“ลูกดิฉันอายุ 2 ขวบ แต่ขามีลักษณะโก่งค่ะ อยากทราบว่าถ้าดัดแล้วจะสามารถทำให้ตรงได้ไหม หรือมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง”
– จาก คุณนฤมล/พะเยา
ภาวะขาโก่ง เป็นหนึ่งในภาวะที่ผู้ปกครองนำบุตรหลานมาพบแพทย์มากที่สุด ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าขาของเด็กมีลักษณะโก่งหรือโค้งงอเล็กน้อย ต้องขอบอกว่าจริงๆ แล้วเด็กเกือบทุกคนเกิดมาขาโก่งในระยะแรก ซึ่งเชื่อกันว่าทารกที่อยู่ในครรภ์ในระยะ 1-2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดต้องเบียดตัวเองอยู่ในมดลูกที่มีเนื้อที่ที่จำกัด และมักจะอยู่ในท่างอศอก สะโพก ขา และงอเท้า เมื่อคลอดจึงทำให้พ่อแม่ส่วนใหญ่เป็นกังวลกันมาก แต่ลักษณะนี้จะเป็นขาโก่งจากธรรมชาติ เรียกว่า (Physiologic Bow Legs) ซึ่งสามารถพัฒนาดีขึ้นได้เองเมื่อโตขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ปี ขาจะเริ่มตรงเอง และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 1-2 ปีเด็กจะเริ่มยืนหรือเดินแบบเข่าชิด หรือที่เรียกว่า ขาเป็ด หรือ ขาฉิ่ง (Physiologic Knock Knee) โดยจะสังเกตเห็นชัดเมื่ออายุ 3-4 ปี หลังจากนั้นขาและเข่าของเด็กจะกลับมาตรงเหมือนเดิม
แต่อย่างไรก็ตามจะมีภาวะขาโก่งที่เป็นโรคและต้องได้รับการรักษาจริงๆ เรียกว่า โรคบราวซ์ (Blount’s Disease) ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดโรคได้แก่ เด็กยืนหรือเดินเร็วก่อนวัย หรือพบในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เชื้อชาติ หรือขาโก่งที่เกิดจากโรคที่เรียกว่า Ricket คือ โรคที่เกิดจากกระดูกขาดแคลเซียม เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์กั้นขาโก่งหรือทำการผ่าตัดรักษาได้เมื่ออายุ 3-4 ปี และหลังจากผ่าตัดจะต้องใส่เฝือกนาน 6-8 สัปดาห์
ตอบเลยว่าไม่จริงครับ เพราะจริงๆ แล้วการใช้ผ้าอ้อมอาจจะช่วยป้องกันสะโพกหลุดในเด็กได้ดีทีเดียว
ไม่จริงอีกเช่นกัน ซึ่งการอุ้มลูกเข้าเอวอาจจะช่วยกันสะโพกหลุดได้ด้วย
ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้ แต่มีงานวิจัยส่วนใหญ่ว่าถึงจะไม่ดัดก็ทำให้ขาเด็กสามารถพัฒนาการตรงได้เอง
ไม่เกี่ยวครับ น่าจะเป็นเรื่องเรื่องปวดเมื่อยมากกว่า
ความเชื่อนี้ไม่จริงเลย นั่งไขว่ห้างจะทำให้ปวดเมื่อยและอาจเกิดเหน็บชามากกว่าครับ
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่