- ลูกกลืนกระดุม แบตเตอรี่ชนิดเม็ดกระดุม หรือวัสดุแหลมคม - ไม่ว่าเด็กจะมีหรือไม่มีอาการ แนะนำให้รีบพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อส่องกล้องทางเดินอาหารเอาสิ่งแปลกปลอมออกโดยเร็วที่สุด
- ลูกกลืนแม่เหล็ก - ส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 12-24 ชั่วโมง
- ลูกกลืนเหรียญ หรืออาหารอุดตัน - ถ้ามีอาการควรรีบเอาออกโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าไม่มีอาการแนะนำให้เอาออกภายใน 24 ชั่วโมง
- วัตถุยาว > 6 เซนติเมตร ไม่แหลมคม - แนะนำให้เอาออกภายใน 24 ชั่วโมงถึงแม้จะไม่มีอาการ
- ก้างปลาติดคอลูก - ส่วนใหญ่มากกว่า 60% จะติดที่ในลำคอ คอหอย ถ้าหลุดลงหลอดอาหาร และถ่ายภาพรังสีเห็นแสดงว่าก้างปลามีขนาดใหญ่ ให้ส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออก เนื่องจากจะทำให้หลอดอาหารทะลุ เป็นแผลหรือติดเชื้อได้ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยเอกซเรย์ แนะนำให้ส่องกล้องเมื่อมีอาการ
เมื่อลูกกลืนสิ่งแปลกปลอม แล้ววัตถุติดในกระเพาะอาหาร
1. แบตเตอรี่ชนิดเม็ดกระดุม
เด็กกลืนแบตเตอรี่ แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกโดยเร็วที่สุด
เด็กกลืนแบตเตอรี่ แล้วไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของแบตเตอรี่ที่กลืน ดังนี้
- เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี กลืนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่า 2 เซตติเมตร แต่ไม่มีอาการ : แนะนำ ส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 24-48 ชั่วโมง
- เด็กอายุมากกว่า 5 ปี กลืนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่า 2 เซตติเมตร แต่ไม่มีอาการ : สามารถรอได้โดยถ่ายภาพรังสีทุก 3-4 วัน ว่าสามารถหลุดออกจากกระเพาะได้เองได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถออกจากกระเพาะได้อาจพิจารณาส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออก แต่ถ้าสามารถหลุดจากกระเพราะอาหารได้ สามารถรอให้ถ่ายอุจจาระออกมาเองได้
2.แม่เหล็ก
เด็กกลืนแม่เหล็ก แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกโดยเร็วที่สุด
ลูกกลืนแม่เหล็ก แล้วไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของแม่เหล็กที่กลืน ดังนี้
- ไม่มีอาการ กลืนแม่เหล็ก 1 ชิ้น ขนาดเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร - ให้ถ่ายภาพรังสีช่องท้องเป็นระยะว่าสามารถหลุดออกจากกระเพาะได้เองได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถออกจากกระเพาะได้ใน 24 ชั่วโมง อาจพิจารณาส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อเอาออก แต่ถ้าสามารถหลุดจากกระเพราะอาหารได้ สามารถรอให้ถ่ายออกมาเอง แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้วัตถุที่เป็นแม่เหล็ก งดใส่เสื้อผ้าที่มีกระดุม เข็มขัดที่มีโลหะที่แม่เหล็กสามารถดูดได้
- ไม่มีอาการ กลืนแม่เหล็ก 1 ชิ้น ขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร - มักหลุดออกจากกระเพาะอาหารเองได้ยากจะต้องส่องกล้องเอาออก
- ไม่มีอาการ กลืนแม่เหล็กมากกว่า 1 ชิ้น แม่เหล็กไม่อยู่ติดเป็นก้อนเดียวกัน หรือแม่เหล็กรวมกับวัสถุที่เป็นเหล็ก - ให้ส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 12-24 ชั่วโมง เนื่องจากแม่เหล็กอาจมาติดกัน โดยมีเนื้อเยื่อกระเพาะหรือลำไส้แทรกระหว่างแม่เหล็ก ทำให้เกิดลำไส้เน่าและทะลุได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นแม่เหล็กชนิดที่มี neodymium เป็นส่วนประกอบจะมีความสามารถดูดติด กับโลหะหรือแม่เหล็ก สูงกว่าแม่เหล็กธรรมดา 5-10 เท่า จึงมีโอกาสเกิดอันตรายได้มาก
- ไม่มีอาการ กลืนแม่เหล็กมากกว่า 1 ชิ้น แม่เหล็กอยู่ติดเป็นก้อนเดียว - ให้พิจารณาเหมือนเป็นแม่เหล็ก 1 อัน ให้โดยดูที่ขนาดที่แม่เหล็กติดรวมกัน แนะนำให้ถ่ายภาพรังสีติดตามทุก 4-6 ชั่วโมง
3.เด็กกลืนเหรียญ
ลูกกลืนเหรียญ แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 24 ชั่วโมง
ลูกกลืนเหรียญ ไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของเหรียญที่กลืน ดังนี้
- ลูกกลืนเหรียญ ประมาณขนาดเหรียญ 1 หรือ 2 บาท (วัตถุขนาดเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร) - สามารถรอได้โดยเอกซเรย์ช่องท้องทุกสัปดาห์เพื่อประเมินว่าสามารถหลุดออกจากกระเพาะได้เองได้หรือไม่ ถ้ายังอยู่ในกระเพาะนานเกิน 4 สัปดาห์ให้ส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออก
- ลูกกลืนเหรียญ ประมาณขนาดเหรียญ 5 บาท (วัตถุขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 2.5 เซนติเมตร) – มักหลุดออกจากกระเพาะอาหารเองได้ยากจะต้องส่องกล้องเอาออก
4.ลูกกลืนวัตถุที่ยาว หรือแหลมคม
- วัตถุที่ยาว ขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร - แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 24 ชั่วโมง
- วัตถุแหลมคม - แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นอันตรายต่อทางเดินอาหารได้
- วัตถุไม่แหลมคม ไม่อันตราย ขนาดน้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร - สามารถรอให้ถ่ายอุจจาระออกเองได้ใน 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าติดนานกว่า 4 สัปดาห์ แนะนำส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อเอาออก
ลูกกลืนสิ่งแปลกปลอม แล้ววัตถุติดในลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่
1. แบตเตอรี่ชนิดเม็ดกระดุม เหรียญ วัตถุไม่แหลมคม ไม่อันตราย
ถ้าหลุดผ่านกระเพาะมาได้แล้วส่วนใหญ่จะถ่ายอุจจาระออกเองได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายใน 1-2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดลำไส้ทะลุหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น น้อยกว่าร้อยละ 1 แนะนำให้ดูอุจจาระทุกครั้งที่เด็กถ่ายจนกว่าจะพบสิ่งแปลกปลอมหลุดออกไม่ ถ้าไม่ออกมาใน 1 สัปดาห์ ให้พบแพทย์เพื่อเอกซเรย์ดูตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม ถ้าเด็กมีอาการ เช่น ปวดท้อง อาเจียน มีไข้ หรือถ่ายภาพรังสีแล้วสิ่งแปลกปลอมนั้นอยู่ตำแหน่งเดิมไม่เคลื่อนไหวใน 1 สัปดาห์แนะนำเอาออกด้วยวิธีผ่าตัด ไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีส่องกล้องได้
2. แม่เหล็ก
ถ้า 1 ชิ้นหรือ มากกว่า 1 ชิ้นแต่อยู่ติดกัน สามารถถ่ายหลุดออกเองได้ แนะนำให้ถ่ายภาพรังสีติดตามทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้ากลืนแม่เหล็ก > 1 ชิ้นที่ไม่อยู่ติดกัน หรือแม่เหล็กรวมกับวัตถุที่เป็นเหล็ก แนะนำให้ผ่าตัดเอาออก เนื่องจากแม่เหล็กอาจมาติดกันภายหลัง โดยมีเนื้อเยื่อกระเพาะ ลำไส้แทรกระหว่างแม่เหล็ก ทำให้เกิดลำไส้เน่าและทะลุได้
3. วัตถุแหลมคม
มีโอกาสเกิดลำไส้ทะลุร้อยละ 15-35 ถ้ามีอาการ ต้องเอาออกด้วยวิธีผ่าตัด แต่ถ้าไม่มีอาการแนะนำให้นอน รพ. เพื่อสังเกตอาการ และถ่ายภาพรังสีติดตามตำแหน่งของวัตถุทุกวัน รอจนกระทั้งถ่ายวัตถุนั้นออกมา แต่ถ้าวัตถุนั้นติดอยู่ที่เดิมนานมากกว่า 3 วัน หรือไม่สามารถถ่ายออกมาได้ภายใน 4 วัน พิจารณาให้เอาออกโดยการผ่าตัด