อีสุกอีใส หรือ Chickenpox เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) เป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่ายและเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคงูสวัด โดยติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มอีสุกอีใสโดยตรงและติดได้จากการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายที่ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การใช้ของร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใส โดยโรคนี้มักพบบ่อยในเด็กและจะระบาดมากในช่วงอากาศหนาว โรคอีสุกอีใสยังสามารถพบได้ในผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานต่ำ โดยอาการในผู้ใหญ่จะรุนแรงกว่าอาการในเด็ก แต่อย่างไรก็ตามโรคอีสุกอีใสสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
หลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อาการจะแสดงออกภายใน 10 - 21 วัน โดยมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย มีอาการคัน มีผื่นแดง และหลังจากนั้นผื่นแดงจะกลายเป็นตุ่มใสๆ เกิดขึ้นทั่วร่างกาย หลังจากเป็นตุ่มจะมีอาการคัน จากตุ่มใสๆ จะกลายเป็นตุ่มน้ำ และหลังจากนั้นจะตกสะเก็ด และค่อยๆ หลุดไปเอง
โดยปกติแล้วโรคอีสุกอีใสจะหายโดยไม่มีแผลเป็น แต่ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจะทำให้ผื่นกลายเป็นหนองและมีแผลเกิดขึ้น ภายหลังจากการติดเชื้ออีสุกอีใสจะมีโอกาสเป็นโรคงูสวัดได้
การเป็นโรคอีสุกอีใสเกิดจากการที่เด็กเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วย และการที่เด็กอยู่ในสถานที่ที่แออัด ทำให้ติดโรคนี้ได้
แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย และอาจพิจารณาตรวจเลือดหาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส หากอาการแสดงไม่ชัดเจน
จากการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่าการฉีดวัคซีนสามารถป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ 70 – 85% เป็นระยะเวลานานถึง 20 ปี และการป้องกันโรคอีสุกอีใสแบบที่มีอาการรุนแรงได้มากกว่าร้อยละ 95
ในประเทศไทยมีทั้งวัคซีนเดี่ยว (Varicella Zoster Virus: VZV) เป็นวัคซีนที่ป้องกันเฉพาะโรคอีสุกอีใส และวัคซีนรวม (Mumps Measles Rubella Varicella Vaccine) เป็นวัคซีนที่ป้องกันโรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน และโรคอีสุกอีใสไว้ในเข็มเดียวกัน
หมายเหตุ
ผลข้างเคียงทั่วไป
ผลข้างเคียงแบบรุนแรง
โรคอีสุกอีใส สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ หากมีการไปสัมผัสกับคนที่เป็นโรคอีสุกอีใส แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อย ถ้าติดเชื้อซ้ำอาการและความรุนแรงจะน้อยกว่าครั้งแรก เช่น จะไม่มีไข้ มีผื่นขึ้นไม่มาก รวมถึงคนที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส แต่ได้รับการฉีดวัคซีนก็สามารถเป็นอีสุกอีใสได้ แต่อาการก็จะไม่รุนแรงมากเช่นกัน
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่