โรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันนับวันจะยิ่งร้ายกาจมากขึ้นทุกวัน แถมโรคหลายๆ โรค ก็มักไม่ค่อยแสดงอาการออกมาให้เราเห็นกว่าจะรู้ว่าเป็นก็เกือบสาย การที่ร่างกายไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาอาจไม่ได้แปลว่าคุณมีสุขภาพที่ดีเสมอไป เพราะฉะนั้นจงอย่าชะล่าใจ ละเลยและมองข้ามการดูแลสุขภาพตัวเอง ยิ่งคนกลุ่มวัยทำงานที่ต้องประสบกับภาวะความเครียดเป็นประจำ แถมยังไม่มีเวลาในการออกกำลังกายทำให้มีแนวโน้มของผู้ป่วยในโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงแม้โรคภัยจะพัฒนาไปแค่ไหน วงการแพทย์ก็ไม่ปล่อยให้ล้ำไปกว่าเทคโนโลยีการรักษา ยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารด้วยแล้ว คนไทยสบายใจได้มากขึ้นแน่นอน
โรงพยาบาลสมิติเวช สานพลังกับ โรงพยาบาลซาโน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่ยอมรับด้านความเชี่ยวชาญด้านการตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ในลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มต้นด้วยเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ซึ่งได้ร่วมมือกันมาเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทาง รพ. สมิติเวช ได้ส่งแพทย์ไทยไปเรียนรู้เทคนิคด้านการผ่าตัดส่องกล้องที่ รพ. ซาโน ประเทศญี่ปุ่น จนได้รับความรู้และความชำนาญมากขึ้นสามารถทำให้คนไข้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ามารับบริการมากขึ้น โดยสามารถตรวจคัดกรองโรค และให้การรักษาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
โรงพยาบาลซาโน ได้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งการมาประเทศไทยในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดพัฒนาของวงการแพทย์ไทย รพ. ซาโน ได้ส่งนายแพทย์ดอกเตอร์ ซานตะ ฮาโตริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเข้ามาช่วยต่อยอดพัฒนาแพทย์ไทยโดยได้นำหลักสูตร เทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Narrow Band Imaging – NBI) ซึ่งมีประโยชน์คือ
นอกจากนี้ยังมีการสอนในเรื่องการส่องกล้องตรวจคลื่นความเสี่ยงสูง (Endoscopic Ultrasound) ซึ่งสามารถ
รวมถึงการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดี (ERCP) ที่จะช่วยตรวจหาความผิดปกติและรักษาท่อทางเดินน้ำดีที่อยู่ภายในได้ตรงจุด ไม่มีแผลผ่าตัดหน้าท้อง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ดร.ฮาโตริ ได้อธิบายถึงการแยกประเภทติ่งเนื้อในลำไส้ด้วยวิธี Narrow Band Imaging – NBI ของทาง รพ.ซาโน ว่า “การส่องกล้องด้วยวิธี NBI ทำให้เห็นรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้อเยื่อลำไส้ได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในสมัยก่อน นำไปสู่การแยกติ่งเนื้อว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา ติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง หรือเป็นติ่งเนื้อที่อยู่ในระยะเป็นมะเร็งแล้ว ช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา”
ชนิดที่ 1 เซลล์เนื้อเยื่อของติ่งเนื้อยังมีการเรียงตัวปกติ ดังนั้น แพทย์จะเพียงเฝ้ารอดูไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเพราะมีโอกาสเป็นเนื้อร้ายน้อยมาก
ชนิดที่ 2 การเรียงตัวของเซลล์เนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นเส้นคล้ายกับตาข่าย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเนื้อร้ายได้ในอนาคต ดังนั้น แพทย์จะตัดติ่งเนื้อออกทันทีโดยใช้ขดลวดหรือมีดไฟฟ้าชนิดพิเศษ
ชนิดที่ 3 เซลล์เนื้อเยื่อมีลักษณะขยุกขยุย ไม่เป็นระเบียบ ปรากฏลักษณะของเซลล์มะเร็ง กรณีนี้ แพทย์จะไม่ตัดติ่งเนื้อนี้ด้วยวิธีส่องกล้อง แต่จะต้องปรึกษาเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมต่อไป
นพ.กรณ์ ปองจิตธรรม แพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหารและโรคตับ และแพทย์ผู้ช่วยบริหาร โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท อธิบายเสริมว่า “ที่ผ่านมา แพทย์ใช้วิธีส่องกล้องทั่วไปโดยใช้แสงสีขาวในการส่องดูลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ทำให้ดูติ่งเนื้อที่มีความผิดปกติไม่ชัดเจน ต่อมาจึงได้มีการนำสีย้อมมาใช้กับกล้องส่องเพื่อให้เห็นรูปแบบของการวางตัวของเซลล์ในติ่งเนื้อได้ชัดเจนมากขึ้น แต่การใช้วิธีย้อมให้ติดสีใช้ระยะเวลานาน ล่าสุดจึงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนสเปกตรัมของแสงให้แคบลงทำให้เกิดสีเขียวฟ้า ทำให้เห็นภาพเสมือนกับการย้อมสี จึงทำให้เห็นเยื่อบุลำไส้ที่สงสัยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การเพิ่มกำลังขยายและความละเอียดของกล้องทำให้เห็นรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้อเยื่อได้ชัดมากขึ้น นำไปสู่การจำแนกประเภทของติ่งเนื้อว่าเป็นผนังธรรมดา หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ช่วยให้แพทย์เกิดความมั่นใจ สามารถใช้วิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งทาง รพ. ซาโน ได้ศึกษาและพัฒนาการส่องกล้องด้วยวิธี NBI มาตั้งแต่แรก จึงสามารถแยกชนิดของติ่งเนื้อได้อย่างแม่นยำ และภายหลังก็ได้พัฒนาการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
พร้อมกันนี้ นพ.ธวัช มงคลพร แพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหาร โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้ให้ความคิดเห็นต่อความร่วมมือกันระหว่าง โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กับ โรงพยาบาลซาโน ว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้ทำให้แพทย์ไทยได้พัฒนาวิธีการส่องกล้องแบบ NBI มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบการรักษาของทางโรงพยาบาลซาโน กับโรงพยาบาลสมิติเวช ค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งแพทย์ที่รพ.ซาโนมีความชำนาญด้านนี้มากจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก การได้เรียนรู้เทคนิคและฝึกฝนกับผู้เชี่ยวชาญทำให้เกิดความมั่นใจในการวินิจฉัยและรักษาได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ถ้าเราสามารถวินิจฉัย แยกประเภทของติ่งเนื้อได้แม่นยำ ก็จะทำให้คนไข้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพราะในบางครั้งคนไข้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ ไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เป็นการลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงหลังการผ่าตัดได้มากขึ้น”
เมื่อมีเทคโนโลยีดีๆ แบบนี้มาเป็นตัวช่วยในการรักษาสุขภาพให้กับเราแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี หมั่นดูแลและสังเกตตัวเองว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรหรือไม่ ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย ในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องมะเร็งลำไส้ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่