ตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเทศไทยกำหนดให้ผู้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ทุกคนจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และเพื่อควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดต่อไปยังบุคคลอื่น ซึ่งผู้ป่วยมีทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ
แต่เมื่อมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นจากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564) อีกทั้งยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงแต่อย่างใด จนโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามไม่สามารถรองรับผู้ป่วยเข้ารักษาได้ ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อต้องรอเตียง ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต จึงมีการนำแนวคิดเรื่องการรักษาตัวเองจากที่บ้าน หรือ Home Isolation ให้กับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ รวมถึงการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ หรือ Hospitel สำหรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง ให้สามารถดูแลรักษาตัวเองได้อย่างถูกวิธี และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังครอบครัวและชุมชนได้
Home Isolation คือ การดูแลตัวเองจากที่บ้าน สามารถทำได้ในผู้ป่วยกลุ่มที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการเท่านั้น เพื่อสังเกตอาการและควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ทั้งนี้ เมื่อตรวจพบเชื้อ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินใช้แนวทางการดูแลตัวเองจากที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน โดยผู้ติดเชื้อต้องมีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย > 30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.) หรือเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยผู้ป่วยต้องยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัด โดยต้องอยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
ผู้ป่วยที่อยู่ใน Hospitel นั้น สามารถรับการดูแลรักษาและติดตามอาการโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน โดยการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าพักที่ Hospitel นั้น ผู้ป่วยควรมีอาการตามเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้**
* กรณีที่มีความจำเป็นเรื่องจำนวนเตียง ให้สถานพยาบาลพิจารณาตามดุลพินิจของแพทย์ โดยพิจารณา ตามความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นประเด็นหลัก
โดย โรคร่วมที่สำคัญ ดังกล่าวข้างต้น มีดังต่อไปนี้
**ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2021
จากรายงานการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่า เชื้อในตัวผู้ติดเชื้อมีความสามารถในการแพร่กระจายสู่บุคคลอื่นในระยะเวลา 14 วันหลังจากติดเชื้อ ซึ่งหลังจาก 14 วันแล้ว โอกาสการแพร่กระจายเชื้อลดลงมาก แต่เชื้อยังคงอยู่ในตัวผู้ติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้ผู้ป่วยดูอาการตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะเวลา 14 วัน ตามระยะเวลาของการเกิดการติดเชื้อ
นอกจากความวิตกกังวลจากการติดเชื้อ โควิด-19 แล้ว การที่ต้องแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน อาจเพิ่มความเหงาและความเครียดให้ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น การหาสิ่งผ่อนคลายตนเองจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องดูแลตัวเองจากที่บ้านและ hospitel เช่น
นอกจากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการและต้องดูแลตัวเองจากที่บ้าน บุคคลปกติที่ไม่ติดเชื้อก็มีความจำเป็นต้องดูแลตัวเองด้วยความระมัดระวังเช่นกัน โดยเฉพาะมาตรการ Social Distancing ที่ยังจำเป็นต้องทำอย่างเคร่งครัด ไม่ออกไปยังสถานที่เสี่ยงต่างๆ
Telehealth หรือการดูแลสุขภาพทางไกลผ่านเครื่องมือสื่อสารจึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้ผู้มีความกังวลที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล เช่น
สำหรับประเทศไทย Telehealth ถูกนำมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะกับการรักษาพยาบาล (Telemedicine) แต่ส่วนใหญ่เน้นไปที่การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เนื่องจากยังมีข้อจำกัดหลายๆ ด้าน หนึ่งในข้อจำกัดที่สำคัญ คือ การที่แพทย์ไม่สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้เองโดยตรง จึงเป็นเรื่องยากในการวินิจฉัยโรคและตัดสินใจให้การรักษาอย่างถูกวิธี
อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องมือในกลุ่ม Handheld Examination Kit เช่น TytoCare ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่รวมชุดอุปกรณ์ Digital Stethoscope เพื่อตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น ใช้ฟังเสียงหัวใจและปอด ส่องดูหู ลำคอ จมูก ผิวหนังและวัดอุณหภูมิร่างกายได้ในเครื่องเดียว โดยสามารถใช้งานได้เองที่บ้าน และส่งข้อมูลให้แพทย์โดยไม่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ซึ่ง TytoCare ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของทั้งสหรัฐอเมริกาและไทยเรียบร้อยแล้ว ผู้รับบริการจึงสามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งให้ผลการตรวจที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่