ข้อมือเป็นข้อต่อที่ใช้งานมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย สามารถเคลื่อนไหวในแนวต่างๆ โดยมีเอ็นข้อมือช่วยยึดและดึง นอกจากนี้ยังมีปลอกหุ้มเอ็น คลุมเอ็นข้อมือไว้ คอยรั้งเอ็นให้อยู่แนบข้อมือ แม้จะช่วยกันทำงาน แต่หากใช้งานข้อมือซ้ำๆ หรือผิดท่าทางเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน รวมถึงเกิดอุบัติเหตุจนส่งผลให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ อาจส่งผลให้ให้เกิดอาการเจ็บข้อมือ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเรียกว่า ภาวะปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s Tenosynovitis)
เอ็นข้อมืออยู่บริเวณข้อมือฝั่งทางด้านนิ้วโป้ง เป็นเส้นเอ็นที่ใช้ในการขยับเคลื่อนไหวของนิ้วโป้งและข้อมือ ซึ่งเป็นจุดที่มีการอักเสบได้บ่อยที่สุด ตัวเส้นเอ็นนี้มีปลอกหุ้มเส้นเอ็นคลุมตัวเส้นเอ็นอีกชั้นหนึ่ง ถัดลงไปเป็นกระดูกข้อมือ ส่วนที่เกิดอาการเจ็บส่วนใหญ่เกิดการอักเสบรอบๆ ปลอกหุ้มเอ็น เมื่อเกิดการอักเสบทำให้การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่อยู่ภายในปลอกเส้นเอ็นมีการติดขัด บวมและเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้งหรือข้อมือ
นอกจากปลอกหุ้มเอ็นข้อมือและเอ็นข้อมือ ยังมีกระดูกที่อยู่ลึกลงไป หากมีการบาดเจ็บของกระดูกอาจส่งผลให้เจ็บปวดบริเวณข้อมือได้เช่นกัน แต่มีอาการแสดงที่แตกต่างออกไป เช่น กระดูกข้อมือหักหรือร้าว ข้อโคนนิ้วโป้งเสื่อม เป็นต้น
สำหรับอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ จะมีอาการดังนี้
กรณีพบอาการปวดที่รบกวนการทำงานในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ตามปกติ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือที่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บ ทั้งการใช้งานหนัก ใช้งานซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่ต้องทำงานบ้าน คุณแม่ที่ดูแลลูก หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้ข้อมือเป็นประจำ ควรลองปรับวิธีการใช้งาน และศึกษาวิธีการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
อาการเอ็นข้อมืออักเสบ หรือ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ แม้จะรักษาหายแล้วก็อาจกลับเป็นซ้ำได้อีก หากยังมีพฤติกรรมการใช้ข้อมือหนักซ้ำ ๆ
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วควรทบทวนหาสาเหตุของอาการปวดข้อมือ เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว
แม้ภาวะปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ไม่สามารถลุกลามไปเป็นโรคอื่นๆ ได้ แต่ภาวะเจ็บปวดบริเวณข้อมือขณะเคลื่อนไหวอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือบางกรณีอาจสร้างปัญหากับการนอนและการทำงาน ดังนั้นหากพบอาการปวดข้อมือ อย่านิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่