“You Are What You Eat” เชื่อว่าทุกๆ คนคงเคยได้ยินประโยคสุดคลาสสิกคนี้ ที่เอาไว้เตือนใจให้หันกลับมาใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น เพราะอาหารที่เราเลือกรับประทานในแต่ละวันนั้นมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพองค์รวมอย่างคาดไม่ถึง นอกจากจะเป็นขุมพลังงานให้กับร่างกายได้ไปทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้ว อาหารยังเปรียบเสมือนยาที่มีส่วนช่วยดูแลรักษาอวัยวะต่างๆ ของเราให้มีสุขภาพที่ดีได้เหมือนกัน
ยิ่งไปกว่านั้น อาหารจะยิ่งมีส่วนสำคัญมากขึ้น หากบุคคลนั้นมีโรคประจำตัวเรื้อรังที่จะต้องดูแล ดังนั้น โภชนาการที่ดีก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูร่างกาย ชะลอความเสื่อมของอวัยวะภายใน และรักษาป้องกันไม่ให้อาการของโรคแย่ลงได้ แต่ในทางกลับกัน หากตามใจปากมากเกินไป เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการหรือไม่เหมาะกับโรคประจำตัวที่เราเป็นอยู่ ก็อาจทำให้อาการของโรคที่เป็นนั้นมากขึ้นและบั่นทอนสุขภาพให้แย่ลงได้
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังเรื่องชนิดของอาหารที่มีคุณภาพ และควบคุมปริมาณการรับประทานให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ร่างกายรับน้ำตาลในปริมาณสูงเกินไป โดยเน้นไปที่อาหารที่ไม่หวานและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เช่น คาร์โบไฮเดรตที่ดีและมีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำ อาหารที่มีใยอาหารสูงเพื่อช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ผักสด โปรตีนที่มีคุณภาพ ผลไม้ไม่หวานจัด โดยคำนวณปริมาณน้ำตาลจากผลไม้ให้พอเหมาะ
หากต้องการเติมความหวานบ้าง แนะนำให้ใช้น้ำตาลเทียมในปริมาณที่พอเหมาะเพราะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งขัดขาว อาหารที่มีน้ำตาลเยอะ หรือมีรสชาติหวานจัด ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมและครบ 5 หมู่อย่างสมดุล ไม่ควรงดหรือจำกัดอาหารประเภทข้าว/แป้งมากจนเกินไป หรืออดอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ปริมาณเกลือและชนิดของไขมันมีส่วนสำคัญต่อโรคมาก เพราะส่งผลต่อระบบเลือดทั้งระบบ ดังนั้น นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารเค็มโดยไม่ควรรับประทานเกลือมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวันแล้ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ ทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและ trans fat สูง
เนื่องจากจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทำให้อาการของโรคหัวใจแย่ลงได้ แต่หากต้องการรับประทาน สมาคมโรคหัวใจประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 6% ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงควรปรุงอาหารโดยการต้ม นึ่ง อบ หรือผัดได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการทอดจะดีที่สุด
หัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคไต คือ การลดเค็ม จึงต้องมีการจำกัดการรับโซเดียมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนั้นแล้ว โรคไตยังมีความเฉพาะเจาะจงของการกำหนดสารอาหารในการรับประทานต่อวัน เช่น โปรตีน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแร่ธาตุต่างๆ ตามระยะของโรคที่เป็นมากกว่าโรคทั่วไป
ดังนั้น การควบคุมอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีไตเสื่อมอยู่ในระยะ 3 เป็นต้นไปแล้วก็ตาม จะช่วยดูแลและชะลอความเสื่อมของไตได้
อาหารที่คนเป็นโรคไตห้ามรับประทานมีอะไรบ้าง หลักการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต มีดังนี้
*อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรคไตนั้นมีความจำเพาะของโรคมาก ดังนั้น หากท่านอยากทราบสารอาหารที่เหมาะสมกับระยะของโรคไตที่ท่านกำลังเป็นอยู่ แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคไตโดยตรงจะดีที่สุด
สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยแนะนำว่าให้ใช้หลักการ Plate Method นั่นก็คือ การแบ่งอาหารในจานเป็นส่วนๆ
แนะนำให้ปรุงอาหารโดยใช้วิธีการต้ม นึ่ง ตุ๋น อบ หรือผัดโดยใช้น้ำมันที่ประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนล่า หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการทอด หากเลี่ยงไม่ได้หรืออยากรับประทานจริงๆ แนะนำให้ใช้น้ำมันรำข้าวในการทอดแทนน้ำมันปาล์มที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว
หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป (processed meat) เช่น ไส้กรอก เบคอน โบโลน่า แหนม หมูยอ หากมีอาการโหยหรืออยากเคี้ยวของจุบจิบระหว่างวัน สามารถรับประทานถั่วเป็นอาหารว่างได้ เช่น ถั่วอัลมอนด์ ถั่วพิสตาชิโอ โดยรับประทานได้วันละประมาณ 1 ฝ่ามือ แบ่งทาน 1-2 ครั้ง ไม่ควรรับประทานมากกว่านี้ เพราะถึงแม้ว่าถั่วจะประกอบไปด้วยไขมันดีแต่ก็ให้พลังงานสูง หากรับประทานในปริมาณมากเกินกว่าที่แนะนำก็อาจทำให้อ้วนได้
โดยทั่วไปแล้ว การดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้น นอกจากการใส่ใจในเรื่องของอาหารที่เป็นประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ ยังต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ข้อแนะนำเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งในคนที่มีสุขภาพดีไม่มีโรคประจำตัว และจะยิ่งดีมากขึ้นหากทำในคนที่มีโรคประจำตัว เพราะอย่างที่บอกไว้ว่า อาหารสามารถเป็นยาได้ หากรับประทานอาหารที่เหมาะกับตัวเอง ก็จะยิ่งทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่ทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีโรคประจำตัวมักต้องการการดูแลด้านอาหารที่ละเอียดอ่อนและพิเศษกว่าบุคคลทั่วไป เพราะด้วยตัวโรคทำให้อวัยวะภายในบางส่วนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงต้องมีความเข้าใจและใส่ใจในพฤติกรรมการเลือกและจัดเตรียมอาหารมากเป็นพิเศษ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันการกำเริบของโรค และได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เมื่อใส่ใจดูแลเรื่องอาหารที่รับประทานแล้ว อย่าลืมออกกำลังกายเบาๆ อย่างพอเหมาะ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างสุขภาพองค์รวมให้แข็งแรง
หากสนใจเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะกับโรคและถูกหลักโภชนาการ ทาง “อิ่ม by BDMS” มีเมนูอาหารแสนอร่อย ที่ถูกปรุงอย่างพิถีพิพันและคิดค้นอย่างใส่ใจโดยแพทย์และนักโภชนาการ จึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานอาหารที่ทั้งอร่อยและดีแต่สุขภาพอย่างแน่นอน หากสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่