อาการไอเรื้อรังในเด็ก อาจส่งผลรบกวนไปถึงการนอน รบกวนคนรอบข้างและการใช้ชีวิตประจำวัน การไอติดต่อกันยาวทั้งวัน แม้กระทั่งในเวลานอนหลับก็ยังไอ จะสร้างความวิตกกังวลให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ว่าอาการไอนั้นเกิดความผิดปกติที่ปอดหรือไม่
สาเหตุของอาการไอเรื้อรังสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ปกติเวลามีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เด็กสามารถมีอาการไอตามหลังการติดเชื้อได้หลายสัปดาห์ หลังจากนั้นเมื่อหายสนิทก็จะหยุดไอภายในหนึ่งเดือน แต่ถ้าไอเรื้อรัง นานกว่าหนึ่งเดือน พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้อง เช่น หากกุมารแพทย์ตรวจพบว่ามีไซนัสอักเสบก็จะสั่งยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก ยาลดอาการจมูกบวม และให้เด็กหมั่นล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ส่วนเด็กที่เป็นโรคหืด กุมารแพทย์จะให้ยาสูดควบคุมอาการอักเสบของหลอดลม และ ยาสูดขยายหลอดลม
การตรวจวินิจฉัยอาการไอเรื้อรังในเด็ก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด เพื่อเล่าให้แพทย์ฟัง ว่าลูกเริ่มไอตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการไอนี้เกิดขึ้นนานแค่ไหน ลักษณะของการไอเป็นไอแบบแห้งหรือไอเปียก โดยเฉพาะช่วงเวลา สถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการไอ
รวมถึงเล่าประวัติโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคติดต่ออย่างวัณโรคในครอบครัว มีคนในบ้านสูบบุหรี่ หรืออาศัยอยู่ในโรงงาน หรือแหล่งสารเคมีใดๆ หรือไม่ เพื่อแพทย์จะใช้ข้อมูลประกอบการตรวจร่างกายทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง
หากประวัติและการตรวจร่างกายยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ จำเป็นต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจน้ำมูก/เสมหะ ตรวจหัวใจและหลอดเลือด เอกซเรย์ระบบทางเดินหายใจ ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
การรักษาอาการไอเรื้อรัง จำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการไอ ซึ่งหลังจากซักประวัติและตรวจอย่างละเอียด แพทย์จะทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ไอ ให้การการรักษาอย่างตรงจุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้อาการไอเรื้อรังนั้นหมดไป การดูแลอาการประคับประคอง โดยปกติจะหายภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง)
การที่น้ำมูกและเสมหะไหลลงหลอดลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไอ ดังนั้นควรล้างจมูกเพื่อไม่ให้มีน้ำมูกตกค้างในโพรงจมูกจะได้ไม่กระตุ้นอาการไอ นอกจากนั้นควรใช้ยาควบคุมอาการอย่างสม่ำเสมอ รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพื่อไม่ให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก
ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งตัวเด็กจะบอกตรงกันว่าสบายขึ้นและโล่งจมูก นอนได้ดีขึ้น ไม่ไอ รับประทานนมและอาหารได้ สำหรับเด็กเล็ก การดูดน้ำมูกต้องทำด้วยความนุ่มนวลและจับหน้าให้นิ่ง เด็กโตไม่จำเป็นต้องสั่งน้ำมูกรุนแรง แต่ให้อ้าปาก สั่งน้ำมูกเบาๆ สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าล้างจมูกแล้วไม่มีน้ำมูกออกมา น้ำเกลือที่ใช้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสารในร่างกาย จึงไม่มีอันตราย ถ้ากลืนลงคอไปบ้างก็ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกัน
หากเด็กมีอาการไอติดต่อกัน ไอแม้ในขณะนอน รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด อย่าปล่อยเรื้อรังไว้นาน เด็กจะได้เรียนรู้และพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่