โปรแกรมตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Gut  Microbiome) โปรแกรมตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Gut  Microbiome)

โปรแกรมตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Gut  Microbiome)

ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Gut  Microbiome)

เช็คสัญญาณภาวะขาดสมดุลของจุลินทรีย์
ถ้ามีปัญหาเหล่านี้

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • เป้นสิวอักเสบเรื้อรัง
  • ผื่นภูมิแพ้เป็นๆหายๆลดน้ำหนักยาก

รู้หรือไม่? จุลินทรีย์ในลำไส้ มีมากถึง 5,000 ชนิด 

การตรวจหาจุลินทรีย์ชนิดดี และชนิดไม่ดีในร่างกาย ด้วยเทคนิค NGS สามารถวิเคราะห์จุลินทรีย์ได้มากกว่า 100 สายพันธุ์

โปรแกรม            ราคาโปรโมชั่น
(บาท)
โปรแกรม  ตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Gut  Microbiome)
เพื่อหาจุลินทรีย์ชนิดดี และ ไม่ดีในร่างกาย   ด้วยเทคนิค NGS  สามารถวิเคราะห์จุลินทรีย์ได้ มากกว่า  100 สายพันธุ์   และสามารถบอก ความเสี่ยงโรคได้ 9 โรค
18,000
25,000

การตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome) เป็นการตรวจความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ ชนิดดี และ ไม่ดี ในร่างกายผ่านตัวอย่างอุจจาระที่นำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถวิเคราะห์จุลินทรีย์ได้ตั้งแต่ระดับสายพันธุ์ (Species) มากกว่า 100 สายพันธุ์  และ สามารถวิเคราะห์ผลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงได้ 9 โรค

  • โรคอ้วน
  • โรคลำไส้แปรปรวนเรื้อรัง
  • โรคเบาหวาน
  • คอเลสเตอรอล
  • โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเนื้อสัตว์ CVD Associated with meat intake
  • ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • จอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ

สภาวะจุลินทรีย์ไม่สมดุล
การมีภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy  microbiome) จะช่วยสร้างชั้นเมือก (mucus layer) ที่เป็นเกราะป้องกัน ให้กับ เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ (epithelial cell) ทำให้แบคทีเรียก่อโรค (harmful bacteria) ไม่สามารถเจาะเข้าไปในผนังลำไส้ได้ หากเกิดภาวะขาดสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร อาจเพิ่มโอกาสเกิดโรค เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ IBD (Inflammatory Bowel Disease) และโรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS (Irritable bowel syndrome)   ซึ่งมีปัจจัยจากสภาวะการขาดสมดุลของแบคทีเรีย  มีแบคทีเรียก่อโรคเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียก่อโรค สามารถเจาะเข้าไปยังเซลล์ ส่งผลให้เกิดการอักเสบเเละเสี่ยงต่อการเป็นโรค

ตรวจอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน
ตรวจด้วยเทคนิค NGS Next-Generation Sequencing ที่สามารถวิเคราะห์จุลินทรีย์ ได้ตั้งแต่ระดับสายพันธุ์ (Species) มากกว่า 100 สายพันธุ์ สามารถเปรียบเทียบระหว่างแบคทีเรียก่อโรคกับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ได้ว่ามีแบคทีเรียชนิดไหนบ้าง สามารถวิเคราะห์ผลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงได้ 9 โรค ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน แค่ทำการ swap คล้ายกับการตรวจ ATK และสามารถนำไปตรวจที่บ้านได้ หากไม่สะดวก และ จะมีเจ้าหน้าที่จากทางโรงพยาบาล นัดหมายเพื่อรับสิ่งส่งตรวจ และส่งไปตรวจยังประเทศ เกาหลี
ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจ

ช่วยให้ทราบว่า

  • ในร่างกายเรามีความหนาแน่น (Density) ของจุลินทรีย์ชนิดใด และมีปริมาณมากน้อยเพียงใด
  • พบจุลินทรีย์กี่ชนิด และมีความหลากหลายอย่างไร
  • จุลินทรีย์ที่พบมีหน้าที่อย่างไร
ทราบผลแล้ว ดูแลรักษาต่ออย่างไร แพทย์ประเมินความเสี่ยงรวมถึงวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่อาจเกิดจากการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน ไมเกรน โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถแนะนำสารอาหารเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนจุลชีพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ ทั้งในรูปแบบของอาหาร และอาหารเสริม รวมถึงการปรับพฤติกรรม การนอน และการออกกำลังกายให้เหมาะสม ดังนี้
  • สมาคมระหว่างประเทศ IASD แนะนำให้ผู้ใหญ่นอนหลับ 6-8 ชั่วโมง โดยพบว่าการนอนหลับเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและลดความเครียด ช่วยให้สภาพแวดล้อมในลำไส้มีสุขภาพดีกว่าการนอนน้อยหรือนอนไม่หลับเป็นประจำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำมากกว่า 30 นาทีต่อวัน 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลำไส้ ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและยังช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลชีพ
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป
  • ลดอาหารรสเผ็ด เค็ม หรือรสจัด
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง
  • บริโภคโพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์) พร้อมกับพรีไบโอติก (ทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์) สามารถช่วยป้องกันโรคลำไส้และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย ขณะเดียวกันยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มการทำงานของลำไส้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานโพรไบโอติกส์ปริมาณมากในคราวเดียวอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องร่วงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
การตรวจนี้เหมาะสมสำหรับใคร

ผู้ที่มีสัญญาณเตือนว่าอาจมีปัญหาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

  • มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ
  • เป็นสิวอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
  • เป็นหอบหืด
  • มีระบบการเผาผลาญไม่ดี
  • มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอัลไซเมอร์
  • มีกลิ่นปาก
  • มีเมือกในอุจจาระ
  • รับประทายาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  • ภาวะแพ้คาร์โบไฮเดรต
  • เหนื่อยล้าหมดแรง
  • ใช้ยาลดกรด เป็นประจำ
  • คัดจมูก

** ถ้ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อ หรือมากกว่า คุณอาจมีภาวะความไม่สมดุลของแบคทีเรีย

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ
  • งดยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3 วันก่อนตรวจ

หมายเหตุ:

  • รับบริการได้ที่  ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคล อาคาร 2 ชั้น 3  โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท