PRP คือ เกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง ที่สกัดออกมาจากเลือดของตัวเอง เพื่อนำไปฉีดรักษาความเสื่อม อาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงหรือมีการบาดเจ็บบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อรอบโครงสร้าง ผิวข้อกระดูก หมอนรองกระดูก เส้นเอ็น ที่มีความเสื่อมยังไม่มาก เพื่อกระตุ้นการหายของแผล ช่วยซ่อมแซมเซลล์ ฟื้นฟูสภาพให้กลับไปใช้งานได้ใกล้เคียงปกติ การฉีด PRP สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ส่งเสริมการรักษาและช่วยชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
การฉีด PRP นั้นสามารถฉีดได้กับทุกส่วน ไม่ว่าจะฉีดในบริเวณใด เช่น กล้ามเนื้อที่มีการฉีกขาด บริเวณข้อต่อ กระดูกต่าง ๆ ฉีดรอบ ๆ เส้นเอ็นหรือแม้กระทั่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อก็สามารถทำได้ เพราะไม่มีอันตรายที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เนื่องจาก Platelet-Rich Plasma คือ Autologous Rejection หรือเลือดของตัวผู้ป่วยเอง
กลไกการทำงานของ PRP หรือ Platelet-Rich Plasma คือ กระตุ้นให้ร่างกายมีอาการอักเสบในบริเวณที่ทำการฉีดอาจจะมีอาการอักเสบ ปวดตึง เพราะฉะนั้นในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังฉีด จะเป็นเหมือนการอักเสบทั่วไปซึ่งมีวิธีการดูแล ดังนี้
จำนวนครั้งในการรักษาด้วยการฉีด PRP นั้น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น การฉีดเพื่อรักษาความเสื่อม การบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อ การฉีกขาดในข้อเข่าหรือหมอนรองกระดูก ผิวข้อสึก เอ็นเข่าฉีก โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงหรืออาการอักเสบมาก สามารถฉีดได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้พักและสภาวะของร่างกายกลับมาอยู่ในระดับปกติแล้ว จึงทำการฉีดกระตุ้นใหม่อีกครั้ง การฉีดโดยทิ้งระยะห่างน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบมาก รู้สึกปวดบริเวณที่ฉีดมากขึ้นได้
ดังนั้น PRP จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาอาการเสื่อม อาการบาดเจ็บ การฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ เพื่อให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น และกลับมาใกล้เคียงสภาวะปกติ โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด เป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษา แต่มีข้อจำกัด คือ ข้อต้องไม่มีการผิดรูปมากและไม่มีการเสียดสีจนทำให้ PRP ที่ฉีดเข้าไปนั้นถูกรบกวนจนไม่เกิดประโยชน์จากการฉีด PRP
ผลการรักษาอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นปัจจัยที่มีผล คือสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ที่มารับการรักษา ว่ามีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ การซ่อมแซมโดยธรรมชาติของตัวเองหรือภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยและการทำงานของเม็ดเลือดขาวดีหรือไม่ ถ้าระบบภูมิต้านทานในร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี จะทำให้กลไกการซ่อมแซมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เห็นผลได้รวดเร็ว แต่ถ้าผู้ที่รับการรักษามีโรคประจำตัว เช่น โรค SLE รับประทานสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน ผลลัพธ์และประสิทธิภาพการรักษาก็อาจจะลดลง
โดยส่วนใหญ่ PRP จะช่วยเข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซมตนเอง จึงไม่สามารถบอกได้ว่าผลการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใดแต่จะสามารถช่วยปรับสมดุลและช่วยซ่อมแซมในส่วนที่มีปัญหาได้ กระตุ้นให้มีการฟื้นฟูสภาพของร่างกาย หากรักษาแล้วอาการดีขึ้นไม่จำเป็นต้องกลับมาฉีด PRP ซ้ำ แต่ถ้ายังมีอาการปวดก็สามารถกลับมาทำการฉีด PRP เพื่อกระตุ้มการซ่อมแซมได้อีก
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่