การรักษาแบบผ่าตัด

การรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีผ่าตัด อาจพิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6-12 สัปดาห์ หรือในผู้ป่วยที่มีการทำงานของเส้นประสาทที่เสียไป เช่น กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการขับถ่ายเสียไป ทั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังรูปแบบใหม่(แบบแผลเล็ก) และ การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบดั้งเดิม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery)
    • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังแบบใช้กล้องขยาย (Microscopic Lumbar Microdiscectomy)
    • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีส่องกล้อง (Full-Endoscopic lumbar Discectomy – FED)
    • การผ่าตัดเชื่อมข้อทางด้านหลังแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody fusion – MIS TLIF)
  2. การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบดั้งเดิม ซึ่งก็คือ การผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อระบายโพรงเส้นประสาทและเชื่อมข้อ (Decompressive lumbar Laminectomy with Posterolateral Spinal Fusion – DLPL Fusion)

1. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังแบบใช้กล้องขยาย (Microscopic-assisted Lumbar Discectomy/Microscopic Lumbar Microdiscectomy)

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังแบบใช้กล้องขยายคืออะไร

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยการใช้กล้องขยาย (Microscopic Lumbar Microdiscectomy) เป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐาน (Gold standard) ของการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่มีปัญหาหรือมีการกดทับเส้นประสาทออกมา โดยใช้กล้องขยายกำลังสูงมาช่วยในการผ่าตัด เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความผิดพลาดจากการผ่าตัด

นอกจากข้อดีของการผ่าตัดโดยใช้กล้องขยายจะมีความแม่นยำสูงแล้ว การผ่าตัดวิธีนี้ เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย และ มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อที่เกิดจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบปกติ มีการเสียเลือดน้อยลง ลดระยะเวลาการผ่าตัด ทำให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น  ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังแบบใช้กล้องขยายเหมาะกับใคร

ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Disc Herniation) และผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงประสาทตีบแคบกดทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) ที่ไม่มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกคด หรือ เคลื่อน

2. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีส่องกล้อง Endoscopic (Full-Endoscopic Lumbar Discectomy)

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีส่องกล้อง Endoscope คืออะไร

เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องกระดูกสันหลังเพื่อนำส่วนของหมอนรองกระดูกที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังออกไป โดยการใช้กล้องขนาดเล็ก (Endoscope) ทำให้สามารถเห็นพยาธิสภาพและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอย่างชัดเจนโดยที่ไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อหรือกระดูกออกไป แพทย์จึงสามารถทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เจ็บตัวน้อย ยังฟื้นตัวไว และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีส่องกล้อง Endoscopic เหมาะกับใคร

ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Disc Herniation) และผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงประสาทตีบแคบกดทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) ที่ไม่มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่นกระดูกคด หรือเคลื่อน

3. การผ่าตัดเชื่อมข้อทางด้านหลังแบบแผลเล็ก [Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody Fusion (MIS TLIF)]

การผ่าตัดเชื่อมข้อทางด้านหลังแบบแผลเล็กคืออะไร

เป็นการผ่าตัดระบายโพรงเส้นประสาทและใส่เหล็กเชื่อมข้อแบบแผลเล็ก ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ ทำให้ขนาดแผลเล็ก ลดการทำลายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง จากการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล

การผ่าตัดเชื่อมข้อทางด้านหลังแบบแผลเล็กเหมาะกับใคร

โดยทั่วไป ข้อบ่งชี้การผ่าตัดเชื่อมข้อแบบแผลเล็ก ได้แก่ คนไข้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาจากการกดทับเส้นประสาท ร่วมกับการเกิดภาวะไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง (Lumbar Instability)

4. การผ่าตัดเพื่อระบายโพรงเส้นประสาทและเชื่อมข้อ [Decompressive Lumbar Laminectomy with Posterolateral Spinal Fusion (DLPL Fusion)]

การผ่าตัดเพื่อระบายโพรงเส้นประสาทและเชื่อมข้อคืออะไร

เป็นการผ่าตัดเพื่อระบายโพรงเส้นประสาท (Nerve decompress) ที่ถูกกดทับและเชื่อมข้อกระดูกสันหลังเข้าด้วยกันโดยการใส่เหล็กยึดกระดูกสันหลัง ทำให้ช่องทางของเส้นประสาทมีขนาดใหญ่ขึ้น และเชื่อมข้อให้กระดูกสันหลังปล้องนั้นๆ มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อลดโอกาสการกดทับเส้นประสาทซ้ำ การผ่าตัดชนิดนี้จึงช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังได้

การผ่าตัดเพื่อระบายโพรงเส้นประสาทและเชื่อมข้อเหมาะกับใคร

การผ่าตัดวิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) และมีความไม่มั่นคง (Instability) ของกระดูกสันหลังปล้องนั้นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเคลื่อน หลังคด หรือหลังโก่งผิดรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่มีการกดทับเส้นประสาทจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ประสบอุบัติเหตุกระดูกหลังหักเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ,การกดทับเส้นประสาทจากโรคเนื้องอกหรือมะเร็ง

ผ่าตัดหลังราคาเท่าไหร่ ใช้สิทธิประกันภัยได้หรือไม่?

สมิติเวชมีทีมพร้อมช่วยเหลือและให้บริการ

  • ปรึกษาแผนการรักษากับแพทย์ วีดีโอคอลผ่านทางออนไลน์ (Second Opinion)
  • วางแผนการรักษาหากมีประวัติการรักษาหรือใบประเมินราคาจากโรงพยาบาลอื่น
  • วางแผนค่าใช้จ่ายโดยทีมประเมินราคา พร้อมการันตีราคาให้*
  • ตรวจสอบสิทธิความคุ้มครองเบื้องต้นกับบริษัทประกัน ทั้งไทยและต่างประเทศ**

*เฉพาะหัตถการที่มีแพ็กเกจที่ไม่มีความซับซ้อน
**เฉพาะบริษัทประกันคู่สัญญา

การรักษาแบบผ่าตัด

แพ็กเกจ 

 ระยะเวลานอน
(วัน)

ราคา
(บาท)

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังแบบใช้กล้องขยาย

1-2

239,000 - 252,500 

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีส่องกล้อง Endoscopic

1

365,000

การผ่าตัดเชื่อมข้อทางด้านหลังแบบแผลเล็ก

4

446,500 - 452,500 

การผ่าตัดเพื่อระบายโพรงเส้นประสาทและเชื่อมข้อ 

5-6

401,000 - 422,000 

หมายเหตุ

  • ระยะเวลาโปรโมชั่น วันนี้ – 31 ธันวาคม 2564
  • ราคาดังกล่าวสำหรับการตัดกระดูกสันหลัง 1-2 ระดับ
  • ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าประเมินและตรวจก่อนการผ่าตัด
  • ราคาดังกล่าวไม่รวมค่ากายอุปกรณ์และวัตถุที่ฝังในร่างกาย
  • ราคาดังกล่าว สามารถใช้กับแพทย์ที่ร่วมโครงการเท่านั้น
  • ราคาดังกล่าวไม่รวมค่ารักษาโรคร่วมและค่าปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
  • ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาลและค่ายากลับบ้าน
  • รับบริการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เท่านั้น
  • ศูนย์กระดูก ข้อ กระดูกสันหลังและการแพทย์กีฬา อาคาร 1 ชั้น 1 โทร 02-022-2494-6

การวินิจฉัย 
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

คะแนนบทความ
สมัคร

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?