เมื่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการรุนแรง และไม่รู้สึกทุเลาลงภายหลังได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา ก็อาจถึงเวลาของการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่
ดังนั้น เรามาลองทำความรู้จักกับเจ้า “ข้อเข่าเทียม” กันดูบ้าง ซึ่งผู้ป่วยหลายท่านอาจคิดว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจำเป็นต้องตัดกระดูกข้อเข่าที่เสื่อมทิ้งไปทั้งท่อนก่อน แล้วจึงค่อยใส่ข้อเทียมเข้าไปแทนที่ ซึ่งนับเป็นความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อน เพราะข้อเข่าเทียมที่ใช้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมนั้นไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่มากนัก และอาศัยการครอบลงบนกระดูกเท่านั้น
การผ่าตัดข่อเข่านั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังนี้ ทำให้การผ่าตัดทำได้แม่นยำ รวดเร็ว และสามารถทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าในอดีตได้อย่างมาก โดยปัจจุบันแผลผ่าตัดจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-14 ซม. นอกจากนั้นแล้ว พัฒนาการของวิสัญญีแพทย์ หรือหมอดมยาก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้อาการเจ็บปวดในระยะหลังผ่าตัดนั้นลดลงได้กว่าในอดีตอย่างชัดเจน ส่วนในแง่ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการนำมาใช้ช่วยในการผ่าตัดนั้น นอกจากเครื่อง Navigator ที่มีการใช้มาระยะหนึ่งแล้ว ก็ยังมีการนำเอา CT scan หรือ MRI มาช่วยในการผลิตเครื่องมือผ่าตัดเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดลงอีกด้วย แน่นอนว่าหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้วนั้น ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาเดินได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหากไม่มีผลแทรกซ้อนใด
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะสามารถเดินได้ในวันที่ 2 หรือ 3 หลังผ่าตัด โดยอาศัยเครื่องพยุงเดิน เช่น Walker และ หลับบ้านได้ในวันที่ 4 ถึง 7 หลังผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ สามารทำกายภาพด้วยตัวเองต่อได้ที่บ้าน และมักจะทิ้ง Walker ได้เมื่อประมาณ 1-3 สัปดาห์หลัง ผ่าตัด สำหรับในแง่ของอายุการใช้งานนั้น ปัจจุบันมีรายงานว่า ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 สามารถใช้งานข้อเทียมได้นานถึง 15-20 ปี จึงจะต้องได้รับการแก้ไขอีกครั้ง แต่ทั้งนี้อายุของข้อเข่าเทียมก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพร่างกายของผู้ป่วย ระดับของกิจกรรมที่ทำ น้ำหนักตัว และการใช้งานของข้อเข่า ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และชอบการออกกำลังกายที่หักโหม หรือลงน้ำหนักที่ข้อมากๆ เช่น การเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะก็อาจทำให้อายุการใช้งานของข้อลดลงได้
สุดท้ายนี้สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่กำลังพิจารณาว่า จะเลือกการผ่าตัดรูปแบบใด ขอให้คำนึงถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและอายุของท่าน ตลอดจนความรุนแรงของโรคเป็นหลัก รวมทั้งควรปรึกษาขอข้อมูลและร่วมตัดสินใจกับแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วย
ข้อมูลโดย : รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ (ศัลยแพทย์ทางด้านโรคกระดูกและข้อ)
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่