เมื่อโลกโซเชียลกว้างไกลแค่ปลายนิ้ว การสื่อสาร หาข้อมูล หรือแม้กระทั่งข่าวลือข่าวจริงที่ไม่ต้องค้นคว้า ทว่าส่งผ่านกันมา ทักทายถึงบ้านกันทุกๆ วัน การออกกำลังกายก็เช่นกัน เรื่องไหนเรื่องจริงหรือเป็นแค่ความเชื่อ ต้องมาฟังคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญจะได้ไม่แชร์กันแบบผิด ๆ
ความจริง การดื่มน้ำมากๆ ก่อนออกกำลังกายทันทีอาจทำให้จุกแน่นได้ เนื่องจากน้ำยังไม่สามารถไปถึงทางเดินอาหารส่วนล่าง อย่างไรก็ตามควรดื่มน้ำประมาณ 200 – 300 cc. ก่อนออกกำลังกายประมาณ 30 นาที โดยเฉพาะหากต้องเสียเหงื่อมากระหว่างออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายหลังตื่นนอน เพราะร่างกายขาดน้ำเป็นเวลานานจากการนอนหลับ รวมถึงควรจิบน้ำทีละน้อยๆ แต่จิบบ่อยๆ ในขณะออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (dehydration) ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
ความจริง การออกกำลังกายขณะท้องว่างจะทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดลง ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ที่ย่อยได้ง่าย ก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เช่น กล้วยหอมครึ่งผล ลูกเกด หรือแครกเกอร์ชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารเตรียมพร้อมให้มีพลังงานในการออกกำลังกาย สำหรับการเผาผลาญไขมันได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาในการออกกำลังกาย หากต้องการเผาผลาญไขมันจะต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิคนาน 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งร่างกายจะดึงพลังงานทั้งจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อออกมาใช้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้สูญเสียกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายจึงควรสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเวทเทรนนิ่งควบคู่ไปด้วย
ความจริง เหงื่อออกมากขณะออกกำลังกายเกิดจากการขับน้ำเพื่อลดอุณภูมิของร่างกาย ส่วนการเผาผลาญแคลอรี่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและระยะเวลาของการออกกำลังกาย จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน การที่เหงื่อออกมากกลับทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ส่งผลให้เกิดบาดเจ็บ เป็นตะคริว หรือหากขาดน้ำมากเกินไปอาจทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือเกิดโรคลมแดด (heat stroke) ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก ดังนั้นหากมีเหงื่อออกมากขณะออกกำลังกายควรจิบน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนหรือการออกกำลังกายกลางแจ้ง
ความจริง ลักษณะการวิ่งที่มีผลเสียกับเข่าคือการวิ่งที่ก้าวยาวเกินไป (overstride) ซึ่งทำให้ปลายเท้ายื่นเกินปลายเข่า ทำให้จังหวะก้าวลงพื้นจะลงด้วยส้นเท้า เกิดแรงไปกระทำที่ข้อลูกสะบ้าเข่าสูง มีผลให้เกิดการบาดเจ็บกับลูกสะบ้า เพื่อลดการเกิดการวิ่งก้าวยาวเกินไป เราอาจจะเปลี่ยนด้วยการซอยเท้าวิ่งให้ถี่ขึ้น ควรมีจังหวะก้าว 180 ก้าวต่อนาที หรือ 3 ก้าวต่อ 1 วินาที ร่วมกับการงอลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ก็จะช่วยลดการบาดเจ็บที่ผิวข้อลูกสะบ้าเข่าได้ ดังนั้นผู้วิ่งจึงควรสังเกตวิธีการวิ่งของตัวเองว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บเข่าหรือไม่ นอกจากนี้อาการปวดเข่าอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น มีปัญหาข้อเข่าหลวม หรือบาดเจ็บบริเวณหมอนรองเข่า ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาหรือแก้ไขก่อนวิ่งอีกครั้ง
ความจริง การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง คือการบริหารกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนักที่เหมาะสม ตัวมัดกล้ามเนื้อที่ได้รับการฝึกฝนจะเกิดการบาดเจ็บในระดับเส้นใยไฟเบอร์ ร่างกายจะกระตุ้นการสร้างโปรตีน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและขนาดให้กล้ามเนื้อนั้นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยขึ้นหลังการเล่นเวทเทรนนิ่งได้ อย่างไรก็ตาม ร่างกายควรต้องพักผ่อนเพื่อให้มีเวลาฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพราะว่าหากเราออกกำลังกายซ้ำเร็วเกินไป จะทำให้ไม่เกิดการพัฒนาของกล้ามเนื้อ รวมถึงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มได้ อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการออกกำลังกายที่ต้องระวัง คือ อาการเจ็บที่มีความผิดปกติ เช่น ลงน้ำหนักไม่ได้ มีการปวดบวมบริเวณข้อต่อ งอหรือเหยียดได้ไม่สุด ซึ่งควรพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา ไม่ควรออกกำลังกายซ้ำในบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะอาจเกิดผลเสียต่อการใช้งานในอนาคต รวมถึงเพิ่มอาการบาดเจ็บให้รุนแรง และทำให้การรักษาซับซ้อนยิ่งขึ้น
ความจริง การออกกำลังกายที่มีความหนักหน่วง ร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นตัวกระตุ้นระบบอัตโนมัติของร่างกาย เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ดังนั้นจึงไม่ควรออกกำลังกายหักโหมก่อนเข้านอน แต่การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยืดเส้น ร่างกายจะหลั่งสาร เอ็นดอร์ฟิน (endorphin) จะทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และนอนหลับง่ายขึ้น หรือหากเลี่ยงไม่ได้ เราอาจจะเพิ่มระยะเวลาในการวอร์มดาวน์ หรือยืดเส้นยืดสายให้นานขึ้น หลังจากออกกำลังกายหนักๆ ก็ได้เช่นกัน
ความจริง หลังการออกกำลังกาย ร่างกายจะยังคงมีอุณหภูมิสูง และมีการระบายความร้อนของร่างกายผ่านทางรูขุมขนผิวหนัง เมื่อต้องอาบน้ำเย็นทันที ส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณผิวหนังและรูขุมขนหดตัวทันที ส่งผลเสียต่อร่างกายในการปรับอุณภูมิอย่างกะทันหัน ดังนั้นหลังออกกำลังกายทุกครั้งควรทำให้ร่างกายเย็นลง (cool down) ประมาณ 10-15 นาที ให้ระดับชีพจรและอุณหภูมิร่างกายลดลงสู่ระดับปกติ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการออกกำลังกาย
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่