ปัจจุบัน พบผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้นทั้งในและและต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งภาวะโรคอ้วนนี้มีความอันตรายและนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ข้อเข่าเสื่อม กรดไหลย้อน ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางนรีเวช ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโรคหลอดเลือดสมอง
อันที่จริงแล้ว มีคนจำนวนมากที่ลดน้ำหนักแล้วประสบความสำเร็จ แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ว่าจะพยายามอย่างไร ก็ "ลดน้ำหนัก" ไม่ลงสักที รู้หรือไม่ว่า ปัญหาการลดน้ำหนักไม่ลงหรือภาวะความอ้วนเป็นปัญหาที่มีสาเหตุร่วมจากหลายปัจจัย หลายครั้งนั้นมีสาเหตุมาจากการมีระดับ “ฮอร์โมน” ไม่สมดุล และบ่อยครั้งก็เกิดจาก "พันธุกรรม" โดยมียีนและโครโมโซมเป็นตัวกำหนด
ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นค่าที่ใช้ชี้วัดว่าร่างกายมีความสมดุลกันของน้ำหนักตัวเทียบกับส่วนสูงหรือไม่ โดยสามารถใช้เป็นเกณฑ์คัดกรองได้ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ดังนี้
BMI มาตรฐานสากล (ยุโรป) | BMI มาตรฐานอาเซียน (เอเชีย) | การแปลผล |
< 18.5 | < 18.5 | น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน |
18.5-24.9 | 18.5-22.9 | ปกติ |
25-29.9 | 23-24.9 | อ้วนระดับ 1 |
30-34.9 | 25-29.9 | อ้วนระดับ 2 |
35-39.9 | มากกว่าหรือเท่ากับ 30 | อ้วนระดับ 3 |
มากกว่าหรือเท่ากับ 40 | - | อ้วนระดับ 4 |
นอกจากปัจจัยด้านการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย อายุ รวมไปถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีผลกับภาวะน้ำหนักเกินและการลดน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วปัจจุบันพบว่ายังมีปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ส่งผลให้การลดน้ำหนักนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
สาเหตุดังกล่าวข้างต้นนั้น นอกจากต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้ชำนาญการแล้ว การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นและขาดไม่ได้เช่นกัน
การรักษาภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี หากผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนนั้นเกิดมาจากโรคอื่นๆ แพทย์จะแนะนำให้รักษาที่โรคนั้นๆ ก่อน แต่หากมีภาวะอ้วนจากเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถให้การรักษาได้ ดังนี้
จะเห็นได้ว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักนั้น เราควรเข้าใจร่างกายของเราจากภายในก่อนว่า สาเหตุของภาวะโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุใด บางครั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถตอบโจทย์การลดน้ำหนักได้ในคนบางกลุ่ม และอาจนำไปสู่การถอดใจและล้มเลิกกลางคันได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลร่างกายและจิตใจ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม การดื่มน้ำและการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด ก็ยังคงเป็นหัวใจหลักของการดูแลสุขภาพที่ดี ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายการควบคุมน้ำหนักได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในปัจจุบัน มีการตรวจร่างกายโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนทั้งการตรวจลึกถึงระดับยีนเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและการตรวจเพื่อดูความสมดุลของร่างกายแบบองค์รวม โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและนักโภชนาการที่คอยเป็นเสมือนโค้ชด้านสุขภาพให้คุณ คลิก
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่