Polyhydramnios ภาวะน้ำคร่ำมาก

Polyhydramnios ภาวะน้ำคร่ำมาก

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะน้ำคร่ำมากกัน แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับน้ำคร่ำมาก เรามาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำกันก่อนดีกว่าค่ะ

“น้ำคร่ำ” มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์อย่างมาก นั่นก็คือ น้ำคร่ำจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันทารกและป้องกันสายสะดือไม่ให้ถูกกด น้ำคร่ำทำให้ทารกมีพื้นที่ในการขยับไปมาเพื่อเสริมสร้างระบบกระดูกและกล้ามเนื้อให้เติบโตได้ปกติ นอกจากนี้ การที่ทารกกลืนน้ำคร่ำยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร การที่ทารกหายใจ น้ำคร่ำก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของปอดอีกด้วย

ปกติน้ำคร่ำจะมีปริมาตร 30 ซีซี ที่อายุครรภ์10สัปดาห์ เพิ่มเป็น 200 ซีซีที่ 16 สัปดาห์ และเพิ่มเป็น 800 ซีซีที่ช่วงอายุครรภ์กลางไตรมาสที่สาม จนถึง 40 สัปดาห์ หลังจากนั้นปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆ ลดลง

ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ พบได้ 1-2% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด

สาเหตุอาจเกิดจาก

  1.  ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด : ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หัวใจ หรือไตที่ผิดปกติ
  2.  มารดาที่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน
  3.  ทารกครรภ์แฝด
  4.  ทารกมีภาวะซีด
  5.  ทารกมีภาวะติดเชื้อในครรภ์
  6.  ไม่ทราบสาเหตุ

อาการ

สตรีมีครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก มักมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ขาบวม บางรายที่มีอาการรุนแรง จะมีปัสสาวะออกน้อย อาจมีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรืออาจเกิดถุงนำคร่ำแตกก่อนกำหนด เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ตกเลือดหลังคลอด

การรักษา

เนื่องจากภาวะน้ำคร่ำมากมีลายสาเหตุ การรักษาจึงต้องรักษาตามแล้วแต่สาเหตุ หากมีภาวะน้ำคร่ำมากโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถสังเกตอาการต่อไปได้ แต่หากน้ำคร่ำมาก ทำให้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมารดามีภาวะหายใจลำบาก อาจต้องมีการเจาะระบายน้ำคร่ำออก เพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำค่ะ

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?