โรคกระดูกสันหลังคดในเด็ก ถ้าเป็นไม่มากจะไม่มีอาการ ไม่เหมือนกับเวลาที่เด็กไม่สบายจะมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตก และรีบพาเด็กมาพบแพทย์
โรคกระดูกสันหลังคดเป็นได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ถึงวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 80 เป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ จากการวิจัยพบว่าเด็กไทยมีกระดูกสันหลังคด ในอัตรา 1 ต่อ 10,000 คนซึ่งต้องรักษา
ส่วนกระดูกสันหลังคดน้อย ไม่ต้องรักษา ก็มีจำนวนไม่น้อย ระยะหลังพบเด็กเป็นโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ให้ความใกล้ชิดและสนใจเด็กมากขึ้น และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อเพิ่มขึ้น จึงสังเหตเห็นอาการกระดูกสันหลังคดน้อย โดยพันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุทำให้หลังคดได้ เนื่องจากพบว่า บางครอบครัวมีพี่น้องหลังคด หรือฝาแฝดหลังคด แต่บางครอบครัวมีลูกคนเดียว ก็อาจพบว่าเด็กเกิดมาหลังคดได้
1.กระดูกสันหลังปกติตั้งแต่แรก แต่มาคดในภายหลัง ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่อาจเกี่ยวกับสารฮอร์โมนบางอย่าง ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว ทำให้มีผลต่อการเกิดหลังคดได้ พบได้ประมาณร้อยละ 80 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอายุ
2. กระดูกสันหลังคดตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากยาที่แม่ รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ กลุ่มนี้เกิดจากกระดูกผิดปกติ เช่น การเจริญของกระดูกสันหลังไม่เท่ากันหรือไม่สมดุลกัน ถ้ากระดูกสันหลังคดแล้วจะคดมากขึ้นค่อนข้างเร็ว แพทย์จะทำการรักษาทันที เพราะถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นอัมพาตได้
3. มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและระบบประสาทอยู่แล้ว เช่น มีความผิดปกติของสมอง สมองพิการ โรคโปลิโอ โรคของระบบกล้ามเนื้อ ฯลฯ จะมีโอกาสทำให้กระดูกสันหลังคดเมื่อโตขึ้นได้
4. โรคเท้าแสนปม ร่างกายจะมีปุ่ม และหรือปานตามตัว และพบกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยประมาณร้อยละ 30 ผู้ปกครองจะสังเกตได้อย่างไร ว่าเด็กอาจเป็นกระดูกสันหลังคด
ผู้ปกครองสามารถตรวจกระดูกสันหลังของเด็กคร่าวๆได้ด้วยตัวเอง โดยให้เด็กยืนตัวตรง แล้วดูแนวสันหลังว่าตรงหรือไม่ จากนั้นให้เด็กก้มหลังลง มือแตะพื้น ถ้ามองตามเส้นแนวกระดูกสันหลังแล้วไม่คด ก็แสดงว่าปกติ แต่ถ้ามีแนวไม่ตรง และสงสัยว่าจะคด หรือสังเกตุเห็นอาการดังนี้
ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและติดตามผล ว่าอาจมีอาการมากขึ้นในระยะยาวต่อไปหรือไม่ในอนาคต กระดูกสันหลังคด ตั้งแต่วัยรุ่น ถ้าไม่รักษาจะคดเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพได้มาก เช่น ตัวเอียง ไหล่ตก แนวสะโพกเอียง รูปร่างพิการ ปวดหลัง มีปัญหาทางระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่าย เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ หัวใจทำงานหนัก อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้
นอกจากการดูลักษณะที่ผิดปกติแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และอาจส่งตรวจทางรังสี เพื่อการวินิจฉัย และประเมินระดับความรุนแรงของโรค รวมถึงการประเมินอายุกระดูกผู้ป่วย
กองทุนสมิติเวชเพื่อชีวิตใหม่ แก้ไขกระดูกสันหลังคด
ได้ตั้งจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2559 เพื่อช่วยเหลือผ่าตัดรักษาผู้ป่วยเด็กจนถึงวัยรุ่นที่ประสบกับภาวะโรคกระดูกสันหลังคดที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยในปัจจุบันได้ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกหลังคดให้เด็กๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นปกติแล้ว 12 ราย