1.กระดูกสันหลังปกติตั้งแต่แรก แต่มาคดในภายหลัง ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่อาจเกี่ยวกับสารฮอร์โมนบางอย่าง ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว ทำให้มีผลต่อการเกิดหลังคดได้ พบได้ประมาณร้อยละ 80 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอายุ
- กลุ่มอายุ แรกเกิด – 1 ปี จะเริ่มยืนและเดิน แต่กลุ่มนี้ร้อยละ 90 จะหายได้เอง
- กลุ่มอายุ 3-10 ปี มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเป็นมากไม่รักษาจะมีปัญหาในระยะยาวได้
- กลุ่มอายุ 10-18 ปี กระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นพบได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ซึ่งหลังคดถ้าเป็นไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แพทย์แนะนำให้เฝ้าติดตามดูความเปลี่ยนแปลง เพราะกระดูกสันหลังอาจคดมากขึ้นเรื่อยๆ และมากจนผิดปกติได้ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายผิดปกติ แพทย์จะตรวจวัดองศาความคดของกระดูก ถ้าพบว่าคดระหว่าง 30-40 องศา อายุต่ำกว่า 15 ปี จะแก้ไขได้ด้วยการใส่เสื้อสำหรับแก้ความคด ถ้าใส่ได้ดีตามคำแนะนำของแพทย์จะได้ผล แต่ถ้าไม่ดีขึ้น ความคดเพิ่มขึ้น ต้องแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัด โดยใส่เหล็กดามให้กระดูกสันหลังตรงขึ้นได้
2. กระดูกสันหลังคดตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากยาที่แม่ รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ กลุ่มนี้เกิดจากกระดูกผิดปกติ เช่น การเจริญของกระดูกสันหลังไม่เท่ากันหรือไม่สมดุลกัน ถ้ากระดูกสันหลังคดแล้วจะคดมากขึ้นค่อนข้างเร็ว แพทย์จะทำการรักษาทันที เพราะถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นอัมพาตได้
3. มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและระบบประสาทอยู่แล้ว เช่น มีความผิดปกติของสมอง สมองพิการ โรคโปลิโอ โรคของระบบกล้ามเนื้อ ฯลฯ จะมีโอกาสทำให้กระดูกสันหลังคดเมื่อโตขึ้นได้
4. โรคเท้าแสนปม ร่างกายจะมีปุ่ม และหรือปานตามตัว และพบกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยประมาณร้อยละ 30 ผู้ปกครองจะสังเกตได้อย่างไร ว่าเด็กอาจเป็นกระดูกสันหลังคด

ตรวจกระดูกสันหลังของเด็กได้ด้วยตัวเอง
ผู้ปกครองสามารถตรวจกระดูกสันหลังของเด็กคร่าวๆได้ด้วยตัวเอง โดยให้เด็กยืนตัวตรง แล้วดูแนวสันหลังว่าตรงหรือไม่ จากนั้นให้เด็กก้มหลังลง มือแตะพื้น ถ้ามองตามเส้นแนวกระดูกสันหลังแล้วไม่คด ก็แสดงว่าปกติ แต่ถ้ามีแนวไม่ตรง และสงสัยว่าจะคด หรือสังเกตุเห็นอาการดังนี้
- แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
- ระดับหัวไหล่หรือบ่าทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน สะบักหรือกระดูกที่เป็นคล้ายๆ ปีกมีการนูนตัวมากกว่า อีกด้านหนึ่ง
- ศีรษะไม่อยู่กึ่งกลางในระหว่างแนวกระดูกเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง
- สะโพกด้านใดด้านหนึ่งยกขึ้น สูงกว่าอีกด้าน
- กระดูกซี่โครงมีระดับความสูงไม่เท่ากัน
- ระดับเอวไม่เท่ากัน
- สภาพผิวมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากอีกด้าน เช่น มีรอยบุ๋ม, มีขนขึ้น, สีผิวเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีการเอียงของลำตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและติดตามผล ว่าอาจมีอาการมากขึ้นในระยะยาวต่อไปหรือไม่ในอนาคต กระดูกสันหลังคด ตั้งแต่วัยรุ่น ถ้าไม่รักษาจะคดเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพได้มาก เช่น ตัวเอียง ไหล่ตก แนวสะโพกเอียง รูปร่างพิการ ปวดหลัง มีปัญหาทางระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่าย เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ หัวใจทำงานหนัก อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้
กระดูกสันหลังคดมีผลกระทบต่อสุขภาพดังนี้
- แนวสะโพกเอียง รูปร่างพิการ
- ปวดหลัง
- มีปัญหาทางระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่าย
- เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ
- หัวใจทำงานหนักจนสามารถเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคดทำอย่างไร
นอกจากการดูลักษณะที่ผิดปกติแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และอาจส่งตรวจทางรังสี เพื่อการวินิจฉัย และประเมินระดับความรุนแรงของโรค รวมถึงการประเมินอายุกระดูกผู้ป่วย
ทางเลือกการรักษา กระดูกสันหลังคดในเด็ก
- การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด ใช้ในกรณีที่เด็กมีมุมองศาที่คดไม่มาก โดยใช้การสังเกตอาการ รักษาทางกายภาพบำบัด หรืออาจใช้เสื้อเกราะในบางราย
- การรักษาด้วยการ ผ่าตัดกระดูกสันหลังคดในเด็ก ใช้ในกรณีที่เด็กมีมุมองศาที่คดมาก หรือมีการเพิ่มของมุมองศาที่คดมากขึ้นขณะติดตามการรักษา
- กายภาพ โดยการสอนการจัดท่าขณะนอน การทรงท่า และการออกกำลังกายต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน และการให้การรักษานี้ควรเป็นนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางเกี่ยว กับโรคกระดูกสันหลังคด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด