เมื่อย่างเข้าสู่เดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงที่เข้าสู่หน้าร้อนของเมืองไทย พบว่าระดับของ UV Index อยู่ในระดับสูงและถือว่ามีความอันตรายต่อผิวของคนเรา
UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า ความแรงของแดด เป็นการวัดการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในพื้นที่หรือเวลานั้นๆ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี พ.ศ. 2535 และได้นำมาปรับใช้ใหม่โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2537 สำหรับความแรงของแดดเมืองไทยในจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับที่สูง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา (คลิก)
UV Index |
สีสัญลักษณ์/ ระดับความแรง |
การป้องกัน |
0–2.9 |
สีเขียว “ความรุนแรงต่ำ” |
สวมแว่นกันแดดในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง |
3–5.9 |
สีเหลือง “ความรุนแรงปานกลาง” |
ควรปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า หากต้องอยู่กลางแจ้งให้หลีกเลี่ยงในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแสงมากที่สุด |
6–7.9 |
สีส้ม “ความรุนแรงสูง” |
ปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า สวมหมวก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ อยู่กลางแจ้งให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง |
8–10.9 |
สีแดง “ความรุนแรงสูงมาก” |
ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อผ้ากันแดด สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และไม่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน |
11+ |
สีม่วง “ความรุนแรงสูงจัด” |
ควรระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด สวมหมวกที่สามารถปกปิดได้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานกว่า 3 ชั่วโมง |
โดยส่วนใหญ่แล้ว จังหวัดที่มีความแรงของแดดสูงมาก - สูงจัด (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ได้แก่ กาญจนบุรี กรุงเทพฯ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ผู้ที่อาศัยในจังหวัดเหล่านี้จึงควรระมัดระวังอย่างมากในการหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่แดดจัด เช่น 10.00-15.00 น. เพราะถ้าหากโดดแดดในช่วงนี้ ประมาณ 15-20 นาที อาจทำให้ผิวหนังเกรียมแดด (sun burn) ได้ และในระยะยาว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับดวงตาและมะเร็งผิวหนังด้วยเช่นกัน
ท้ายที่สุดแล้วเราควรดูแลผิวตัวเองด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอหรือแพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก สามารถป้องกันตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม เพื่อสุขภาพผิวพรรณและดวงตาในระยะยาว
หากผิวไหม้แดดจนเกิดอาการแสบร้อน เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือ After Sun Gel ที่มีส่วนผสมของสารลดการระคายเคืองทา เช้าและเย็นหลังจากมีอาการจนอาการดีขึ้น แต่ถ้ายังกังวลว่ายังมีอาการแสบแดง ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยรักษาอาการเหล่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยี Cool Laser (เลเซอร์เย็น) และ Omnilux (เทคโนโลยีแสง Light Emitting Diodes) ลดการอักเสบของผิว และฟื้นฟูผิวไหม้แดดให้หายเร็วขึ้น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่