5 ข้อดี ที่ชีวิตนี้ต้อง “จูบ”

5 ข้อดี ที่ชีวิตนี้ต้อง “จูบ”

HIGHLIGHTS:

  • การจูบ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้ผู้ที่จูบและถูกจูบมีความสุข คลายกังวล ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นการช่วยลดความเครียดได้ทางอ้อม
  • การจูบอย่างดูดดื่ม 1 นาที ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ถึง 26 แคลอรี่
  • แม้ว่าการจูบจะมีข้อดีหลายอย่าง แต่การจูบสามารถถ่ายทอดโรคบางชนิดได้ เช่น โรคหวัด โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคเริม โรคหูด จึงควรหลีกเลี่ยงการจูบในขณะที่ป่วย

การจูบในมนุษย์ ทางพฤติกรรมสื่อถึงการแสดงออกในเรื่องของความรัก ความเมตตา ความปรองดอง และความใคร่ ซึ่งเรามักจะทำกับคนรัก คนในครอบครัว หรือเพื่อน โดยถ่ายทอดแรงสัมผัสและความรู้สึกผ่านเส้นประสาทมากกว่า 10,000 เส้นที่ริมฝีปาก ให้กันและกัน จนทำให้สมองของทั้งสองฝ่ายผลิตสารเคมีออกมามากมายระหว่างที่มีการจูบกัน

การจูบ เป็นพฤติกรรมที่มีมานานนับพันปี และไม่ได้พบแค่ในมนุษย์เราเท่านั้น แม้แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก หอยทาก ก็ยังพฤติกรรมในลักษณะเช่นนี้ แน่นอนว่า การจูบต้องมีข้อดี ธรรมชาติจึงได้แอบถ่ายทอดไว้ในสัญชาติญาณของมนุษย์เรา มาดูกันว่าคนเราจะ “จูบ” ไปเพื่ออะไรบ้าง

1. จูบเพื่อ “ความสุข”

การจูบไม่ได้หมายถึง วิธีการแสดงความรักในคู่รักเท่านั้น เรายังสามารถทำกับคนในครอบครัว หรือเพื่อนได้เช่นกัน ในขณะที่จูบ ร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ความเคลิบเคลิ้ม ทำให้ผู้ที่จูบและถูกจูบมีความสุข คลายกังวล ทั้งยังช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเกิดจากความเครียดลงได้อย่างน่าอัศจรรย์

2. จูบเพื่อ “ตื่นตัว พึงพอใจ”

ฮอร์โมนอีกชนิดที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ โดพามีน (Dopamine) เพราะฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับสมองส่วนการให้รางวัล (Brain reward system) ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเราเจอสิ่งที่พอใจ เช่น ได้ทานอาหารที่ชอบ ได้จูบกับคนที่ชอบ ทำให้เราเกิดความรู้สึก สุข สนุก ใจเต้นแรง  นอกจากนี้งานวิจัยพบว่า ในระหว่างการร่วมเพศโดพามีนจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อถึงจุดสุดยอด ระดับจะลดลง และฮอร์โมนโปรแลคติน(Prolactin) จะสูงขึ้นมาแทนที่ เพื่อปิดสวิตช์ไฟราคะนั่นเอง (ฮอร์โมนโปรแลคตินจะพบมากในผู้หญิง เพราะมีบทบาทในการสร้างน้ำนม สังเกตว่าช่วงที่คุณแม่ให้นมลูก อารมณ์ทางเพศจะมีน้อยมาก ส่วนในผู้ชายมีบทบาทร่วมกับฮอร์โมนเพศในการสร้างเซลล์อสุจิ)

3. จูบเพื่อ “ผูกมัด”

หากการจูบมีการใช้ลิ้นสัมผัสกันอย่างดูดดื่ม  พบว่าสมองจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพันธ์ สร้างความรักเดียวใจเดียว ปกติฮอร์โมนชนิดนี้มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยทำให้น้ำนมแม่ไหลออกง่าย ช่วยทำให้แม่คลอดลูกง่ายขึ้น

4. จูบเพื่อ “เบิร์น”

การจูบ ใช้กล้ามเนื้อ Orbicularis oris ที่อยู่รอบๆ ปาก เป็นส่วนสำคัญ แต่นอกจากนั้นยังมีกล้ามเนื้ออื่นๆ อีกรวมถึง 34 มัดที่ใช้ในการจูบรวมไปถึงเส้นประสาทอย่างน้อย 5 คู่ ได้แก่ คู่ที่  1 (Olfactory nerve) ใช้ในการรับดมกลิ่น คู่ที่ 5 (Trigeminal nerve) รับสัมผัสจาก ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม และคางและขากรรไกร คู่ที่  7 (Facial nerve) ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าและริมฝีปาก คู่ที่ 9 และ 10 (Glossopharyngeal และ Vagus nerve) ควบคุมการส่งเสียงและ คู่ 12 (Hypoglossal nerve) ควบคุมลิ้น ซึ่งพบว่าการจูบอย่างดูดดื่ม 1 นาที เผาผลาญพลังงานได้ 26 แคลอรี่ (เพื่ออรรถรสการจูบนานๆ หมอแนะนำดูแลกลิ่นปากกันก่อนนะคะ)

5. จูบเพื่อ “จุดไฟราคะ”

อันที่จริงการจูบ ก็สามารถกระตุ้นเส้นประสาทสัมผัส และฮอร์โมนแห่งความสุขได้หลายตัวดังที่กล่าวไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมากคือ การส่งต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จากชายสู่หญิง หรือชายสู่ชาย เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้พบมากในผู้ชายเพราะเป็นฮอร์โมนหลักที่ใช้ในการเติบโต ซ่อมแซมร่างกาย และเพิ่มความต้องการทางเพศ ซึ่งสามารถพบได้ในเลือดหรือในน้ำลายของผู้ชายเป็นหลัก การจูบแบบดูดดื่มจึงสามารถจุดไฟราคะได้ในเหตุผลนี้ และทางที่ดีควรทำร่วมกับการกอดและสัมผัส

แม้ว่าการจูบจะมีข้อดีในหลายๆอย่าง แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งร่างกายไม่แข็งแรง ก็สามารถถ่ายทอดโรคบางอย่างผ่านการจูบได้ เช่น โรคหวัด โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคเริม โรคหูด ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการจูบในขณะที่ป่วย เพื่อความปลอดภัยของคนที่เราจูบ

สอบถามเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถามของคุณ*
คำถามของคุณ*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?