อาการเวียนศีรษะ / บ้านหมุน (Vertigo) นั้นไม่ได้จัดว่าเป็นโรค แต่เป็นเพียงกลุ่มอาการเท่านั้น โดยพบได้บ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักมีลักษณะกลุ่มอาการต่างๆ เกิดขึ้น ดังนี้
1. โรคของหูชั้นใน ที่พบได้บ่อย เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo) โรคเส้นประสาทหูอักเสบ (Vestibular Neuronitis) ส่วนโรคของหูชั้นในที่อาจพบได้ไม่บ่อย เช่น โรคประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) การสูญเสียการได้ยินจากการนำเสียง หรือมีกระดูกงอกใหม่ที่ฐานกระดูกโกลน (Superior canal dehiscence) เนื้องอกในประสาทหูชั้นใน (Acoustic Neuroma)
2. โรคของสมอง อาการเวียนศีรษะที่เกิดจากโรคของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหลังหรือสมองน้อย (Cerebellum) และก้านสมอง (Brain Stem) เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รวมถึงโรคสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) โรคปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีอาการวิงเวียนร่วมด้วย (Vestibular Migraine) เนื้องอกในสมองโดยเฉพาะส่วนที่ฐานกะโหลกศีรษะและสมองน้อย โรคปลอกประสาทส่วนกลางอักเสบ (Multiple Sclerosis) ภาวะความเสื่อมของสมอง (Parkinson’s Disease/Cerebellar Ataxia) ภาวะติดเชื้อในสมองส่วนกลาง
3. ภาวะเจ็บป่วยทางกายที่สัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะ มักจะมีอาการไม่รุนแรงนัก ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการมึนงง (Dizziness) รู้สึกโคลงเคลง อ่อนเพลีย มักไม่ค่อยมีอาการเวียนศีรษะ / บ้านหมุน ได้แก่
กลุ่มอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุนนั้น หากมีอาการทางด้านอื่นๆ เหล่านี้ร่วมด้วย ก็มีความจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอย่างเหมาะสมและวินิจฉัยแยกโรคให้ทราบถึงสาเหตุที่สำคัญโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาการร่วมเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคของสมอง ที่อาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่ความพิการหรือทุพพลภาพได้ในที่สุด
ความสำคัญของการดูแลภาวะเวียนศีรษะ (Vertigo) รวมถึงภาวะมึนงง (Dizziness) คือ การวินิจฉัยและการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันโรคหรือแยกโรคที่มีอันตรายร้ายแรงออกไป โดยเฉพาะอาการที่เกิดจากโรคของสมองที่อาจนำไปสู่ความพิการ ความทุพพลภาพ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจภาพวินิจฉัยสมอง การตรวจเลือด การตรวจการได้ยิน หลังจากที่วินิจฉัยสาเหตุของโรคเวียนศีรษะได้แล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การดำเนินโรค การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เป็นซ้ำ รวมถึงการพยากรณ์โรคที่อาจกลับเป็นซ้ำและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นกัน
เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยพบได้ในช่วงอายุ 20-50 ปี ในเพศชายมากพอๆ กับเพศหญิง อาการเวียนศีรษะนั้นเกิดจากการมีน้ำในหูชั้นในมากกว่าปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากตัวกระตุ้นหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ภาวะความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือมีคาแฟอีนเป็นส่วนประกอบ การรับประทานอาหารเค็มจัด และความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย เป็นต้น
สาเหตุการเกิดอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น อธิบายได้คร่าวๆ ว่า โดยปกติแล้วหูชั้นในมีน้ำในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทของหูชั้นในที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน โดยมีการไหลเวียนและถ่ายเทของน้ำนี้เป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญานไปยังสมองเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามที่มีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหูชั้นใน เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ (Endolymphatic Hydrop) ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะตามมา ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะยาวจะทำให้ระดับการได้ยินลดลงเรื่อยๆ อาจถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น ในระยะหลังอาจมีอาการได้ที่หูทั้งสองข้าง
อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
การรักษาและข้อควรปฏิบัติตัว
เป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุเช่นกัน แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นใน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยควบคุมการทรงตัว (Utricle, Saccule, Semicircular canal) และเป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับการได้ยิน (Cochlea) ในอวัยวะที่ช่วยควบคุมการทรงตัว (Utricle) จะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ เมื่อมีสาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนดังกล่าวหลุดออกไป เช่น ความเสื่อมตามวัย อุบัติเหตุโดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะ โรคของหูชั้นใน การติดเชื้อ การผ่าตัดของหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน การผ่าตัดที่ต้องนอนนานๆ การเคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำๆ เช่น ก้มเงยหรือนอนเตียงสระผม ก็จะทำให้ฝุ่นหินปูนเคลื่อนที่ไปอยู่ในอวัยวะควบคุมการทรงตัวอีกชนิดหนึ่งคือ Semicircular canal เกิดการส่งสัญญานไปยังระบบประสาทส่วนกลางและกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะ / บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียนตามมาได้
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อตะกอนหินปูนหลุด
การรักษาและข้อควรปฏิบัติตัว
หากมีอาการเวียนศีรษะจากโรคหลอดเลือดสมองนั้น ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะร่วมกับอาการทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย เห็นภาพซ้อน ภาพมัวลง เดินเซ อ่อนแรง พูดไม่ชัด ชา เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะของโรคมีความรุนแรง มีอาการที่จำเพาะและแตกต่างจากการเวียนศีรษะจากสาเหตุอื่น โดยอาการมักเป็นทันที หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจเกิดความรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคของสมองร่วมกับอาการทางระบบประสาทข้างต้นจึงควรได้รับการตรวจภาพวินิจฉัยสมองและได้รับการรักษาที่จำเพาะโดยเร็วที่สุด
จะเห็นได้ว่า อาการเวียนศีรษะ / บ้านหมุน เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีความรุนแรงของแต่ละกลุ่มอาการแตกต่างกันไป ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการตรวจแยกโรคเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคใด และหากมีอาการรุนแรงจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ความทุพพลภาพ และอันตรายถึงชีวิตที่อาจจะเกิดจะขึ้นได้ทุกเมื่อ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่