั่ง

จากท่านอนหงาย ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองข้างยันตัวขึ้นนั่ง จากนั้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนตัวมานั่งริมขอบเตียง โดยมีผู้ดูแลผู้ป่วยช่วยพยุงขาข้างผ่าตัดออกมานอกเตียง แล้วจึงค่อย ๆ วางขาข้างผ่าตัดให้งอวางเท้าติดพื้น ส่วนขาข้างดีผู้ป่วยเคลื่อนมาวางเท้าที่พื้นเอง

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมb1

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมb2

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมb3

การลุกขึ้นยืน

หลังจากที่ผู้ป่วยนั่งห้อยขาข้างเตียงแล้ว ให้นำ Walker มาวางอยู่ด้านหน้าผู้ป่วย แล้วให้ผู้ป่วยใช้มือจับ walker จากนั้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนขาข้างผ่าตัดมาทางด้านหน้า เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลงน้ำหนักที่ขาข้างผ่าตัดมาก แล้วก้มตัวมาทางด้านหน้า มือกด walker ลงน้ำหนักที่ขาข้างดี จากนั้นยืดตัวขึ้นยืนตรงแล้วจึงเคลื่อนขาข้างผ่าตัดมาวางเท่าขาข้างดี

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมc1

การเดินด้วยการใช้ Walker

ขั้นตอนที่ 1

ให้ผู้ป่วยยก Walker ไปวางทางด้านหน้า ในระยะทางที่เพียงพอกับการก้าวเท้าปกติของผู้ป่วย ต้องมั่นใจว่าวางขาทั้ง 4 ของ walker ลงพื้นเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะก้าวเท้า

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมd1

 

ขั้นที่ 2     

ก้าวขาข้างผ่าตัดก่อน โดยก้าวเข้าไปในกึ่งกลางของ Walker วางเท้าให้ตรง ไม่บิดเท้า

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมd2

ขั้นที่ 3

กด Walker ด้วยมือทั้งสองข้าง ลงน้ำหนักที่ขาข้างผ่าตัดประมาณ 50% หรือ

เท่าที่ไม่มีอาการเจ็บที่ข้อเข่าเทียม จากนั้นจึงก้าวขาข้างดีตามมา

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมd3

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมd5

สนใจสอบถามรายละเอียด
แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท อาคาร 2 ชั้น 1 เบอร์โทรศัพท์ 0 20228399-400

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?