ปราบไขมันร้ายด้วยไขมันดี

ปราบไขมันร้ายด้วยไขมันดี

HIGHLIGHTS:

  • โอเมก้า 3 ที่ได้จากปลาหรือน้ำมันปลา ช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้นที่เกิดจากไขมันทรานส์
  • โอเมก้า 9 ช่วยเพิ่มไขมันดี และลดไขมันไม่ดีในร่างกาย ช่วยต่อต้านการทำงานของไขมันทรานส์ที่ทานเข้าไป
  • การบริโภคไขมันที่มีโอเมก้า 3 และ 9 เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและไขมันในเลือดสูง

ไขมันทรานส์นั้นถูกจัดว่าเป็นไขมันต้องห้ามในการบริโภคแต่ในชีวิตประจำวัน บางครั้งที่เราไม่ทันระวังตัวหรือขาดความรู้ในการเลือกอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ แต่เราสามารถป้องกันตัวเองได้ด้วยการเพิ่มการบริโภคไขมันดี ในกลุ่มที่มีโอเมก้า 3 และ 9

โอเมก้า 3

แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ กรดไขมันอีพีเอ กรดไขมันดีเอชเอ และกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก

  • กรดไขมันอีพีเอ หรือ Eicosapentaenoic (EPA) ช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น ลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ และกรดไขมันดีเอชเอ หรือ Docosahexaenoic (DHA) ช่วยฟื้นฟูสมองและจอประสาทตา สามารถพบได้ในปลาทั่วไป เช่น แซลม่อน ทูน่า และปลาอื่นๆ
  • กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid: ALA) พบในอาหารจำพวกเมล็ดแฟล็กซ์ เมล็ดเชีย โดยหลังจากที่ทานเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็น EPA และ DHA อีกครั้ง

โอเมก้า 3 ดีต่อสุขภาพอย่างไร ?

  • ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ งานวิจัยหลายชิ้นได้ทำการศึกษาประโยชน์ของโอเมก้า 3 ที่มีต่อสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าการบริโภคปลาและอาหารทะเลที่มีกรดไขมันดังกล่าวจะช่วยให้หัวใจแข็งแรง รวมทั้งป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม และเพิ่มระบบการทำงานด้านการเรียนรู้ ลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมด้วยคุณสมบัติของ DHA
  • มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
  • ลดการอักเสบซ่อนเร้นภายในร่างกาย และช่วยลดอาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง

โอเมก้า 9

คือกรดไขมันชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัว ซึ่งมีกรดไขมันหลักสำคัญ 2 ชนิดคือ

  • กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกและในไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวต่างๆ
  • กรดอิรูสิค (Erucic acid) เป็นกรดไขมันที่พบได้มากในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพ (Rapeseed) ต้นวอลล์ฟลาวเวอร์ (Wallflower) และเมล็ดของต้นมัสตาร์ด (Mastard seed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพนั้น เป็นที่มาของน้ำมันที่เรียกว่าคาโนลา (Canola oil) ซึ่งนิยมนำมาประกอบอาหาร ผัด ทอด ไม่แพ้น้ำมันรำข้าวในปัจจุบัน

กรดไขมันชนิดนี้พบได้ทั่วไปทั้งในสัตว์และพืช แหล่งที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 9  เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา ถั่วลิสง น้ำมันดอกทานตะวัน เมล็ดงา ถั่วพิตาชิโอ  อัลมอนด์ อะโวคาโด เป็นต้น

โอเมก้า 9 ดีต่อสุขภาพอย่างไร ?

  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein) เพิ่มระดับของ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานปกติ ทำให้สามารถป้องกันโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?