ในขณะที่การระบาดของโรค COVID – 19 ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง เราเคยรับมือกับปัญหาโรคระบาดใหญ่มาแล้วตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งแต่ละโรคมีสาเหตุ ต้นตอ ลักษณะการแพร่กระจายและความรุนแรงที่ต่างกัน
COVID-19 | SARS | MERS | EBOLA | H1N1 | |
ชื่อเรียก | โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ซึ่งมาจากการรวมกันของคำว่า corona (โคโรน่า), virus (ไวรัส) และ disease (โรค) รวมเข้ากับปีของการเริ่มต้นการแพร่ระบาดคือปี 2019 | โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe acute respiratory syndrome: SARS) | โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) | โรคอีโบลาไวรัส | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1/2009 |
เชื้อที่ทำให้เกิดโรค | SARS-CoV-2 | SARS-CoV | MERS-CoV | เชื้อไวรัสอีโบลา | ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 |
ประเทศที่พบครั้งแรก | เกิดขึ้นในประเทศจีนในเดือนธันวาคม 2562 | ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2545 ในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของประเทศจีน | มีรายงานครั้งแรกในซาอุดิอาระเบียในปี 2555 | อีโบลาถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2519 ใกล้กับแม่น้ำอีโบลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | เดือนเม.ย.2552 มีรายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก |
สัตว์ที่ก่อให้เกิดโรค | จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมในระยะแรกชี้ให้เห็นว่าเชื้อโรคนั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว , ตัวลิ่น (pangolin) | ถูกถ่ายทอดจากชะมดไปยังคน | ติดต่อจากอูฐ สู่คน | ติดต่อจากค้างคาว หรือลิง สู่คน | เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก |
ระยะฟักตัว | ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปคือภายใน 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0 ถึง 24 วัน ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั่วไปมีระยะฟักตัว 3 วัน ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยหนักจะมีระยะฟักตัวเท่ากับ 2 วันเท่านั้น |
ระยะฟักตัวของ SARS-CoV โดยเฉลี่ย 4 – 5 วัน (2 – 10 วัน) | MERS-CoV โดยเฉลี่ย 5 วัน (2 – 14 วัน) | ระยะฟักตัวหรือช่วงเวลาจากการติดเชื้อไปจนถึงอาการเริ่มตั้งแต่ 2 ถึง 21 วัน | 1-4 วัน |
การแพร่กระจายเชื้อ | แพร่กระจายจากคนสู่คน ระหว่างคนที่อยู่ใกล้ชิดกัน (ระยะห่างประมาณ 6 ฟุต) ผ่านละอองระบบทางเดินหายใจ เมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม |
หลักๆจะแพร่กระจายเชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (droplet) ถ้าใครอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตรจะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่และฝอยละอองขนาดเล็ก (เล็กกว่า 5 ไมครอน เรียกว่า aerosol) จากการไอจามรดกันโดยตรง ถ้าอยู่ห่างจากผู้ป่วย 2 เมตรขึ้นไป จะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็ก และมีหลายงานวิจัยพบว่าเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne) ได้ด้วยส่วนการแพร่เชื้อโดยการสัมผัส เช่น การจับมือกันหรือมือจับของใช้สาธารณะร่วมกัน แล้วมาแคะจมูกหรือเช็ดตาตนเองแล้วติดเชื้อ พบได้น้อยมาก |
MERS เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ ต่พบไม่บ่อยนัก มักพบในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่นให้การดูแลผู้ติดเชื้อโดยไม่ใส่เครื่องป้องกัน | ไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านทางเลือดหรือสารคัดหลั่ง จากงานวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสสามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานถึง 82 วัน นอกจากการสัมผัสโดยตรงแล้ว การสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อก็ทำให้ติดต่อกันได้ | เชื้อสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการ ไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก ขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการสัมผัสหมูหรือรับประทานเนื้อหมู |
อาการ | อาการมีได้ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิตได้แต่พบไม่บ่อยนัก แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ | ไม่มีอาการที่บ่งบอกชัดเจนในการวินิจฉัยโรคซาร์ส อาการส่วนใหญ่คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ วิงเวียนปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว ท้องเสียและ ตัวสั่น (rigors) อาจมีอาการไอแห้งในระยะแรก หายใจถี่และท้องเสียในสัปดาห์แรกและ / หรือสัปดาห์ที่สองของการเจ็บป่วย |
มีตั้งแต่ไม่มีอาการ หรืออาการระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรงจนถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงและเสียชีวิต อาการเริ่มต้นโดยทั่วไปของโรค MERS-CoV คือมีไข้ไอและหายใจถี่ ปอดบวม นอกจากนี้ยังมีอาการระบบทางเดินอาหาร เช่นท้องเสีย |
จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่จะมีไข้สูงทันที อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเจ็บคอ ในระยะที่สอง จะมีอาการ ท้องเดิน อาเจียน มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับและไตมีอาการผิดปกติเล็กน้อย ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการในระยะที่สอง จะมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งกรณีนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง เพราะตับและ ไตวาย รวมถึงอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย | น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ไข้ขึ้นสูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะโรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ |
การป้องกัน | วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา | วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา | วัคซีนทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนา | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติวัคซีนอีโบล่า rVSV-ZEBOV (ชื่อทางการค้า“ Ervebo”) ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยและป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลา สายพันธุ์ Zaire ebolavirus ได้เท่านั้น | ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ทุกปี |
การรักษา | การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย | การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย | การรักษาเป็นไปตามอาการของผู้ป่วย | วิธีการรักษาที่ทำได้ในขณะนี้ คือการรักษาแบบประคับประคองและใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน | ยาต้านไวรัสไขหวัดใหญ่ “โอเซลตามิเวียร์” สามารถรักษาโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่นี้ได้ แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นและภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น |
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่