โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการขาดสมาธิ ควบคุมตนเองต่ำ และซุกซน อยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ขวบ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม อาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และ ควบคุมตนเองต่ำเป็นอาการหลัก บางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 3-5% ของเด็กในวัยเรียน
ก. การขาดสมาธิ พบว่าเด็กจะ
ข. อาการซุกซน อยู่ไม่นิ่ง และควบคุมตนเองต่ำ จะมีลักษณะ ดังนี้
หากเด็กมีลักษณะในข้อ ก หรือ ข รวมกันมากกว่า 6 อาการ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น
เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น 30-40% ของเด็ก สมาธิสั้น จะพบความบกพร่องในทักษะการเรียน (learning Disorders) ร่วมด้วย
ไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาลหรือช็อคโกแลตมากเกินไป การขาดวิตามิน สีผสมอาหาร โรคภูมิแพ้ การดูทีวีหรือเล่นวีดีโอเกมมากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น
การดำเนินโรค
ประมาณ 20-30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายเมื่อเข้าวัยรุ่น เรียนหนังสือหรือทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ ดูเหมือนจะซนน้อยลง ซึ่งจะเป็นผลต่อการศึกษาต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น สมควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การรักษา ประกอบด้วย
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่