ไขมันในเลือดสูง หรือ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) คือภาวะที่มี ระดับไขมันไม่ดี (LDL) สูง ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง หรือระดับไขมันดี (HDL) ต่ำ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดผิดปกติถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการก่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นต้น
โดยปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนต่าง ๆ แต่หากมีการรับประทานไขมันจากอาหารมากเกินไป มีโรคทางพันธุกรรม มีการใช้ยาหรือสารต่าง ๆ ที่ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้
ไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหาร ก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่าง ๆ ดังนี้
ค่าไขมันในเลือดที่ปกติมีความแตกต่างไปตามอายุและเพศ โดยทั่วไปแล้วในผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี ควรมีค่า
ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์ การมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส HIV เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไขมันในเลือดสูง เช่น การมีประวัติไขมันสูงในครอบครัว มีภาวะอ้วน การกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นต้น
หากปล่อยให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่าง ๆ ดังนี้
โดยทั่วไปในระยะแรกมักไม่มีอาการใด ๆ แต่ภาวะไขมันในเลือดสูงมักมีอาการเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาการของภาวะหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ อาการเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก จากภาวะขาดเลือด เป็นต้น
ในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ อาจมีอาการแสดงเช่น ไขมันบนผิวหนัง (xanthomas) โดยเฉพาะบริเวณหางตา หรือวงไขมันรอบกระจกตา (corneal arcus)
ภาวะไขมันในเลือดสูงมักสัมพันธ์กับโรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจึงควรตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็อาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดได้เช่นเดียวกัน
เมื่อตรวจพบภาวะไขมันในเลือดสูง หากระดับไม่สูงมาก แพทย์อาจแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนม เบเกอรีต่าง ๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก
แต่หากปริมาณไขมันในเลือดสูงมาก หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมันเพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือด
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่