อยากให้ลูกแข็งแรง วางแผนให้พร้อมก่อนมีลูก อยากให้ลูกแข็งแรง วางแผนให้พร้อมก่อนมีลูก

อยากให้ลูกแข็งแรง วางแผนให้พร้อมก่อนมีลูก

ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567

อยากให้ลูกแข็งแรง วางแผนให้พร้อมก่อนมีลูก

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

ราคาโปรโมชั่น
(บาท)

โปรแกรม ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ชาย (18 รายการตรวจ)  | รายละเอียด 8,000
12,000
โปรแกรม ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หญิง (24 รายการตรวจ)  | รายละเอียด 14,000
18,000

โปรแกรม ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

ตรวจคัดกรองพาหะโรคทางพันธุกรรม กว่า 400 ยีน ครอบคลุม 400 โรค

ราคา
(บาท)

ราคา 1 ท่าน    ชาย / หญิง    30,800*
ราคา 2 ท่าน   ชาย และ หญิง 52,360*
30,800 / ท่าน

หมายเหตุ

  • ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
  • *ราคานี้ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
  • กรุณานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
  • รับบริการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
    • ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 2 ชั้น 1


การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน คืออะไร

เพื่อเป็นการตรวจเช็กสภาพความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูกน้อยที่จะถือกำเนิดขึ้นมาในอนาคต  ซึ่งมีพ่อแม่บางคนอาจจะเป็นพาหะนำโรคโดยที่ไม่รู้ตัว  เพื่อสะกัดกั้นการส่งต่อโรคสู่คนที่เรารัก  เตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่  และเป็นการวางแผนเพื่อที่จะมีบุตรที่สมบูรณ์ได้อีกด้วย   โดยทั่ว ๆ ไป รายการตรวจมักจะประกอบไปด้วยดังนี้

การตรวจเลือด
  • ตรวจกรุ๊ปเลือด ให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุ๊ปใด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
  • ตรวจชนิดของเลือด (Rh Factor) คนไทยโดยทั่วไปจะมีค่า Rh+ แต่บางคนก็อาจพบได้ว่ามีชนิด Rh- ถ้าฝ่ายว่า ที่คุณแม่มีเลือด Rh- เมื่อตั้งครรภ์จะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกหรือมีปัญหาต่อลูกในครรภ์ได้
  • เป็นการตรวจหาความผิดปกติของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงว่ามีความผิดปกติของ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือไม่ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของโรคนี้ก็จะส่งผลกระทบเรื่องสุขภาพถึงลูกได้
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากพบว่ามีเชื้อแสดงว่าคุณเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด ถ้าหากไม่มีการป้องกันให้ดีอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อยสามเดือน เพราะหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ หากพบเชื้อจะได้ป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่ลูก 
  • ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส หากมีการติดเชื้อของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถ้ามีการรักษาก่อนแต่งงานแล้วก็สามารถหายขาดได้และไม่มีการติดต่อไปยังอีก ฝ่ายได้ ส่วนมากวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดมากกว่าอาการที่ปรากฏ
  • ตรวจเลือดหาเชื้ออื่นตามความเสี่ยง เช่น เชื้อเริม ตรวจหาพยาธิแมว เป็นต้น 
การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ในฝ่ายหญิงอาจต้องตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่างเพื่อประเมินมดลูกและปีกมดลูกตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร
การตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ คืออะไรการตรวจคัดกรองพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่า การตรวจคัดกรองพาหะ เป็นทางเลือกสำหรับบุคคล หรือคู่รักที่วางแผนจะมีบุตร การตรวจนี้เป็นการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อระบุว่าผู้เข้ารับการตรวจเป็นพาหะของการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ แม้ว่าผู้ที่เป็นพาหะมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่สามารถส่งต่อยีนที่กลายพันธุ์ไปยังลูกหลาน ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกเกิดมาพร้อมกับโรคทางพันธุกรรม    และเป็นข้อมูลสำหรับวางแผนมีบุตร โดยโรคพันธุกรรมที่ซ่อนในพ่อและแม่ที่เป็นพาหะ ซึ่งพบได้บ่อยทั้งในคนไทยและต่างชาติ    ซึ่งปัจจุบันสามารถวินิจฉัยพาหะของโรคได้มากกว่า 400 โรค 
ใครบ้างที่เหมาะสมในตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์
  • คู่สมรสทั่วไป
  • คู่สมรสที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือเป็นของพาหะของโรคคือมีครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก ที่ต้องการมีบุตรที่สมบูรณ์ที่สุด
การตรวจยีนก่อนการมีบุตร มีประโยชน์อย่างไร

ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบความบกพร่องทางพันธุกรรมของทารกที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 3 – 5 % ในคนทั่วไป ในกรณีที่เข้ารับการตรวจพบว่ามีโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตกใจหรือเป็นกังวลจนเกินไป เนื่องจากปัจจุบันมีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่สามารถช่วยวางแผนเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว

นอกจากการดูแลคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์แล้ว แพทย์ยังคำนึงถึงการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อช่วยให้การเจริญพันธุ์ประสบความสำเร็จ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการฝังตัวซึ่งเรียกว่า Uterine Receptivity Test ร่วมกับการตรวจ ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) แหล่งพลังงานของเซลล์ในตัวอ่อน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 50%

การตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ สามารถวิเคราะห์ยีนที่มีปัญหายีนด้อยได้กว่า 400 ยีน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์หาพาหะของโรคพันธุกรรมที่มีโอกาสก่อให้เกิดความพิการและทุพพลภาพในอวัยวะต่างๆ ของทารกได้ครอบคลุมมากขึ้น

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ มีวิธีการตรวจ และการเตรียมตัวการตรวจอย่างไร

การตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ สามารถขอคำปรึกษาได้จากสูตินรีแพทย์ โดยเป็นการตรวจจากเลือด ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร หลังจากส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว จะรอประมาณ 3 สัปดาห์จึงจะทราบผล

จะเห็นได้ว่าการ ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ ในระดับยีน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่คุณแม่ทุกคน รวมถึงคู่สมรสทุกคู่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคภัยมากมายอาจไม่ปรากฏให้เห็น แต่กลับแฝงตัวอยู่ในยีน เพื่อรอส่งต่อไปยังลูกน้อย การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นแค่เพียงการเตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อคุณแม่เท่านั้น แต่รวมถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูกน้อยที่จะเกิดมาด้วย


หากพ่อและแม่เป็นพาหะการกลายพันธุ์ของโรคทางพันธุกรรม ลูกที่เกิดมาจะมีความเสี่ยงยังไง?

ลักษณะการถ่ายทอดของโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกที่พบบ่อย จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ เป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย (Autosomal recessive) และ พาหะของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมเพศ (X-linked recessive)

ในกรณีที่พ่อและแม่ เป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมร่างกาย ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค 25% (1 ใน 4) และมีโอกาสเป็นพาหะเหมือนพ่อและแม่ 50% (2 ใน 4) 

ในกรณีของโรคทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยบนโครโมโซมเพศ หากแม่เป็นพาหะและพ่อปกติ ลูกสาวจะมีโอกาสเป็นพาหะอยู่ที่ 50% (1 ใน 2) และลูกชายจะมีโอกาสเป็นโรค 50% (1 ใน 2) 

เพราะโรคทางพันธุกรรม อาจมองไม่เห็นผ่านการตรวจอัลตร้าซาวด์ #การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ในระดับยีนสามารถช่วยป้องกันโรคทางพันธุกรรมได้  เช่น โรคธาลัสซีเมีย  โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคซิสติกไฟโบรซิส (โรคสารคัดหลั่งผิดปกติ)  โดยสามารถคัดกรอง พาหะโรคทางพันธุกรรม กว่า 400 ยีน ครอบคลุม 400 โรค

6 โรคพันธุกรรมจากยีนร้ายที่ซ่อนในพ่อและแม่ที่เป็นพาหะ ซึ่งพบได้บ่อยทั้งในคนไทยและต่างชาติ ได้แก่

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia syndromes)เกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้เป็นอันดับ 1 ในคนไทย ซึ่งถ้าพ่อและแม่มียีนแฝงหรือเป็นพาหะทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียก็มีถึง 25% แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียก็คือ 100%
SMA (Spinal Muscular Atrophy) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดแบบยีนด้อย พบได้ในทุกเชื้อชาติ เป็นโรคของเซลล์ประสาทไขสันหลังที่เรียกว่า Motor neuron เสื่อมส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและการเสื่อมของกล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังไม่สามารส่งสัญญาณไปกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ พบได้ตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่
Cystic Fibrosis เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทำให้สารคัดหลั่งของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น เช่น ปอด ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน
Fragile X โรคที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาของสมองมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้า ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านโครโซม X แบบลักษณะเด่น ผู้ป่วยมักเป็นเด็กผู้ชาย และมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กผู้หญิง บางรายมีอาการออทิสติก เช่น สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง มีปัญหาในการใช้ภาษาในการสื่อสาร เป็นต้น
โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase)เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบนโครโมโซม X (X-linked recessive) เกิดจากความผิดปกติของยีน G6PD ที่อยู่บนโครโมโซมเพศ สำหรับแม่ที่เป็นพาหะ (Carrier) มีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 และมีโอกาสลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 (ข้อมูลอ้างอิง : สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://tsh.or.th/Knowledge/Details/43 , https://www.tsh.or.th/Knowledge/Details/29)
โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก

เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัว อันนำไปสู่ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง หากควบคุมไม่ได้อาจจะนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิต ทำให้เลือดออกเองได้หรือเกิดหลังจากการบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบนโครโมโซม X (X-linked recessive) สำหรับแม่ที่เป็นพาหะมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 และมีโอกาสลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 เกิดจากขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. โรคฮีโมฟีเลีย เอ (hemophilia A) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนแฟคเตอร์ 8 ในเลือด
  2. ฮีโมฟีเลีย บี (hemophilia B) เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนแฟคเตอร์ 9 ในเลือด

ซึ่งแฟคเตอร์ทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยห้ามเลือดและทำให้เลือดแข็งตัว อุบัติการณ์ของโรคฮีโมฟีเลียที่พบในประชากรไทยเท่ากับ 1:13,000 ถึง 1:20,000 ของประชากร กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือหรือยุโรปประมาณ 1 : 5,000
(ข้อมูลอ้างอิง : https://www.roche.co.th/solutions/focus-areas/haematology/haemophilia สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย https://tsh.or.th/Knowledge/Details/90)