เป็นโรคมะเร็งในเด็กที่พบบ่อยที่สุด ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งทั้งหมด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL) ซึ่งพบบ่อยกว่า AML 3 เท่า
- Acute Myeloid Leukemia (AML)
-
อาการมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ที่พบได้บ่อย
คือ มีไข้ มีอาการซีด และมีจุดเลือดออกตามตัว นอกจากนี้อาจพบว่ามีตับม้ามโต ปวดตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต ในเด็กชายอาจมีอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งโตหรือโตทั้งสองข้าง ร่วมกับตรวจเลือด (Complete Blood Count -CBC) พบเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อน เป็นต้น
-
การวินิจฉัย
วินิจฉัยโรค ALL และ AML ทำได้โดยเจาะตรวจไขกระดูกเพื่อดูความผิดปกติของชนิดเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน นอกจากนี้ยังมีการตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อหาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาและการพยากรณ์โรค
-
การรักษา มะเร็งในเด็ก
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ปัจจุบันใช้การให้ยาเคมีบำ บัด ซึ่งจะให้เป็นชุด ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร ขึ้นกับชนิดโดยที่ชนิด ALL ใช้เวลารักษาประมาณ 2 ปีครึ่ง -3 ปี ส่วน AML ใช้วลาในการรักษาประมาณ 6 เดือน สำหรับผูป่วยที่ไม่สามารถทำ ให้โรคสงบได้หรือมีการกลับเป็นซ้ำ โดยปัจจุบันมีการรักษาแบบใหม่ ได้แก่
1. การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
2. Chimeric antigen receptor (CAR) T-cell therapy (CAR T- cell)
3. Bone marrow transplantation การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่ง ณ ปัจจุบันการปลูกถ่ายไขกระดูกไม่จำเป็นต้องรอเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดขาวที่ตรงกัน 100% อีกต่อไป โดยสามารถใช้ไขกระดูกจากพ่อแม่ได้ หรือที่เรียกว่า Haploidentical Hematopoietic Transplantation สามารถอ่านข้อมูลการรักษาใหม่ คลิกที่นี่
ส่วนการรักษาโรค AML มีโอกาสหายขาดประมาณ 55-70% และมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 50% จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกตั้งแต่ระยะแรกจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 80% เช่นเดียวกัน
ปัจจุบันการรักษาโรค ALL มีผลการรักษาที่ดี โอกาสหายขาด 80-85%
ส่วนการรักษาโรค AML มีโอกาสหายขาดประมาณ 55%
ส่วน AML มีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 50% จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกตั้งแต่ระยะแรกจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 80% เช่นเดียวกัน
