- ยาป้องกัน ซึ่งต้องรับประทานทุกวัน ซึ่งได้แก่กลุ่ม ยาควบคุมความดันโลหิต ยากันชักบางชนิด ยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณาจากผลตรวจร่างกายของผู้ป่วย
- การฉีดโบท็อกซ์ แพทย์มักใช้รักษาในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนอย่างน้อย 14 วันต่อเดือนขึ้นไป ร่วมกับการรับประทานยา การฉีดโบท็อกซ์ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และยับยั้งปลายประสาท ที่ส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง เพื่อลดอาการปวดศีรษะรุนแรงได้เป็นอย่างดี และมีผลข้างเคียงน้อยมาก
- การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation-TMS) ได้รับการรับรองขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการรักษาที่ไม่ต้องดมยาสลบและไม่เจ็บปวด สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ30-60 นาที สามารถทำต่อเนื่องติดต่อกันได้
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การทำสมาธิ
แม้ไมเกรนจะเป็นภาวะการปวดศีรษะเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงภาวะที่เป็นตัวกระตุ้น การปวดศีรษะดังที่กล่าวมา รวมถึงการป้องกัน เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามลดความเครียด
เมื่อเริ่มมีอาการของไมเกรนควรอยู่ในห้องที่เงียบและมืด หลับตาและพักผ่อนหรือนอนหลับ ร่วมกับการประคบเย็นบริเวณต้นคอ พร้อมกับนวดบริเวณที่ปวดก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
ทั้งนี้หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง รวมถึงมีอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มองเห็นภาพซ้อน พูดลำบาก ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง