โปรแกรมส่องกล้องทางเดินอาหาร - สมิติเวช ศรีนครินทร์
การตรวจคัดกรองระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญ สามารถทำได้โดยไม่ต้องรอให้มีอาการเพราะความผิดปกติบางอย่างอาจไม่แสดงอาการออกมาชัดเจน เราจึงควรเข้ารับการตรวจเช็กเพื่อหาความผิดปกติ เช่น กรดไหลย้อน กระเพาะอักเสบ-แผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้ การติดเชื้อแบคทีเรีย ติ่งเนื้อ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยิ่งตรวจพบความผิดปกติต่างๆเร็วยิ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การตรวจทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่รู้สึกเจ็บ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจเช็กระบบทางเดินอาหาร
- อายุ 45 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ หรือติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่
- มีอาการปวดท้อง, ท้องอืด
- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
- ท้องเสียสลับท้องผูก
- มีเลือดออกหรืออาการปวดท้อง โดยไม่เกี่ยวข้องกับอายุ
โปรโมชั่น ส่องกล้องทางเดินอาหาร
กับ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
โปรแกรม | ราคาโปรโมชั่น (บาท) |
โปรแกรมส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารโดยให้ยาชาเฉพาะที่ (Gastroscopy Under Local Anesthesia) | 15,000 |
โปรแกรมส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารโดยให้ยาระงับความรู้สึกโดยแพทย์ผู้ทำหัตถการ (Gastroscopy Under Moderate Sedation) | 17,200 |
โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่โดยให้ยาระงับความรู้สึกโดยแพทย์ผู้ทำหัตถการ (Colonoscopy Under Moderate Sedation) | 24,500 |
โปรแกรมส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ (Gastroscopy and Colonoscopy Under Moderate Sedation) | 41,700 |
การเตรียมตัวส่องกล้องทางเดินอาหาร
การเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้อง จำเป็นต้องพบแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลประวัติส่วนตัว เช่น โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ อีกทั้งแพทย์จะให้ข้อมูลการเตรียมตัวส่องกล้อง รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เมื่อผู้เข้าตรวจตกลงจะเข้ารับการส่องกล้องแล้ว สามารถตัดสินใจส่งกล้องในวันเดียวกันได้เลย หรือจะทำนัดเพื่อส่องกล้องอีกครั้ง โดยมีการเตรียมตัว ดังนี้
- งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการส่องกล้องอย่างน้อย 6 ชั่วโมง, กรณีส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ควรงดผักและผลไม้ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน
- เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ทำการซักประวัติส่วนตัว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ
- แพทย์ใช้เวลาส่องกล้อง ประมาณ 30-60 นาที, กรณีให้ยานอนหลับหลังส่องกล้องเสร็จ พักฟื้นต่อ 2 ชั่วโมง และควรมีญาติมารับกลับ
- กรณีส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การรับประทานยาระบาย เพื่อขับถ่ายให้สำไส้สะอาด โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- แพทย์ให้ยานอนหลับ กรณีเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว อาจใช้วิธีการดมยานอนหลับ ชนิดไม่รุนแรงและหมดฤทธิ์ได้เร็ว