โดยปกติแล้วสมองของมนุษย์จะมีเส้นเลือดไปเลี้ยงเพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง ภาวะเลือดออกในสมองคือภาวะที่เส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการฉีกขาด รั่ว ซึม ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และเลือดที่รั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ยังสามารถกดเบียดเนื้อสมอง ทำให้สมองขาดเลือดเพิ่มเติมจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้
เลือดออกในสมองสามารถแบ่งเป็นการที่มีเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะและชนิดที่เลือดออกในเนื้อสมองโดยตรง
|
เลือดออกในสมองอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 5 ปี ที่ 26.7% การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ความรุนแรงของการตกเลือดและอาการบวม
ความรุนแรงของภาวะเลือดออกในสมองขึ้นอยู่กับสาเหตุ ชนิด ขนาด ตำแหน่ง และระยะเวลาตั้งแต่เลือดออกจนได้รับการรักษา ภาวะเลือดออกในสมองสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากเลือดที่ออกกดสมองส่วนสำคัญ เช่น ส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการหายใจ นอกจากนี้ภาวะเลือดออกในสมองจะทำให้เนื้อสมองขาดออกซิเจน เกิดภาวะเซลล์สมองตายและเกิดความเสียหายอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม หากสามารถวินิจฉัยได้รวดเร็ว แพทย์อาจสามารถทำการรักษาเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมองและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้
เป็นต้น
ภาวะเลือดออกในสมอง เกิดจากเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการฉีกขาด รั่ว ซึม ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก
หากสงสัยภาวะเลือดออกในสมอง แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย และส่งตรวจภาพทางรังสีเพิ่มเติม เช่นการทำ Computed tomography (CT) scan, Magnetic resonance imaging (MRI) หรือ Magnetic resonance angiogram (MRA) นอกจากนี้ยังมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุและความเสี่ยง เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด การเจาะน้ำไขสันหลัง การตรวจหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ผู้ป่วยที่มีประวัติอุบัติเหตุหรือการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะ ล้มหัวฟาดพื้น หรือมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหัวรุนแรงฉับพลัน ชา อ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดฉับพลัน หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษาประกอบด้วยการรักษาโดยการผ่าตัดและการรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ภาวะเลือดออกในสมองนับเป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมองจะแนะนำความเสี่ยงระหว่างการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เทียบกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการผ่าตัด
หลังการรักษาทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ขึ้นอยู่กับอาการ ตำแหน่งของโรค ความรุนแรงของโรค โดยอาจมีการปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อฝึกเดิน ฝึกเคลื่อนไหว ฝึกการกลืน ฝึกพูด การปรึกษานักอาชีวบำบัดเพื่อการกลับไปทำงานหลังการพักฟื้น รวมถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในสมองซ้ำ
การลดความเสี่ยงของภาวะเลือดออกในสมองสามารถทำได้โดย
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่