มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการ = มะเร็งลุกลาม

กรุณาเลือกคลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่านในเรื่องที่สนใจ ดังนี้


คุณเสี่ยง...มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ?

สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรืออายุ 45+ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย วันนี้ – 30 เมษายน 2566 

  1. Video Call ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหาร ทางออนไลน์ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 
  2. รับสิทธิ์ปรึกษา เกี่ยวกับยีนมะเร็ง การป้องกันโรคมะเร็งในครอบครัว กับที่ปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 

เริ่มทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น คลิกที่นี่

#มีอาการเท่ากับลุกลาม


ทำไมจึงต้องส่องกล้องเพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่ออายุ 45 ปี

คุณหมอเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับพบว่าสถิติคนไข้ทั่วโลกที่ได้รับวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป มีทั้งหญิงและชาย ส่วนใหญ่มีอาการมาแล้ว เมื่อตรวจวินิจฉัยก็พบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เข้าสู่ระยะลุกลามไปแล้ว และจากการสำรวจพบว่าปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องอายุโดยตรง

  • คนอายุน้อยมีโอกาสตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ไม่ถึง 10 %
  • ช่วงวัยกลางคนอายุ 40 – 50 ปี โอกาสที่จะพบ เพิ่มขึ้นเป็น 20 – 30 %
  • แต่ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไปโอกาสจะเพิ่มขึ้นไปถึง 30 – 40 %

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ 90% ของการตรวจพบมะเร็งสำไส้ใหญ่จะเริ่มจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก (polyp) ที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งติ่งเนื้อชนิด adenoma ถือว่าเป็นระยะก่อนมะเร็ง จะมีโอกาสดำเนินโรคในอนาคต โดยใช้เวลา 3-5 ปีก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง ดังนั้นหากพบติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร คุณหมอก็จะทำการตัดติ่งเนื้อออกขณะส่องกล้องตรวจได้ในทันที หากตรวจแล้วไม่พบติ่งเนื้อเลย คุณหมอจะแนะนำให้กลับมาตรวจอีกครั้งในอีก 3-5 ปี หรือทุก 5 ปี


ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ผสานเทคโนโลยี AI จากญี่ปุ่น

โรงพยาบาลสมิติเวช ได้ร่วมมือทางการแพทย์กับโรงพยาบาลซาโน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่ยอมรับด้านความเชี่ยวชาญด้านการตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ในลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มต้นด้วยเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โดยส่งคุณหมอของสมิติเวชไปเรียนรู้เทคนิค ฝึกทักษะด้านการส่องกล้องและการผ่าตัด รวมถึงคุณหมอจากญี่ปุ่นเดินทางมาให้ความรู้และทำเคสศึกษาให้กับคนไข้ที่สมิติเวชอย่างต่อเนื่อง ทุกปี ตั้งแต่ปี 2558 

เทคนิค NBI จากแพทย์ญี่ปุ่น เมื่อนำมาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จากญี่ปุ่น ทำให้การวินิจฉัยโรคมีรวดเร็วและความแม่นยำมากขึ้น อีกที่งยังสามารถตัดติ่งเนื้อได้ทันทีขณะตรวจส่องกล้อง ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องมาโรงพยาบาล และผ่าตัดเกินความจำเป็น

ปัจจุบัน สมิติเวชเป็นโรงพยาบาลที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในการส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร่วมกับ  เทคนิค NBI จากแพทย์ญี่ปุ่นที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยถึง 1.5 เท่า

มีอาการ = มะเร็งลุกลาม

การเจ็บป่วยทั่วไป คนไข้จะมาหาคุณหมอเมื่อมีอาการผิดปกติ แต่สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายกรณีพบว่าผู้ป่วยไม่พบอาการผิดปกติ บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ท้องเสียสลับกับท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลียอ่อนแรง ซีดจาง บางคนมีเลือดออกปนมาในอุจจาระ ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2-4 แล้ว

โครงการ #เราไม่อยากให้ใครป่วย ของสมิติเวช ได้เช็คข้อมูลคนไข้ทั้งหมด พบว่า 97% ของคนไข้ ไม่รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มาก่อน และ กำลังเข้าใจผิด คิดว่าต้องมีอาการก่อน จึงค่อยมาพบคุณหมอ ดังนั้นคุณหมอจึงอยากรณรงค์ให้คนไข้ของเรา อายุ 45 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มาเข้ารับการส่องกล้อง (หากมีญาติสายตรงเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ควรต้องเข้ามาส่องกล้องเร็วขึ้นเนื่องจากมะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม)

สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรืออายุ 45+ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษ Video Call ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับ ทางออนไลน์ หรือ รับสิทธิ์ปรึกษา เกี่ยวกับยีนมะเร็ง การป้องกันโรคมะเร็งในครอบครัว กับที่ปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ฟรี!  ไม่มีค่าใช้จ่าย วันนี้ – 30 เมษายน 2566 

อย่ารอให้มีอาการ เพราะมีอาการ = มะเร็งลุกลามแล้ว


เสียงจากผู้เข้ารับการตรวจผ่านกล้อง

การส่องกล้องลำไส้
คุณพ่อสมุทร นุชนารท มาพบคุณหมอปิตุลักษณ์ อัศวกุล ด้วยอาการท้องอืดๆ แน่นๆ คุณหมอจึงแนะนำให้ทำการส่องกล้องทั้งในส่วนบนและส่วนล่าง เนื่องจากคุณพ่ออายุ 80 ปีแล้วยังไม่เคยส่องกล้องมาก่อน แต่คุณพ่อไม่ยอมทำเพราะกลัว คุณหมอจึงรักษาเบื้องต้นด้วยการให้ยาและติดตามอาการ ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกก็ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่หาย คุณหมอจำเป็นต้องหาสาเหตุให้ได้จนสุดท้ายก็เกลี้ยกล่อมให้คุณพ่อทำการส่องกล้องได้สำเร็จ ดูเหมือนทุกอย่างจะง่าย แต่ …. อ่านต่อ

สนใจเข้ารับการตรวจส่องกล้องป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ต้องทำอย่างไร

ผู้รับบริการทุกคนจะต้องพบคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลประวัติส่วนตัว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ คุณหมอจะให้ข้อมูลการเตรียมตัวการส่องกล้อง รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เมื่อผู้รับบริการตกลงจะเข้ารับการส่องกล้องแล้ว พยาบาลจะขอทำนัดเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อีกครั้ง  

โครงการ #เราไม่อยากให้ใครป่วย สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรืออายุ 45+ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษ Video Call ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับ ทางออนไลน์ หรือ รับสิทธิ์ปรึกษา เกี่ยวกับยีนมะเร็ง การป้องกันโรคมะเร็งในครอบครัว กับที่ปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ฟรี!  ไม่มีค่าใช้จ่าย วันนี้ – 30 เมษายน 2566 

เริ่มทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น คลิกที่นี่

ต้องการทำนัดพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเรื่องการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การใช้สิทธิ์ประกัน ติดต่อได้ที่ โทร. 065-954-3449

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: ทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้นได้ที่นี่ | ทำไมจึงต้องส่องกล้องเพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 45 ปี | หยุดมะเร็งลำไส้ ในครอบครัว ได้ด้วยการตรวจยีนมะเร็ง | การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย | การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)


หยุดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในครอบครัว ได้ด้วยการตรวจยีนมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ส่วนใหญ่มาจากความผิดปกติของแต่ละบุคคลเอง แต่จะมีโอกาส 5-10% ที่ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม ซึ่งยีนมะเร็งจากพันธุกรรม นั้นอาจจะแสดงออกหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละคน

จากการศึกษาวิจัยพบว่า บุคคลที่มีประวัติญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้  มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งทวารหนัก และอื่นๆ  มากกว่า 2 คนขึ้นไป หรือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพียงคนเดียวในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ที่อาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายหรือโรคมะเร็ง

โดยมีวิธีคำนวนคือ ให้นำอายุของญาติสายตรงที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลบ ด้วย 10 จะได้อายุที่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง เช่น พ่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 50 ดังนั้นลูกควรจะตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 40 เป็นต้น โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ



Precision Medicine ช่วยป้องกันและรู้ทันมะเร็งลำไส้จากพันธุกรรม

โรงพยาบาลสมิติเวช ผู้นำด้าน Precision Medicine หรือการแพทย์แบบเจาะจง คัดสรรการตรวจยีนที่ทันสมัย ณ ปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจยีนขั้นสูง เชิงรุกในการการดูแลสุขภาพโดยค้นหารหัสพันธุกรรมที่ผิดปกติในร่างกาย มีความแม่นยำมากถึง 90% โดยมีการนำมาใช้แพร่หลายในกลุ่มโรคมะเร็ง ซึ่งมีประโยชน์สำหรับ 

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ต้องการทราบว่ามียีนผิดปกติอะไรที่อาจส่งต่อลูกหลานได้ในอนาคต รวมถึงผลการตรวจจะช่วยนำมาวางแผนการรักษาโรคที่จำเพาะเจาะจง 
  • ญาติสายตรงของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ต้องการทราบว่าในร่างกายของตนเอง มียีนผิดปกติที่ถ่ายทอดมาจากบิดามารดาหรือไม่ เพื่อหาแนวทางป้องกันในอนาคต โดยช่วงอายุของญาติสายตรงที่เหมาะแก่การเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค ได้แก่ 
    • ญาติสายตรงที่อายุ 12 ปีขึ้นไป ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งชนิด FAP 
    • ญาติสายตรงที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งชนิด HNPCC 
  • ผู้ที่สุขภาพดี อายุตั้งแต่ 20ปีขึ้นไป ที่ต้องการทราบว่าตนเองมียีนผิดปกติที่อาจได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดาหรือไม่ เพื่อหาแนวทางป้องกันในอนาคต  

อ่านเพิ่มเติม โปรแกรมตรวจยีนมะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: ทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้นได้ที่นี่ | ทำไมจึงต้องส่องกล้องเพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 45 ปี | หยุดมะเร็งลำไส้ ในครอบครัว ได้ด้วยการตรวจยีนมะเร็ง | การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย | การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)


การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย

 

ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่
แผลเล็ก เจ็บน้อย

แต่เดิมการผ่าตัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จำเป็นต้องผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งและตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล ทั้งเรื่องการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การพักฟื้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและอาการหลังผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันได้มีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Colectomy) โดยใช้วิธีเจาะหน้าท้องเพียงแผลเล็กๆ เพื่อสอดเครื่องมือติดกล้องที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปดูและทำการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ๆ ออก มีผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Colostomy) ที่ต้องใช้เวลายาวนานและค่าใช้จ่ายระหว่างการพักฟื้นที่มากกว่า

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องราคาเท่าไหร่ ใช้สิทธิประกันภัยได้หรือไม่? คลิกที่นี่

สมิติเวชมีทีมพร้อมช่วยเหลือและให้บริการ

  • ปรึกษาแผนการรักษากับแพทย์ วิดีโอคอลผ่านทางออนไลน์ (Second Opinion)
  • วางแผนการรักษาหากมีประวัติการรักษาหรือใบประเมินราคาจากโรงพยาบาลอื่น
  • วางแผนค่าใช้จ่ายโดยทีมประเมินราคา พร้อมการันตีราคาให้ (เฉพาะหัตถการที่มีแพ็กเกจที่ไม่มีความซับซ้อน)
  • ตรวจสอบสิทธิความคุ้มครองเบื้องต้นกับบริษัทประกัน ทั้งไทยและต่างประเทศ (เฉพาะบริษัทประกันคู่สัญญา)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: ทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้นได้ที่นี่ | ทำไมจึงต้องส่องกล้องเพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 45 ปี | หยุดมะเร็งลำไส้ ในครอบครัว ได้ด้วยการตรวจยีนมะเร็ง | การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย | การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)


การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการ = มะเร็งลุกลาม

สมิติเวช นำวิวัฒนาการแพทย์ “Precision Medicine” เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยมะเร็ง โดยการเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง ไม่มีผลต่อเซลล์ปกติ มีอัตราการตอบสนองต่อการรักษาสูงถึง 80% เทียบกับเคมีบำบัดที่ 30%

การรักษาแบบเดิม

การรักษาแบบ Targeted Therapy

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

สมิติเวชมีทีมพร้อมช่วยเหลือและให้บริการ

  • ปรึกษาแผนการรักษากับแพทย์ วิดีโอคอลผ่านทางออนไลน์ (Second Opinion)
  • วางแผนการรักษาหากมีประวัติการรักษาหรือใบประเมินราคาจากโรงพยาบาลอื่น
  • วางแผนค่าใช้จ่ายโดยทีมประเมินราคา พร้อมการันตีราคาให้ (เฉพาะหัตถการที่มีแพ็กเกจที่ไม่มีความซับซ้อน)
  • ตรวจสอบสิทธิความคุ้มครองเบื้องต้นกับบริษัทประกัน ทั้งไทยและต่างประเทศ (เฉพาะบริษัทประกันคู่สัญญา)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง: ทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้นได้ที่นี่ | ทำไมจึงต้องส่องกล้องเพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 45 ปี | หยุดมะเร็งลำไส้ ในครอบครัว ได้ด้วยการตรวจยีนมะเร็ง | การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย | การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)


คะแนนบทความ
สมัคร

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?