ผู้สูงอายุมักมีภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากสูญเสียมวลกระดูกตามอายุ รวมถึงมักมีโรคประจำตัวหลายชนิด เมื่อมีการล้มแม้เพียงจากอุบัติเหตุเล็กน้อยก็สามารถเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักได้
ผู้สูงอายุที่มีการหกล้ม โดยเฉพาะการล้มไปด้านข้าง มีโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก โดยจะมีอาการปวดสะโพกอย่างมาก ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ หรือมีอาการปวดมากเวลาขยับ มีอาการบวม สัมผัสแล้วเจ็บบริเวณสะโพก หัวเหน่า หรือต้นขา อาจมีการผิดรูปของขา โดยขาข้างที่ปวดอาจสั้นและมีการบิดหมุนออกมากกว่าข้างปกติ
การป้องกันการพลัดตกหกล้มมีความสำคัญ สามารถทำได้โดย
การรักษากระดูกสะโพกหัก มีวิธีการรักษา 2 แนวทางคือ การผ่าตัดและไม่ผ่าตัด โดยทั่วไปแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพราะจะให้ผลที่ดีกว่า โดยเฉพาะการผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมง แต่อาจมีความเสี่ยงในผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลจะให้คำแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ในผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากในการเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ตั้งแต่ก่อนเกิดกระดูกหัก หรือผู้ป่วยที่มาพบแพทย์หลังการบาดเจ็บในช่วงที่กระดูกเริ่มมีการประสานกันแล้ว แพทย์อาจแนะนำการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด โดยอาจมีการใส่เครื่องถ่วงน้ำหนักเพื่อยืดกล้ามเนื้อ และการจำกัดกิจกรรม เลี่ยงการลงน้ำหนักในขาข้างที่บาดเจ็บ งดกิจกรรมที่ต้องใช้แรง ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือคอกช่วยเดิน ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยทั่วไปจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ในการประสานกันของกระดูก มีการวิจัยว่าการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์หรือกระแสไฟฟ้าพลังอ่อนอาจช่วยในการประสานของกระดูกให้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก อาจเกิดการติดเชื้อ แผลกดทับ ลิ่มเลือดอุดตันที่ขาหรือที่ปอด และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
จะมีทั้งการผ่าตัดยึดกระดูก ผ่าตัดใส่ข้อเทียมบางส่วน และการผ่าตัดใส่ข้อเทียมทั้งชุด ขึ้นกับลักษณะการหักและลักษณะทางกายภาพของกระดูกของผู้ป่วย
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ และวิสัญญีแพทย์จะมีการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดเสมอ และจะพยายามจำกัดความเสี่ยงเพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมต่อการผ่าตัดมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการผ่าตัดแบบแผลเล็กหรือ Minimal Invasive Surgery (MIS) ซึ่งแผลจะเล็กกว่าวิธีผ่าแบบเปิด ผู้ป่วยเจ็บน้อยกว่า เสียเลือดน้อยกว่า สามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวและเริ่มเดินลงน้ำหนักได้ตั้งแต่ 6-12 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด
ขึ้นกับความเร็วในการฟื้นตัวและความแข็งแรงของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด โดยทั่วไปใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลและการกายภาพหลังผ่าตัด 4-7 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหาร ควบคุมโรคประจำตัวต่าง ๆ งดยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย
ไม่ควรนอนตะแคงทับด้านที่ผ่าตัด หากมีการนอนตะแคงควรมีหมอนหรือหมอนข้างรองขาข้างที่ผ่าตัดไว้เพื่อป้องกันข้อสะโพกหุบ ไม่ควรงอข้อสะโพกมากเกินไป เช่น การนั่งเก้าอี้เตี้ย การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ การก้มเก็บของที่พื้น ก้มใส่กางเกง ถุงเท้า ตัดเล็บ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินจนกว่าข้อสะโพกจะแข็งแรงพอ งดการออกกำลังกายและกิจกรรมหนัก การวิ่ง การกระโดด
ควรมีการทำกายบริหารซึ่งนักกายภาพบำบัดจะแนะนำการบริหารร่างกายและกล้ามเนื้อในท่าทางที่เหมาะสม ระวังการเกิดแผลกดทับ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคุมน้ำหนักเพื่อลดแรงกดที่ข้อสะโพก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ สังเกตอาการผิดปกติและมาตรวจตามที่แพทย์นัด
การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกหัก นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานวิตามินและแคลเซียมเสริมตามที่แพทย์แนะนำ แล้วสามารถทำได้ดังนี้
โดยนักกายภาพจะแนะนำท่าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน สิ่งสำคัญคือการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ โดยการดูแลสุขภาพ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่