เมื่อใครสักคนมีท่าทางหดหู่ ปลีกตัว หรือนิ่งเฉย เรามักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก คงมีไม่กี่คนจะคิดว่าใครคนนั้น อาจเป็นเพียงภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ซึ่งไม่ใช่โรคซึมเศร้า เขาเพียงแต่รู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน ไม่มีใจ หมดแรง และหมดไฟที่จะทำงานต่อไป
ปัจจุบันยังไม่มีการจำกัดอาการหรือระบุแน่ชัดถึงอาการ เนื่องจากผู้อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงานส่วนใหญ่ มีอาการคล้ายเป็นโรคซึมเศร้า เช่น มีความหดหู่ รู้สึกเครียด และไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน ในบางรายอาจมีอารมณ์ก้าวร้าว หรือหงุดหงิดเมื่อทำงานไม่ได้ดังใจอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตามผู้มีอาการหมดไฟในการทำงานอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป
ผู้มีภาวะหมดไฟในการทำงาน มีตัวกระตุ้นหรือปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน แบ่งเป็น 3 สิ่งเกี่ยวข้องดังนี้
ทั้งนี้ภาวะหมดไฟในการทำงานยังส่งผลถึงร่างกายด้วยเช่นกัน เช่น นอนไม่หลับ กังวลใจทุกครั้งที่ต้องไปทำงาน รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงปวดเมื่อยร่างกาย และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ในบางรายอาจมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกสิ้นหวัง ล้มเหลวในการทำงาน หงุดหงิดจนแสดงออกด้วยการทะเลาะเบาะแว้งในที่ทำงาน หากเป็นมากขึ้นอาจปิดกั้นตนเองจากเพื่อนร่วมงาน พูดน้อยลง ขาดสมาธิและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือหาทางออกโดยการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวเตร่ มาทำงานสาย และกลับบ้านดึก
หากสังเกตพบว่าอยู่ในข่ายภาวะหมดไฟในการทำงาน ควรเริ่มปรับสมดุลให้ชีวิตดังนี้
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกคนจะสามารถปรับตัวในสิ่งที่เคยเป็นมาตลอดชีวิต หรือสามารถสร้างสมดุลและระเบียบให้ตัวเอง รวมถึงหลากหลายปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงจนส่งผลถึงร่างกายและจิตใจอย่างมากตลอดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขได้ ควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กจนปล่อยปละละเลยเป็นเวลานาน ความเบื่อหน่ายการงานและภาวะหมดไฟในการทำงานอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้า ที่รักษายากและซับซ้อนขึ้นก็เป็นได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่