- เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดอ่อนแอ เมื่อรับเชื้อ SARS-CoV-2 เข้าไป อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปอดอักเสบรุนแรง และระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
- ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี มีข้อมูลระบุว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคอ้วน และโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เบาหวานเรื้อรัง มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงจากเชื้อ SARS-CoV-2 มากกว่ากลุ่มอื่น
- รับวัคซีนตามช่วงอายุ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) หรือวัคซีนป้องกันเชื้อปอดอักเสบ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากเชื้อ SARS-CoV-2 จะสามารถมีการติดเชื้อไวรัสและ/หรือแบคทีเรียตัวอื่นแทรกซ้อนด้วย ซึ่งอาจส่งเสริมให้อาการปอดอักเสบของผู้ป่วยทรุดหนักลงกว่าเดิม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปรุงสุกใหม่ สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ รับประทานผัก ผลไม้หลากสีซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการบริโภคน้ำตาล ไขมัน อาหารแปรรูปและเนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาจปรึกษาแพทย์ เพื่อรับวิตามินหรืออาหารเสริม
- ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน เดินหรือนั่งแกว่งแขน ถีบจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ (ถ้ามีสระว่ายน้ำที่บ้าน) แอร์โรบิคแบบที่ไม่มีการกระโดดหรือกระแทกที่ข้อต่อ โยคะ รำไทเก๊ก ฯลฯ ภายในบ้านหรือบริเวณบ้านที่มีอากาศถ่ายเท ทุกวัน วันละ 30 – 60 นาที
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
- ลดความเครียด ด้วยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย และสนุกสนาน เพราะความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายอ่อนแอ
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นโรคที่มีความรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงการระบาดของโรคก็เป็นไปอย่างแพร่กระจายและรวดเร็วไปทั่วโลก และยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงในเร็ววัน ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน คือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัส ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการไม่พาผู้สูงอายุออกไปในพื้นที่เสี่ยงรับเชื้อไวรัส และไม่นำเชื้อไวรัสจากนอกบ้านเข้ามาสู่ในบ้าน