ผ่าตัดท่อนำไข่ ใครก็คิดว่าน่ากลัว แต่ความจริงแล้วเป็นเช่นไร

ผ่าตัดท่อนำไข่ ใครก็คิดว่าน่ากลัว แต่ความจริงแล้วเป็นเช่นไร

HIGHLIGHTS:

  • ผู้หญิงที่ ปวดท้องประจำเดือน อย่างรุนแรง และปวดท้องประจำเดือนเรื้อรัง เสี่ยงต่อภาวะท่อนำไข่ผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
  • ผ่าตัดท่อนำไข่ แพทย์ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าคนไข้เคยมีบุตรมาแล้ว หรือยังไม่เคยมีบุตร

หลายโรคหลายอาการทางนรีเวช อย่างเช่น ช็อกโกแลตซีสต์ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แพทย์ต้องทำการ ผ่าตัดท่อนำไข่ ของคนไข้ออก

ซึ่งแน่นอนไม่ว่าใครได้ยินถึงเรื่องการผ่าตัด ก็ย่อมร้อน ๆ หนาว ๆ กันอยู่แล้ว และยิ่งโดยเฉพาะผ่าตัดท่อนำไข่ด้วย คุณผู้หญิงหลายคนคงอาจรู้สึกกังวล

หากเราต้องเป็นหนึ่งในบุคคลที่ต้องผ่าตัดท่อนำไข่ออก เรามาเรียนรู้เรื่องนี้กันดีกว่า เป็นการเตรียมใจให้พร้อมเสียแต่เนิ่น ๆ หรือเราโชคดีไม่ประสบพบเจอเอง ความรู้เหล่านี้อาจมีประโยชน์ต่อคนรอบข้างเราก็ได้

ท่อน้ำไข่ คืออะไร

ท่อนำไข่ (Oviduct) หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมเรียกก็คือ ปีกมดลูก (Fallopian Tube) เป็นส่วนที่เป็นทางเชื่อมต่อ ระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ภายในกลวง หากเกิดโรคที่นำไปสู่การผ่าตัดในอวัยวะส่วนนี้ แพทย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็จะเลือกวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นวิธีมาตรฐานในการผ่าตัด เป็นการส่องกล้องผ่านช่องท้องเข้าไปดูว่ามีปัญหาเช่นไร ปัญหาเกิดที่จุดไหน และทำการผ่าตัดแก้ไขไปด้วยได้เลย

ผ่าตัดท่อนำไข่ จำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่

การผ่าตัดท่อนำไข่นั้นถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ แพทย์ก็จะไม่ทำ เพราะแนวคิดในการรักษาโรคทางนรีเวชนั้น แพทย์ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าคนไข้ เคยมีบุตรมาแล้วหรือยัง

  • ถ้าเคยมีบุตรแล้ว และมีพอแล้ว แพทย์ก็จะทำการตัดท่อนำไข่ออก
  • ถ้าไม่เคยมีบุตร หรือ เคยมีบุตรแล้วแต่ยังต้องการมีบุตรอีก แพทย์ก็จะต้องทำความเข้าใจกับคนไข้เสียก่อน เพราะการผ่าตัดท่อนำไข่นั้นจะส่งผลให้การมีบุตรในอนาคตนั้นยากยิ่งขึ้น หรือ บางทีโอกาสที่จะมีบุตรอาจไม่มีเลยก็ได้

ผ่าตัดท่อนำไข่ ฟื้นตัวไว แผลเล็ก เจ็บน้อย

การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) นี้เป็นวิธีที่ทันสมัย มีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์ก็จะให้พักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 – 2 วัน เพื่อความแน่ใจ ง่ายและสะดวกแบบนี้จึงทำให้คนไข้สามารถกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตตามปกติได้ไวมาก ๆ จนบางทีคนรอบข้างไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าเพิ่งจะผ่าตัดมา

ปวดท้องประจำเดือน อย่างนิ่งนอนใจเพราะอาจส่งผลให้ ‘มีบุตรยาก’

ตรงจุดนี้แพทย์แนะนำว่า คุณสุภาพสตรีทั้งหลาย ถ้ามีอาการผิดปกติอย่าง เช่น ปวดประจำเดือนหนักมากจนทนไม่ไหว หรือ มีประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นต้น รวมทั้งอาการผิดปกติอื่น ๆ อย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบมาตรวจกับสูตินรีแพทย์โดยด่วน จะเป็นการดีที่สุด เพราะเป็นการป้องกันการคุกคามของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ บางโรคอาจไม่อันตราย พักสักหน่อยอาการก็อาจหายไปได้เอง แต่บางโรคอาจแฝงตัว เป็น ๆ หาย ๆ หรือ บางทีไม่แสดงอาการเลย เมื่อแพทย์ตรวจพบบางทีคุณอาจจะมีเนื้องอกเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งสุดท้ายแพทย์ก็ต้องตัดสินใจผ่าตัดท่อนำไข่ออก ซึ่งหากคุณต้องการมีบุตรก็คงจะเป็นเรื่องยากเสียแล้ว

เราจะเห็นว่าโรคภัยไข้เจ็บเราป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดจะเป็นการดีที่สุด แต่โรคทางนรีเวชต้องยอมรับว่ายากที่จะป้องกัน เพราะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบเจอโรคเข้าจริง ๆ จนนำไปสู่การผ่าตัดท่อนำไข่ ก็ขอให้คุณตั้งสติไว้แม้จะทำให้มีบุตรยาก แต่เราก็ยังพอมีวิธีที่จะหาทางออกในเรื่องนี้ ตอนนี้เราต้องอยู่กับปัจจุบันให้ความสำคัญกับร่างกายของเราก่อน ซึ่งการรักษาในปัจจุบันก็ง่ายมีความสะดวกและไม่น่ากลัว แถมเจ็บน้อยมาก คุณจึงไม่ต้องกังวล ตั้งสติให้มั่นและเดินหน้ารักษาอย่างมั่นใจได้เลย

รู้จักกับคุณหมอสันติ พงศ์ภัณฑารักษ์

นายแพทย์สันติ พงศ์ภัณฑารักษ์ มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โดยคุณหมอจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และยังมีวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โดยคุณหมอมีความชำนาญด้านการผ่าตัดเกี่ยวกับโรคทางนรีเวช เช่น

  • เนื้องอกมดลูก
  • ถุงน้ำรังไข่
  • ช็อกโกแลตซีสต์
  • ภาวะท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น ท้องนอกมดลูก ผังผืดในช่องท้อง หรือผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

ห้องผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช ที่ศูนย์ Critical Care Complex

ห้องผ่าตัดที่ศูนย์ Critical Care Complex แตกต่างจากห้องผ่าตัดทั่วไป เพราะเราใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัด เช่น ระบบหมุนเวียนอากาศภายในห้องผ่าตัดมีการกรองแบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ เป็นแบบ laminar flow อากาศสะอาดจะไหลผ่านทางเดียวจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ไม่มีอากาศภายนอกเข้ามาปนเปื้อน ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น โอกาสที่จะติดเชื้อในแผลผ่าตัดก็มีน้อยลง

คลิกชมวิดีโอห้องผ่าตัด ที่ศูนย์ Critical Care Complex

 

การพักฟื้น และการดูแลหลังผ่าตัด

  • ผ่าตัดท่อนำไข้ พักฟื้นกี่วัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้องแบบ MIS ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดจะเร็วกว่า โดยถ้าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี การผ่าตัดส่องกล้องก็จะสามารถฟื้นตัวได้เพียง 2 สัปดาห์
  • ห้องพักผู้ป่วยที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้อง MIS ส่วนใหญ่จะอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 1-2วัน โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มีห้องพักผู้ป่วยที่มี สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่างๆ ที่คนไข้หรือผู้รับบริการสามารถใช้เทคโนโลยี ควบคุมทุกอย่างได้ เช่น ระบบไฟ ระบบผ้าม่าน ระบบแอร์ โดยไม่ต้องลุกจากเตียง ที่ห้อง Intelligent Ward คลิกเพื่อชมห้องพักผู้ป่วย
  • บริการ Samitivej PACE ติดตามคนไข้ทุกสถานะการผ่าตัด : เพราะ #เราไม่อยากให้ใครห่วง โรงพยาบาลสมิติเวชจึงมีบริการ Samitivej PACE ระบบติดตามทุกสถานการณ์ผ่าตัด ช่วยให้เราสามารถรู้สถานะคนไข้ว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนไหน เช่น กำลังอยู่ในห้องผ่าตัดหรือห้องพักฟื้น ซึ่งไม่ว่าญาติผู้ป่วยจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าไปดูสถานะการผ่าตัดได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแอดไลน์ @Samitivej
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?