ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ที่มีโรคประจำตัว และกินยาประจำ

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ที่มีโรคประจำตัว และกินยาประจำ

HIGHLIGHTS:

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ แต่ควรรอให้อาการต่างๆ คงที่ก่อน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ควรได้รับคำแนะนำในการรับวัคซีนจากแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคของท่านก่อนการรับวัคซีนโควิด-19
  • ผู้ที่ทานยารักษาโรค หรือ ยารักษาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำในการรับวัคซีน เช่น ขนาดของเข็มที่ใช้ฉีด และข้อควรปฏิบัติหลังการฉีด

องค์การอนามัยโลกยืนยันแล้วว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพราะแม้ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ยังสามารถมีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้ จากละอองฝอย (Droplets) จากการไอหรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง (Contact) เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาบางชนิด สามารถปฏิบัติตัวเบื้องต้นตามคำแนะนำดังนี้

ผู้ที่มีโรคประจำตัวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

โรคประจำตัว

คำแนะนำ

โรคหัวใจและหลอดเลือด

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการ หรือ อาการของโรคหัวใจยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีดวัคซีน

โรคไตเรื้อรัง ได้รับการบำบัดทดแทนไต
ฟอกไตเทียม

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีดวัคซีน

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

แนะนำรับวัคซีนหลังผ่าตัด 1 เดือน ต้องมีอาการคงที่และได้รับความเห็นชอบจากแพทย์แล้ว

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการ หรือ อาการของโรคยังไม่คงที่ แนะนำควรรอหลังหายจากอาการ 2-4 สัปดาห์

โรคมะเร็ง

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้น

  • ผู้ที่กำลังรับยาเคมีบำบัด หรือกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดโรคมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด
  • คนไข้โรคมะเร็งระบบเลือด ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ควรฉีดวัคซีนหลังการรักษาครบ 3 เดือนไปแล้ว

โรคเบาหวานและโรคอ้วน

(น้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกาย
มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่

โรคเอดส์

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งควรรักษาให้อาการคงที่ก่อน

โรคไขข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่

โรคระบบประสาทภูมิคุ้มกัน
เช่น Autoimmune encephalitis,
Multiple sclerosis, Neuromyeliti optica, Myelitis, Acute polyneuropathy, Guillain-Barre Syndrome, Chronic polyneuropathy, Myositis, Bell’s palsy, Cranial neuritis

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นเพิ่งมีอาการหรืออาการของโรคยังไม่คงที่ ควรจะรออย่างน้อย 4 สัปดาห์จนกว่าอาการจะคงที่

โรคหลอดเลือดสมอง

 (คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ยกเว้นผู้ที่อาการยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีด

โรคลมชัก

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ไม่มีข้อห้าม

โรคทางระบบประสาทอื่นๆ
เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคเซลล์
ประสาทสั่งการเสื่อมตัว โรคเส้นประสาทและ
กล้ามเนื้อที่เกิดจากพันธุกรรมหรือการเสื่อม

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้ ไม่มีข้อห้าม

ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรค หรือ ยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ยาโรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง

คำแนะนำ

ยาสเตียรอยด์

(Prednisolone 20 มิลลิกรัม เทียบเท่า Dexamethasone 3 มิลลิกรัม และ Methylprednisolone 16 มิลลิกรัม)

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

Prednisolone ขนาดน้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ สเตียรอยด์อื่นที่เทียบเท่า สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องหยุดยา

แต่ถ้ามากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออยู่ในช่วงกำลังลดปริมาณยาลง ผู้ป่วยต้องมีอาการคงที่ ถึงสามารถฉีดวัคซีนได้

ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Azathioprine, IVIG, Cyclophosphamide ชนิดกิน

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องหยุดยา

Cyclophosphamide ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน

Mycophenolate

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา Mycophenolate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน

Methotrexate

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ หากอาการคงที่ โดยแนะนำให้หยุดยา Methotrexate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีน

Hydroxychloroquine, Sulfasalazine, Leflunomide

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

ไม่ต้องปรับเปลี่ยนการรับยาหรือเลื่อนการฉีดวัคซีน

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

 

สามารถฉีดได้ ในผู้ป่วยที่มีค่า INR น้อยกว่า 4 โดยใช้เข็มขนาด 25G หรือ 27G และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก

ยาป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เช่น Fondaparinux

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ โดยฉีดก่อนยาชนิดนี้

ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่หรือ NOAC (Non-Vitamin K Antagonist Oral Anticoagulants) เช่น Dabigatran ,Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban

 (คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็ม 25G หรือเล็กกว่าและไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก

ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel, Colostazol, Ticagrelor หรือ prasugrel

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็ม 25G หรือเล็กกว่าและไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จควรกดตรงที่ฉีดอย่างน้อย 2-5 นาทีจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก

ยาแอนติบอดี (ยาที่ลงท้ายด้วย -mab)

(คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิง)

ยา Rituximab : แนะนำฉีดวัคซีน ก่อนเริ่มยาครั้งแรก 14 วัน หรือหลังรับยาไปแล้ว 1 เดือน

ยา Omalizumab, Benralizumab, Dupilumab แนะนำฉีดวัคซีนก่อนหรือหลังรับยา 7 วัน

References:

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?