คุณมีความเสี่ยงโรคพันธุกรรมหรือไม่

เรามีความจำเป็นที่ควรประเมินความเสี่ยงโรคพันธุกรรม หรือไม่?

หากสมาชิกในครอบครัว และเครือญาติ ทั้งญาติสายตรง* และญาติอันดับสอง** ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
*ญาติสายตรง คือ พ่อ แม่ พี่ และน้อง
**ญาติอันดับสอง คือ ปู่ ย่า ตา ยาย อา น้า ป้า ลุง หลาน ลูกพี่ลูกน้อง

  • มีประวัติเจ็บป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมะเร็ง
  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง เมื่ออายุยังน้อย (21 - 40 ปี)
  • เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง 
หากคุณ มากกว่า 2 ข้อ แนะนำ
ประเมินความเสี่ยงโรคพันธุกรรมเบื้องต้น (Family Tree Analysis)
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาขอคำแนะนำเพิ่มเติม
ติดต่อ ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร

 


แคมเปญนี้เป็นหนึ่งในโครงการ #ยีนดีทุกวัย Healthier GENEration
ฉลองครบรอบ 44 ปี โรงพยาบาลสมิติเวช
สมิติเวช #เราไม่อยากให้ใครป่วย

Healthier GENEration ยีนดีทุกวัย ได้อย่างไร คลิกหัวข้อเพื่ออ่านเพิ่มเติม


Family Tree Analysis ประเมินความเสี่ยงโรคพันธุกรรมเบื้องต้น 

เพียงกรอกข้อมูลประวัติครอบครัว ลงในแผนภาพที่แสดงลำดับเครือญาติ (Pedigree) จะทำให้เห็นรูปแบบในการถ่ายทอดได้ง่าย เพื่อประเมินว่าภายในครอบครัวมีการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ ซึ่งจะช่วยลดความกังวลโดยไม่จำเป็น และได้รับคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง โดยแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการฝึกอบรมการให้คำแนะนำทางพันธุศาสตร์โดยเฉพาะ

ระบบจะคำนวนความเสี่ยงจากข้อมูลที่ได้รับ และจะแสดงผลออกเป็นลำดับสี ไล่ระดับความเสี่ยงจากน้อย (สีเหลือง) ไปจนถึงเสี่ยงมาก (สีแดง) ส่วนใครที่ได้ผลการทดสอบเป็นสีเขียว จะหมายถึง มีความเสี่ยงไม่ต่างจากบุคคลทั่วไปที่ไม่มีประวัติพันธุกรรมในครอบครัว

สนใจประเมินความเสี่ยงโรคพันธุกรรมเบื้องต้น (Family Tree Analysis)
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาและขอคำแนะนำเพิ่มเติม
ติดต่อ ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์


วางแผนการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะท้องไหน ก็มั่นใจ

80% ของเด็กที่มีอาการความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้แสดงอาการผิดปกติของโรคนั้นเลย  เพราะโรคพันธุกรรมไม่สามารถตรวจเจอได้ด้วยอัลตร้าซาวด์ การตรวจยีนและการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญมาก ผลจากการตรวจจะช่วยประเมินความเสี่ยงของการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมมายังลูก ทำให้แพทย์พบความบกพร่องทางพันธุกรรมของทารกที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 

หากพ่อแม่พบความผิดปกติทางพันธุกรรมในลูกคนแรก ก็สามารถขอคำปรึกษากับสูตินรีแพทย์ของสมิติเวช ที่ได้รับการฝึกอบรมการให้คำแนะนำทางพันธุศาสตร์โดยเฉพาะ เพื่อวางแผนตั้งครรภ์ลูกคนถัดไปได้ ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ 

ปัจจุบันเทคโนโลยีการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ สามารถตรวจได้กว่า 500 ยีน ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 550 โรค และมีความแม่นยำสูงถึง 95%

คุณแม่ท้องแรกสนใจโปรแกรมตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์
คลิกอ่านเพิ่มที่นี่

ต้องการขอคำปรึกษาวางแผนตั้งครรภ์กับ
สูตินรีแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมการให้คำแนะนำทางพันธุศาสตร์โดยเฉพาะ
คลิกทำนัดที่นี่


วางแผนสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจยีน 

  • การตรวจยีนที่สมิติเวชเป็นการตรวจวิเคราะห์ ข้อมูลจากรหัสพันธุกรรม ได้มากกว่า 3 พันล้านข้อมูล รายงานผลตรวจ ได้กว่า 20,000 ยีน  แม่นยำกว่า 99% ได้มาตรฐาน CLIA และ CAP ช่วยลดความกังวลโดยไม่จำเป็น อ่านผลและให้คำแนะนำ ออกแบบไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับยีนของแต่ละบุคคลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์
    แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์ เพื่อรับคำแนะนำ และเลือกโปรแกรมการตรวจ ที่เหมาะสมกับตนเองและครอบครัว ก่อนคลิกซื้อโปรแกรมการตรวจยีนทางออนไลน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและทำนัดปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์ คลิกที่นี่
  • การตรวจหาความผิดปกติของยีนที่สมิติเวชเป็นแบบ Medical grade ครอบคลุมการตรวจยีนใหม่ หรือยีนที่ต้องสงสัย แต่ยังไม่มีการพิสูจน์โรคชัดเจน ช่วยให้การวางแผนสุขภาพเกิดประโยชน์สูงสุด และจะสามารถตรวจได้เมื่อแพทย์พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นและเห็นชอบเท่านั้น จึงต่างจากการตรวจยีนแบบ Direct-to-consumer grade ที่สามารถซื้อและตรวจได้เอง เพราะความสะดวก จึงเป็นที่นิยม กรณีพบความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจแบบ Medical grade เพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลตรวจทางการแพทย์ ดังนั้นการตรวจแบบ Direct-to-consumer grade จึงเหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีประวัติครอบครัว

โปรแกรมตรวจยีนที่น่าสนใจ (Medical Grade) 

  • ตรวจยีนแบบ Whole Exome Sequencing 
    เป็นการตรวจยีน 20,000 ยีน ซึ่งครอบคลุมทุกโรค ทั่วทั้งร่างกาย เหมาะสำหรับ ผู้ที่เป็นหรือต้องสงสัยว่าเป็นโรคพันธุกรรมหรือมีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว โดยได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์พันธุศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเกี่ยวกับโภชนพันธุศาสตร์ และเภสัชพันธุศาสตร์ร่วมด้วย
    *โภชนพันธุศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวข้องในด้านโภชนาการ ความต้องการสารอาหาร และการตอบสนองต่ออาหาร 
    *เภสัชพันธุศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมต่อการตอบสนองของยา ตรวจหาความเสี่ยงจากการรับประทานยาหลายตัว

คลิกดูโปรแกรมตรวจยีน
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาและขอคำแนะนำเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์

 

  • ตรวจยีนป้องกันโรคร้ายที่พบบ่อย 
    เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือด และบุคคลทั่วไปที่สนใจจะทราบว่า ตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจากพันธุกรรมหรือไม่ หาความเสี่ยงและปรับยา ในผู้ที่รับประทานยาหลายชนิด

คลิกดูโปรแกรมตรวจยีน
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาขอคำแนะนำเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์

 

  • ตรวจยีนส่งเสริมสุขภาพตามไลฟ์สไตล์
    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนปรับไลฟสไตล์ให้เหมาะสมกับยีน ช่วยตรวจเช็กสุขภาพแบบเจาะลึกเฉพาะบุคคล ให้รู้จักตัวเองมากขึ้น พร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก 
    ตัวอย่างของข้อมูลที่ได้จากการตรวจยีนในกลุ่ม Lifestyle เช่น
    • Diet อาหารและสุขภาพ 
    • Sports & Fitness การออกกำลังกาย ความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ประสิทธิภาพในการฟื้นตัว
    • Nutrition ความต้องการของสารอาหาร รวมถึงวิตามิน
    • Skin & Beauty ความสวยงามของผิวพรรณ ริ้วรอย ความไวของผิวต่อแสงแดด  
    • Pollution ความไวต่อมลภาวะ ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด หอบหืด 
    • Stress & Sleep ความเครียด ภาวะอารมณ์ และการนอนหลับ
    • Love & Relationship ภาวะหย่อนสมรรถภาพ ความเสี่ยงโรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

คลิกดูโปรแกรมตรวจยีน
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาขอคำแนะนำเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์

  • ตรวจยีนเพื่อเริ่มต้นวางแผนครอบครัว
    เป็นแนวทางการวางแผนมีบุตรโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ลูกปราศจากโรคทางพันธุกรรม 

คลิกดูโปรแกรมตรวจยีน
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาขอคำแนะนำเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์

  • ตรวจยีนและตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงอายุ
    เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปีและการดูแลสุขภาพแบบลึกระดับยีน เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคลล สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 20 ปี เป็นต้นไป 

คลิกดูโปรแกรมตรวจยีน
พร้อมรับสิทธิ์ปรึกษาขอคำแนะนำเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์เวชศาสต์จีโนม (Genomic Medicine) อาคาร 2 ชั้น 3 ไลฟ์เซ็นเตอร์

แคมเปญนี้เป็นหนึ่งในโครงการ #ยีนดีทุกวัย Healthier GENEration
ฉลองครบรอบ 44 ปี โรงพยาบาลสมิติเวช
สมิติเวช #เราไม่อยากให้ใครป่วย


 

คะแนนบทความ
สมัคร

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?