บ่อยครั้งที่เราได้ยินคนเรียก ผู้หญิงหมดประจำเดือน (Menopause) ว่าการเข้าสู่ช่วง “วัยทอง” ซึ่งเกิดจากการที่รังไข่หยุดการสร้างฮอร์โมน แต่สำหรับผู้ชายจะมีความแตกต่างนั่นก็คือ ต่อมอัณฑะไม่เคยหยุดทำงานเอง การที่ผู้ชายเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะมีบางอย่างผิดปกติ ส่งผลทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดต่ำลง จึงถูกเรียกว่า “ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย” หรือ Andropause
มีหลายสาเหตุ อย่าง โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ โรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ผู้ชายที่มีระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ส่งผลกับด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ทำให้มีอาการดังนี้
ส่งผลโดยรวมต่อพฤติกรรมความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก บางคนถึงขั้นมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำลง (Testosterone) ควรปรึกษาแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย โดยการส่งตรวจเลือด ไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด หลังจากได้ผลเลือดแล้วแพทย์จะทำการวางแผนการรักษาต่อไป
หากย้อนไปดูที่สาเหตุ ส่วนใหญ่จะมาจากการพักผ่อน หรือ โรคประจำตัว จึงควรตรวจเช็คร่างกายให้พร้อม ตั้งแต่ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน ภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย ตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะฮอร์โมนผู้ชาย ไม่มีทางหมดเพียงแต่พร่องไป ถ้าพัฒนาการทางสุขภาพดีขึ้น น้ำหนักลดลง สมรรถภาพของร่างกาย และอาการของระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ควรจะกลับมาดีขึ้น แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นจากเดิม ควรปรึกษาแพทย์
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่