โรคใหลตาย….มัจจุราชเงียบ (Sudden unexplained cardiac death)

โรคใหลตาย….มัจจุราชเงียบ (Sudden unexplained cardiac death)

HIGHLIGHTS:

  • โรคใหลตาย สามารถพบได้ในชายหนุ่มวัยทำงานและกำลังสร้างครอบครัว
  • พันธุกรรม เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคใหลตาย!!!
  • การตรวจร่างกายธรรมดา หรือ การตรวจเลือด ไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคใหลตายได้?

หลายท่านคงจะเคยได้ยินโรคใหลตายกันมานาน โรคใหลตาย หรือกลุ่มอาการบรูกาด้า (Brugada Syndrome) คือ ความผิดปกติที่ทำให้คนที่แข็งแรงดีเกิดเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน วันดีคืนดี นอนหลับไปได้สักครู่ อาจเกิดอาการผิดปกติ ชักเกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โรคนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอย่างไม่มีสาเหตุ (Sudden Unexplained /Unexpected Death Syndrome หรือ SUDS) ซึ่งพบบ่อยในชายหนุ่มอายุระหว่าง 25-45 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังมีอนาคตไกล ไม่ว่าอยู่ในวัยสร้างเนื้อสร้างตัวและสร้างครอบครัว การสูญเสียบุคคลเหล่านี้ย่อมไม่มีใครทำใจได้ และสร้างผลกระทบกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย เนื่องจากบุคคลที่เสียชีวิตเฉียบพลันเหล่านี้มักเป็นเสาหลักของครอบครัว

สาเหตุที่พบมากของการตายคือ ยีนที่ควบคุมการนำไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ จึงทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนมากจะเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้เราได้พบว่ายีนที่ก่อให้เกิดการใหลตายมีไม่ต่ำกว่า 20 ยีน ซึ่งอาจถูกกระตุ้นได้ด้วยยาบางชนิด เช่น ยาสลบ หรือ ยานอนหลับ

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรค “ใหลตาย”

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค “ใหลตาย” มากที่สุด คือ ผู้ที่มีญาติใกล้ชิด สายตรง เช่น พี่ น้อง เสียชีวิตจาก “ใหลตาย” ขณะนอนหลับ ซึ่งพบมากในประชากรเชื้อสายอีสาน ในต่างจังหวัดจะมีความเชื่อเรื่องผีแม่ม่าย เนื่องจากผู้ชายในบางหมู่บ้านจะเสียชีวิตขณะนอนหลับในช่วงวัยไล่เลี่ยกัน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นสาเหตุจากพันธุกรรมนั่นเอง

จะทราบได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงเป็นโรค “ใหลตาย” หรือไม่

การตรวจร่างกายธรรมดา หรือ การตรวจเลือด ไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ความเสี่ยงโรค “ใหลตาย”  ได้ทั้งหมด ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า สามารถตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงของโรคใหลตาย พร้อมกับการตรวจร่างกายแบบเฉพาะเจาะจงในระบบหัวใจ พร้อมการรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านพันธุกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ

โรค “ใหลตาย” สามารถป้องกันได้หรือไม่

ปัจจุบันโรงพยาบาลสมิติเวช มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยมากมายที่จะช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในโรคต่างๆ  ไม่เป็นโรคนั้นในอนาคต และโรคใหลตาย ก็สามารถป้องกันหลายวิธี เช่น

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการวิ่งสายพาน สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ ซึ่งเป็นการคัดกรองเบื้องต้น สามารถทำได้ทั้งผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง(มีสุขภาพดี)และผู้ที่มีความเสี่ยงในโรคหัวใจ
  • ตรวจยีนความเสี่ยงโรคใหลตายที่อาจถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม จากประวัติที่พบ หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวเสียชีวิตด้วยโรคนี้ ก็สามารถตรวจคัดกรองได้เพราะความผิดปกตินั้น อาจไม่ได้แสดงโรคให้เห็น

หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจอาจแนะนำ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automatic Implantable Cardiovascular Defibrillator) เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก ในผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคใหลตาย ซึ่งจะสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ เมื่อไรที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องนี้จะทำงานทันทีและทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ

โรคบางโรคที่เมื่อก่อนรักษาไม่หาย ทำนายไม่ได้ คิดแต่ว่าเป็นโรคเวรโรคกรรม ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทางแพทย์ที่ล้ำหน้า รวมทั้งความสามารถของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะสามารถทำให้เราเข้าใจกลไกของโรค วิธีการป้องกัน รวมถึงการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและแม่นยำมากขึ้น ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น

คุณสามารถตรวจสอบความเสี่ยงด้วยตนเองได้ที่

Reference Heart

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?