กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยสถิติในเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ว่า มีคนไทยเพียง 2% ที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และมีถึง 59% ที่คิดว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพประจำปี
หัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดี เพียงแค่กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้แจ่มใสอย่างที่เคยบอกต่อๆ กันมา อาจไม่พอ เพราะหลายครั้งที่เราคิดว่าเรามีไลฟ์สไตล์ที่ดี ดูแลสุขภาพอย่างดี แต่โรคต่างๆ อาจจะกำลังเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้บอกให้เรารู้ ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพแย่ลง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ นอนดึก ไม่ชอบออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน ชอบอาหารรสจัด ชอบอาหารปิ้งย่างหรือทอด ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้
อันที่จริง “การตรวจสุขภาพ” คือ พื้นฐานการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นานๆ แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจว่า เราต้องตรวจอะไร ตรวจเมื่อไหร่ ตรวจแล้วดีอย่างไร เพราะถ้าเปรียบร่างกายเป็นรถยนต์ การตรวจสุขภาพก็เสมือนการตรวจสภาพเครื่องยนต์ทุกปี แต่การเข้าอู่ซ่อมรถนั้น ถ้าเราไม่ทราบว่าตรงไหนที่เริ่มใช้การไม่ได้ เพื่อจะได้ซ่อมตรงจุด เราก็เหมือนคนขับรถที่ดีแต่ขับอย่างเดียว
นอกจากนี้เรื่องของสุขภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเราเอง แต่ยังโยงหรือส่งผลกระทบไปถึงคนรอบตัวเรา เช่น คนรัก พ่อแม่ ลูก รวมไปถึงหน้าที่การงาน ดังนั้นการตรวจสุขภาพ จึงเสมือนการรับผิดชอบต่อตัวเองเพื่อไม่ให้คนรอบข้างต้องกังวล และนับเป็นความโชคดีของคนไทย ที่มีโรงพยาบาลที่มีคุณภาพหลายแห่งได้รับการยอมรับในระดับสากลตามมาตรฐาน JCI หรือ Joint Commission International โดยนำเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยในยุคดิจิตัล พร้อมการตรวจที่ให้ผลที่ไวและแม่นยำกว่าแต่ก่อน
ปกติเราทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้งหากไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะทุกวันนี้ปัจจัยภายนอกต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทีละน้อยโดยที่เราไม่อาจทราบได้ เช่น มลภาวะฝุ่น PM 2.5 ควันพิษจากท่อไอเสีย สารเคมีและสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในผักและผลไม้ โรคระบาด เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคโควิด-19 (Covid-19) และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในตัวบุคคลเอง เช่น โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมไปถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น การออกกำลังกายน้อยลง ทานอาหารเก่งขึ้น สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มีความเครียดสะสมมากขึ้น พักผ่อนน้อย ดังนั้น การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพ คือ การป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี ที่จะสามารถทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ก่อนที่จะลุกลามจนยากเกินรักษา
การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจเพื่อส่งเสริมสุขภาพในทุกเพศวัย เพื่อรู้ทันความผิดปกติก่อนที่จะเกิดโรค นำไปสู่การป้องกันและวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที โดยมีตัวอย่างตามช่วงวัยดังนี้
การตรวจที่แนะนำ |
18-29 ปี
|
30-39 ปี
|
40-49 ปี
|
50-59 ปี
|
มากกว่า 60 ปี
|
---|---|---|---|---|---|
การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb) |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19 |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 |
|
|
●
|
●
|
●
|
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่ขณะออกแรงและช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง) |
|
|
●
|
●
|
●
|
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจพิการ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ, โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร) |
|
|
●
|
●
|
●
|
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9) |
|
|
|
●
|
●
|
สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125) ในสตรี |
|
|
|
●
|
●
|
สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ |
|
|
|
●
|
●
|
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี(HPV) |
●
|
●
|
●
|
●
|
●
|
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป |
|
|
●
|
●
|
●
|
Fibroscan เทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่รู้สึกเจ็บ ตรวจซ้ำได้บ่อย โดยไม่มีผลข้างเคียง |
|
●
|
●
|
●
|
●
|
Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Common Carotid Artery) ที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน |
|
|
●
|
●
|
●
|
การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ |
|
|
45 ปี
ขึ้นไป สามารถ ตรวจได้ |
●
|
●
|
กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่องดการตรวจเอกซเรย์ และการทำ Fibroscan
การตรวจสุขภาพประจำปีไม่ได้เป็นเพียงการตรวจหาโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางการเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง เราจะทำให้เห็นจุดที่อาจจะบกพร่องในอนาคต หรือจุดที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหากไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้บางคนอาจไม่รู้ว่าตนเองมีโรคที่ถูกส่งต่อผ่านพันธุกรรมหรือไม่ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นการวางแผนสุขภาพในอนาคต หากพบเจอความเสี่ยง สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกัน ดูแลและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเพิ่มขึ้นได้
แม้การลงทุนด้านสุขภาพจะเห็นผลช้า หรือยังไม่เห็นผล แต่ก็คุ้มค่าที่จะลงทุน ไม่ต้องมาบ่นทีหลังว่า “รู้แบบนี้ ถ้าตรวจสุขภาพประจำปี ก็คงไม่ต้องมารักษาโรค เมื่อสายไปแล้ว”
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่