Robotic-Assisted Walking Therapy for Children
การรักษาด้วยเครื่องมือที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง อันเกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง ไขสันหลัง กระดูกและกล้ามเนื้อ เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมองและ ไขสันหลัง รวมถึงผลกระทบจากอุบัติเหตุร้ายแรงต่างๆ
การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์มุ่งเน้นการใช้กล้ามเนื้ออย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ทำให้การหัดเดินของผู้ป่วยเด็กเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส อันเป็นบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำกายภาพบำบัดแบบเดิม
หุ่นยนต์อัจฉริยะประกอบด้วยตัวหุ่นยนต์ฝึกเดิน ระบบพยุงน้ำหนักตัวที่ทันสมัย ลู่หัดเดิน และระบบจอคอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยเด็ก ทำให้ฝึกเดินได้โดยไม่เบื่อหน่าย แจ้งค่าผลลัพธ์ของการฝึกเดินที่มีการพัฒนาขึ้นในแต่ละครั้งของการฝึก
ระบบจอคอมพิวเตอร์ในหุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถกำหนดโปรแกรมการหัดเดินที่สอดคล้องกับโรคและความต้องการของผู้ป่วย สามารถกำหนดมิติของการพยุงการเดินได้ในระดับต่างๆ ของขาแต่ละข้าง มีระบบสะท้อนผลของการฝึกเดิน แบบ real time รวมทั้งสามารถสร้างภาพเสมือนจริงบนจอภาพเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความสนุกและอารมณ์ร่วมในการฝึกเดินอีกด้วย
ผู้ป่วยเด็กที่เหมาะสมต่อการฝึกด้วยหุ่นยนต์ Robotic
- ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาทิ อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บของสมอง ไขสันหลัง และผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบทางระบบประสาทจากอุบัติเหตุ
- ผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด
- ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะของระบบประสาทผิดปกติ อื่นๆ เช่น โรคพาร์กินสัน สมองฝ่อ
Redcord Physiotherapy for Children
เครื่องมือทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพเรื้อรังของกระดูกและกล้ามเนื้อในเด็กและผู้ใหญ่
Redcord เป็นการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยวิธีการแขวนและพยุงไว้บนจุดตรึง เพื่อช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ต้องออกแรงต้านกับแรงโน้มถ่วง โดยแรงโน้มถ่วงนี้ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกันกับการเคลื่อนไหวที่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ฝึกสอนให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วย Redcord
- ผู้ป่วยสมองพิการ (Cerebral palsy)
- ผู้ป่วยหลังได้รับอุบัติเหตุ (Recent injury)
- ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด (Surgical inference)
- ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s)
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บตามข้อและกระดูก (Joint painful)
|
ประโยชน์ของการรักษาด้วย Redcord
- ผู้ป่วยเด็กสามารถทำการเคลื่อนไหวร่างกายได้ด้วยตนเองและสามารถเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม
- รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังของร่างกาย เช่น โรคพาร์กินสัน สมองพิการ
- การทำกายภาพด้วย Redcord จะช่วยลดอาการปวด อักเสบกล้ามเนื้อ จึงช่วยให้ผู้ป่วยเด็กอดทนต่อการทำกายภาพบำบัดได้มากขึ้น
- การแขวนพยุงช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากเป็นการทำกายภาพตามจังหวะร่างกาย
- การทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่อง Redcord สามารถพัฒนาระบบสมองและกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผู้ป่วยเด็กสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
ธาราบำบัด (Aqua therapy)
การรักษาด้วยธาราบำบัด เป็นการฝึกออกกำลังกายในน้ำให้กับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และเสียสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาและลำตัว อันเนื่องมาจากปัญหาระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคและจากอุบัติเหตุ
สระธาราบำบัดดูแลด้วยระบบผลิตคลอรีนอัตโนมัติจากเกลือ (Salt-Chlorinator) ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาของเด็ก
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยธาราบำบัด
- ผู้ป่วยสมองพิการ (Cerebral palsy)
- ผู้ป่วยหลังได้รับอุบัติเหตุ (Recent injury)
- ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด (Surgical inference)
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บตามข้อและกระดูก (Joint painful)
|
ประโยชน์ของการรักษาด้วยธาราบำบัด
- ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ด้วยตนเองและสามารถเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อได้อย่างเหมาะสม
- รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
- ลดอาการปวด และอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
* ผู้ป่วยเด็กที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายเองได้ ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยธาราบำบัด
Snoezelen Multi-sensory environments
การกระตุ้นความรู้สึกพื้นฐานรูปแบบหนึ่ง โดยใช้สิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งเร้าทางความรู้สึกพึงพอใจ (Basic Sensory stimuli) เช่น
- การรับความรู้สึกด้านการมองเห็น (Visual stimuli)
- การได้ยิน (Auditory stimuli)
- การได้กลิ่น (Smell/Olfactory stimuli)
- การสัมผัส (Touch/Tactile stimuli)
|
โดยสอดคล้องกับความชอบหรือประสบการณ์ของแต่ละคน (Sensory experience) เพื่อก่อให้เกิดการผ่อนคลาย (Relaxation) หรือมีความตื่นตัว (Arousal) ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะในการรับความรู้สึกของแต่ละคน
สามารถใช้กับผู้รับบริการที่หลากหลาย
- ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
- ผู้ป่วยสมองเสื่อม
- เด็กพิเศษ
- เด็กปกติแต่ที่มีภาวะปวดเรื้อรัง
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
-
ประโยชน์ทางการบำบัดรักษา
- เพิ่มช่วงสมาธิ
- เพิ่มทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- เพิ่มการสื่อสารและการสำรวจ
- ช่วยให้ผ่อนคลาย
- ลดภาวะซึมเศร้า
- ลดความกลัว ความเบื่อหน่าย
Multidisciplinary Team
การรักษาที่สมบูรณ์ที่สุด คือการทำให้เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ และการเรียนรู้ ดังนั้นการบริการที่สำคัญและปรัชญาหลักของการฟื้นฟูเด็ก คือความร่วมมือในการรักษาแบบสหสาขา
- การประเมินโดยแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสม การให้ยาเพื่อควบคุมสภาวะต่างๆ เช่น อาการเกร็ง การเคลื่อนไหวผิดปกติ รวมถึงการสร้างสมาธิให้เด็ก
- การฝึกกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและการควบคุมกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว การนั่งเดินต่างๆ ทั้งการฝึกแบบทั่วไปและเทคนิคพิเศษอื่นๆ เช่น การใช้เทปช่วยยึดกล้ามเนื้อ การบำบัดด้วยเทคนิควอยตา (Vojta therapy) และการบำบัดด้วยเทคนิค Movement Analysis and Education Strategy (MAES therapy)
- การฝึกกิจกรรมบำบัด สำหรับการฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกการใช้มือทุกระดับ การฝึกกิจวัตรประจำวัน ฝึกการกลืนต่างๆ
- การฝึกอรรถบำบัด ฝึกการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการควบคุมปาก การพูด และการสื่อสาร
- การฝึกการเรียนรู้ โดยนักจิตบำบัด
- การทำกายอุปกรณ์เสริมและเทียม
|
ด้วยความพร้อมของทีมศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ทั้งความรู้ ความชำนาญ และเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หลากหลาย รวมถึงความร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อการรักษา วางแผน และผลักดันการฝึกเด็กให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแนวทางที่ชัดเจน ถือเป็นปรัชญาหลักและการรักษาที่สำคัญที่สุดของเรา