โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก

HIGHLIGHTS:

  • หากมีอาการข้างต้นให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และแยกเด็กออกมา พักฟื้นจนกว่าจะหายเป็นปกติ

โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease : HFMD) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อยด้วยกัน ส่วนใหญ่เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีโอกาสได้รับเชื้อได้บ่อย สำหรับในประเทศไทยเกิดโรคประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้ แต่มีน้อยรายมากที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อาการของโรคมือ เท้า ปาก

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม ทานอาหารได้น้อยลง เมื่อตรวจดูภายในช่องปากพบตุ่มนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้น เหงือก มีผื่นขึ้นที่มือและเท้า ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มน้ำสีขุ่นตามมา มักฝ่อแห้งไปเองโดยไม่เหลือรอย อาการทั้งหมดสามารถทุเลาและหายได้เองภายใน 7-10 วัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือ เท้า ปาก ที่อาจทำให้เสียชีวิต

แม้ว่าโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่สามารถทุเลาและหายเองได้ แต่ในบางกรณีที่เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง อาจพบมีผู้ติดเชื้อเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงระบบประสาท อาทิ อาการกินลำบาก (Dysphagia) แขนขาอ่อนแรง (Limb weakness) เยื่อหุ้มประสาทอักเสบ (Meningitis) เนื้อสมองอักเสบ (Encephalitis) หรือทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ อันเป็นสาเหตุให้หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด สำหรับประเทศไทยมีรายการผู้เสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก เพียงปีละ 1-2 รายเท่านั้น

การติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสเชื้อไวรัสที่ออกมาทางอุจจาระ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบริเวณผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น้ำดื่ม ของเล่น หรือพฤติกรรมการดูดนิ้วมือของเด็กๆ ก็สามารถรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ หากเด็กอยู่ในสถานที่ที่มีเด็กเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ยิ่งเพิ่มโอกาสการรับเชื้อให้สูงขึ้น

การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ดังนั้นการป้องกันโรคจึงเห็นหนทางที่ดีที่สุด โดยยึดหลักการรักษาสุขอนามัย ดังนี้  

  1. ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนหลังรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย
  2. ตัดเล็บให้สั้น หมั่นรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ
  3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ แปรงสีฟัน
  4. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่นและสถานที่อยู่เสมอ
  5. ผู้ปกครอง ควรแนะนำสุขอนามัยส่วนบุคคลแก่บุตรหลาน และผู้ดูแลเด็ก
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
  7. สังเกตอาการผิดปกติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากพบอาการป่วยที่สงสัยโรคมือเท้า ปาก ให้รีบพาไปพบแพทย์
  8. สำหรับท่านที่จะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กไปต่างประเทศที่มีการระบาดสามารถเดินทางได้ตามปกติ แต่ควรระมัดระงวังให้มากขึ้น

การดูแลผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก เบื้องต้น

ควรแยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หลังพามาพบแพทย์แนะนำให้เด็กอยู่บ้านพักรักษาตัวอย่างน้อย 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้พ่อแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติร่วมด้วย หากมีอาการสงสัยว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ซึม อาเจียน ชัก เป็นต้น ต้องรีบพามารักษาที่โรงพยาบาลในทันที

นอกจากนี้ไม่พาเด็กไปอยู่ในสถานที่แออัด โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรค สวมผ้าปิดจมูกและปากป้องกันการไอจามรดผู้อื่น และผู้ปกครองยังคงต้องหมั่นดูแลรักษาสุขอนามัยแก่เด็กเช่นเดิม

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

For Medical Inquiry

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถาม*
คำถาม*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?